ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์>>
คัมภีร์คอมมิวนิสต์
นิพนธ์วิจารณ์ ฟอยเออร์บัค
แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์
บทบาทของแรงงานในการเปลี่ยนลิงให้เป็นคน
กำเนิดครอบครัวทรัพย์สินส่วนตัว และรัฐ
ว่าด้วยศาสนา
ว่าด้วยการนัดหยุดงาน
สงครามและสังคมนิยม
รัฐกับการปฏิวัติ
แนวชนชั้นในการปลดแอกสตรี
ในวิกฤตเศรษฐกิจกรรมาชีพสู้หรือไม่
ว่าด้วยขบวนการฟาสซิสต์
ทฤษฏีปฏิวัติถาวร
ประชาธิปไตยของแรงงาน
สงครามจุดยืนและสงครามขับเคลื่อน
ปัญญาชน
ระบบทุนนิยม:ถ้าไม่ปฏิวัติก็เท่ากับยอมจำนน
แนะนำทฤษฎีทุนนิยมโดยรัฐของ โทนี่ คลิฟ
การปฏิวัติถาวร "หันเห"
ปัญญาชน
โดย อันโตนิโอ กรัมชี่ แปลโดย ใจ อึ๊งภากรณ์
ปัญญาชนเป็นกลุ่มอิสระทางสังคมหรือไม่ หรือว่าทุกกลุ่มทุกชนชั้นจะมีปัญญาชนของตนเอง? ปัญหานี้ค่อนข้างจะสลับสับซ้อนเนื่องจากประวัติการวิวัฒนาการและรูปแบบที่แตกต่างออกไปของปัญญาชน รูปแบบปัญญาชนที่สำคัญที่สุดมีสองรูปแบบดังนี้
1) ทุกกลุ่มทุกชนชั้นทางสังคมเมื่อแรกกำเนิดขึ้นในระบบการผลิตของโลก
จะก่อกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับการมีปัญญาชนของตนเองหลายๆ ชนิดในรูปแบบธรรมชาติ
“อินทรีย์”
ปัญญาชนเหล่านี้สามารถทำให้กลุ่มชนในชนชั้นมีความเป็นหนึ่งผ่านจิตสำนึกเกี่ยวกับบทบาทของกลุ่มหรือชนชั้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง
นายทุนนักธุรกิจเมื่อแรกกำเนิดได้สร้างช่างอุตสาหกรรม
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง และนักวิชาการในระบบกฏหมาย ฯลฯ
เราควรสังเกตว่าการกำเนิดของนายทุนเองเป็นการพัฒนาระดับของชนชั้นในโลกเพราะนายทุนต้องมีความสามารถทางปัญญาและทางเทคนิคอยู่เองระดับหนึ่ง
เขาต้องเป็นผู้บริหารมวลชน
และผู้บริหารความน่าเชื่อถือของกิจการเพื่อเอาใจทั้งนักลงทุนและลูกค้า
นายทุนทุกคนไม่จำเป็นต้องมีความสามารถแบบนี้ แต่ต้องมีนายทุนชั้นนำกลุ่มหนึ่งที่เข้ามาจัดการสังคมได้ในระดับต่างๆ ขึ้นไปถึงการจัดการรัฐ หรืออย่างน้อยต้องมีคนที่สามารถแต่งตั้งและสั่งการผู้ช่วยที่จะเข้ามาทำงานตรงนี้ได้ เพราะนายทุนมีความจำเป็นในการสร้างบรรยากาศที่เอื้อกับการขยายกิจการของชนชั้นตนเองเสมอ
เราจะเห็นว่า “ปัญญาชนอินทรีย์” ที่ทุกชนชั้นสร้างขึ้นมาเมื่อแรกกำเนิดชนชั้นนั้นๆ จะมีความสามารถเฉพาะของตนเองในแผนกและศาสตร์ต่างๆ แม้แต่ชนชั้นขุนนางเองก็ยังมีความสามารถในทางปัญญาแต่เป็นไปในแง่เดียวเท่านั้นคือแง่ของการทำสงคราม และเราจะเห็นได้ว่าจุดทางประวัติศาสตร์อันสำคัญที่ชนชั้นขุนนางเริ่มเสียเปรียบให้แก่นายทุนคือช่วงที่ขุนนางไม่สามารถเก็บและปกปิดความรู้ทางการทหารไว้ในมือของชนชั้นตัวเองได้อีกต่อไป อย่างไรก็ตามในกรณีชนชั้นชาวนาในยุคอดีตเราจะเห็นว่าถึงแม้ว่าปัญญาชนหลายคนมาจากชนชั้นนี้ แต่ชนชั้นชาวนาไม่มีปัญญาชนอินทรีย์ของตนเอง
2) ในขณะที่กลุ่มชนหรือชนชั้นใหม่กำเนิดขึ้นมาในยุคต่างๆ จะมีปัญญาชนกลุ่มหนึ่งที่ดำรงอยู่มาก่อนหน้านั้น และเขาคือมรดกที่ตกทอดมาจากประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือปัญญาชนศาสนาซึ่งในยุคอดีตผูกขาดความรู้ในลัทธิศาสนา ทั้งในด้านปรัชญาและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และผูกขาดหน้าที่ในการบริการสังคมในด้านต่างๆ ด้วย เช่นการช่วยคนจน การเรียนการสอน และการตัดสินความยุติธรรมเป็นต้น ปัญญาชนกลุ่มนี้เดิมเป็นปัญญาชนอินทรีย์ของชนชั้นขุนนางหรือศักดินา และได้รับส่วนแบ่งจากการขูดรีดในระบบ แต่ในขณะเดียวกันการผูกขาดในทางปัญญาของปัญญาชนศาสนาก็ถูกท้าทายตลอดจากบางส่วนของสังคมขุนนางเอง เช่นอำนาจผู้นำทางการเมืองหรือกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์...
หน้าถัดไป >>