ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

เต๋าแห่งฟิสิกส์

บทที่ 1 ฟิสิกส์สมัยใหม่
บทที่ 2 การรู้และการเห็น
บทที่ 3 พ้นภาษา
บทที่ 4 ฟิสิกส์แนวใหม่
บทที่ 5 ศาสนาฮินดู
บทที่ 6 พุทธศาสนา
บทที่ 7 ปรัชญาจีน
บทที่ 8 ลัทธิเต๋า
บทที่ 9 นิกายเซน
บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง
บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง
บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว
บทที่ 13 ความว่างและรูปลักษณ์

บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง

2

11.1 สภาพขั้วตรงกันข้าม

คำสอนในพระพุทธศาสนาทั้งหมด และโดยแท้จริงคำสอนของศาสนาตะวันออกทั้งหมด มุ่งสู่การบรรลุทัศนะอันสัมบูรณ์ในโลกแห่ง อจินไตย หรือ “ไร้ความคิด” ซึ่งเอกภาพแห่งสิ่งที่ตรงกันข้ามทั้งหลายกลายเป็นประสบการณ์จริง บทกวีเซ็นเขียนไว้ว่า เมื่อค่ำไก่ขัน บอกเวลารุ่งอรุณ เมื่อเที่ยงคืน พระอาทิตย์ส่องสว่างเจิดจ้า ความคิดที่ว่าสิ่งที่ตรงกันข้ามทั้งมวลเป็นเพียงขั้วตรงข้ามของสิ่งเดียวกัน สว่างและมืด แพ้และชนะ ดีและชั่ว เป็นเพียงด้านที่ต่างกันของปรากฏการณ์อันเดียวกัน เป็นหลักการพื้นฐานอันหนึ่งของวิถีชีวิตแบบตะวันออก ในเมื่อสิ่งที่ตรงกันข้ามเป็นสิ่งที่ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ความขัดแย้งระหว่างมันไม่เคยส่งผลเป็นชัยชนะอย่างสิ้นเชิงของด้านใดด้านหนึ่ง แต่จะปรากฏเสมอว่าเป็นการปรากฏแสดงของการขับเคี่ยวระหว่างด้านทั้งสอง ในตะวันออก ผู้ทรงคุณอันบริสุทธิ์จึงมิใช่ผู้ที่พยายามทำความดี และเพียรละความชั่ว ซึ่งเป็นไปไม่ได้ แต่เป็นผู้ที่สามารถรักษาดุลยภาพอันเคลื่อนไหวระหว่างดีและชั่ว

ความคิดในเรื่องดุลยภาพอันเคลื่อนไหวนี้เป็นสิ่งจำเป็นแก่วิถีทางในการหยั่งรู้เอกภาพของสิ่งที่ตรงกันข้าม ในศาสนาตะวันออก ดุลยภาพนี้มิใช้สภาวะสถิต แต่เป็นการขับเคี่ยวระหว่างสภาพสุดโต่งสองด้านเสมอ ประเด็นนี้ได้รับการเน้นย้ำมากที่สุดโดยนักปราชญ์ชาวจีนโดยการสร้างสัญลักษณ์ หยิน และ หยัง ซึ่งแสดงขั้วตรงกันข้ามของสรรพสิ่ง และเรียกเอกภาพภายใต้ หยิน และหยัง นั้นว่า เต๋า อันเป็นสิ่งที่ก่อเกิดการขับเคี่ยวระหว่างหยินและหยัง “สิ่งที่ทำให้เดี๋ยวมืด เดี๋ยวสว่าง คือเต๋า” เอกภาพอันเป็นพลวัตของขั้วที่ตรงกันข้ามนี้ อาจแสดงด้วยภาพการเคลื่อนที่ของวงกลมและเงาของมัน สมมติว่าเรามีลูกบอลซึ่งหมุนเป็นกลม และถ้าหากการหมุนนี้ถูกฉายให้เกิดเงาบนจอภาพ เราจะเห็นมันเป็นการเคลื่อนกลับไป-มา ระหว่างจุดปลายสองจุด (เพื่อเปรียบเทียบกับความคิดของจีน ข้าพเจ้าเขียนคำว่าเต๋า ในวงกลม และหยินกับหยังที่จะดูปลายทั้งสอง) ลูกบอลหมุนเป็นวงกลมด้วยความเร็วคงที่ แต่งเงาของมันจะเคลื่อนที่ช้าลงเมื่อเข้าใกล้ปลาย วกกลับ และเคลื่อนที่ด้วยความเร่งสู่ปลายอีกข้างหนึ่ง ซึ่งเมื่อเข้าไปใกล้ก็จะเคลื่อนที่ช้าลงอีกครั้ง และดำเนินต่อไปในลักษณะเดียวกัน วนเวียนไม่รู้จบ เงาของการเคลื่อนที่ในลักษณะวงกลมดังกล่าวจะปรากฏเป็นการเคลื่อนที่กลับไป-มาระหว่างจุดปลายที่ตรงกันข้ามสองจุด แต่การเคลื่อนไหวในลักษณะวงกลมแสดงความเป็นเอกภาพและปราศจากสภาพขั้วตรงข้าม ซึ่งภาพการรวมเป็นเอกภาพของสิ่งที่ตรงกันข้ามในเชิงเคลื่อนไหวนี้ เป็นสิ่งที่นักคิดจีนคำนึงถึงเป็นอย่างมาก ดังที่จะเห็นได้จากคำกล่าวของจางจื๊อที่ว่า การที่ ”นั่น” และ “นี่” พ้นสภาพการเป็นสิ่งตรงข้ามคือแก่นแท้ของเต๋า ด้วยแก่นแกนนี้เท่านั้นที่เป็นศูนย์กลางแห่งวังวนของการเปลี่ยนแปลงอันไม่รู้สิ้นสุด

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย