ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดยโสธร
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดยโสธร
สวนสาธารณะพญาแถน
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ภายในสวนพญาแถนมีลำน้ำเล็กๆ
คดเคี้ยวล้อมรอบบริเวณโดยรอบประกอบด้วยสวนไม้ดอก ไม้ประดับ สังคีตศาลา สนามเด็กเล่น
และสวนสุขภาพ เทศบาลกำหนดให้สวนพญาแถนเป็นสถานที่จัดงานบั้งไฟประจำปี
วัดมหาธาตุ
ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมือง โบราณสถานที่สำคัญในวัดคือ
พระพุทธบุษยรัตน์ หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน
เป็นพระบูชาคู่บ้านคู่เมืองของยโสธร ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้พระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองยโสธรคนแรก
พระธาตุยโสธร
หรือพระธาตุอานนท์ ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ
เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน
เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์
การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาวที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์
สร้างราว พ.ศ. 2321 โดยท้าวหน้า ท้าวคำสิงห์ ท้าวคำผา
ซึ่งเดิมเป็นเสนาบดีเก่าของกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์)
ต่อมาได้อพยพผู้คนภายใต้การนำของพระวอ พระตา ราว พ.ศ. 2313-2319
ลักษณะพระธาตุ ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 81 เมตร
ก่ออิฐถือปูนเอวฐานคอดเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม 4 ทิศ
ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ส่วนยอดธาตุมียอดปลีเล็กแซมทั้ง 4 ด้าน
ยอดกลางทรงสี่เหลี่ยมสอบ มี 2 ชั้น รูปแบบการก่อสร้างคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อย
หอไตร
เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานของวัด
ตั้งอยู่ตรงกลางสระทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุ
แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะแบบหอไตรภาคอีสานทั่วไป
มีทางเดินโดยรอบติดกันใต้ชายคา บริเวณนี้เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม
เสลี่ยงชั้นวางคัมภีร์ซึ่งนำมาจาก เวียงจันทน์
ซุ้มประตูและบานประตูไม้สลักลวดลายเครือเถาลงรักปิดทองอย่างสวยงาม
การตกแต่งฝาผนังมีลวดลาย ซึ่งเป็นลักษณะผสมแบบภาคกลาง สร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่
4-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระธาตุก่องข้าวน้อย
เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25
ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย
ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง
พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป
คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม
ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน
ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน
ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบ
บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ
ภูถ้ำพระ
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านกุดแห่
มีพระพุทธรูปอยู่ในถ้ำจำนวนมาก ถ้ำพระนี้เป็นถ้ำใหญ่กว้าง
ตั้งอยู่ชะง่อนภูด้านทิศใต้ มีทางเข้าไปตามซอกหินเป็นอุโมงค์
จากปากถ้ำเลยไปทางทิศเหนือสามารถเดินลอดไปได้
พระพุทธรูปใหญ่
เป็นพระประธานในอุโบสถวัดสงเปือย
เป็นพระพุทธรูปปั้นด้วยอิฐ ปูน มีอายุไม่น้อยกว่า 200 ปี
เป็นที่สักการะของประชาชนในท้องถิ่น
เจดีย์บรรจุดินจากสังเวชนียสถาน
เดิมเป็นเจดีย์เก่า อายุประมาณ 200 ปีขึ้นไป ในปี พ.ศ. 2498
ได้ต่อเติมขึ้นใหม่ โดยเงินทุนของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม พระปลัดเขียน
อัมมาพันธ์ นำดินจากสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ ที่ประสูติ ตรัสรู้
แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน จากประเทศอินเดียมาบรรจุไว้
ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย
อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านสงเปือย
ภายในบริเวณดงเมืองเตยมีซากวัด สระน้ำ กำแพงเมือง
ซึ่งปัจจุบันได้ชำรุดลงไปมากแล้ว
แต่ยังมีเค้าโครงเดิมพอจะสันนิษฐานได้ว่าเดิม
เป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณสมัยเจนละ ทวารวดี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12
สร้างขึ้นเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ที่นับถือพระศิวะ
กู่จาน
ตั้งอยู่ที่บ้านงิ้ว เป็นเจดีย์เก่าเจดีย์หนึ่งในจังหวัด
มีลักษณะคล้าย ๆ กับพระธาตุพนม มีมาตั้งแต่ครั้งสร้างพระธาตุพนม
จังหวัดนครพนม
พระพุทธบาทยโสธร
ตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทยโสธร
ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเป็นเนินทรายขาวสูงงอกขึ้นกลางพื้นที่ลุ่มน้ำชีนับเป็นโบราณวัตถุอันล้ำค่าของจังหวัด
บริเวณเดียวกันนี้ยังมีโบราณวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง ได้แก่
พระพุทธรูปปางนาคปรก (ศิลาแลง) 1 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 1 ศอก
และหลักศิลาจารึกทำด้วยศิลาแลง 1 หลัก สูง 1 เมตร กว้าง 50 เซ็นติเมตร
มีตัวหนังสือโบราณบันทึกไว้ว่า โบราณวัตถุทั้ง 3 อย่างนี้
พระมหาอุตตปัญญาและสิทธิวิหาริก ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.
1378
หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์
ตั้งอยู่ที่วัดสระไตรนุรักษ์ เป็นหอไตรเก่าแก่อยู่กลางสระน้ำ
สร้างมาประมาณร้อยกว่าปี เป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่าหรือไทยใหญ่
เป็นอาคารไม้ หลังคามุมสังกะสี มีชายคายื่นทั้ง 4 ทิศ หลังคามี 4 ชั้น
ลดหลั่นกันขึ้นไปมีประตูด้านหน้า 1 ช่อง บานประตูแกะสลักลวดลายสวยงาม
ใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกแต่มาโบราณ
จังหวัด » กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ บึงกาฬ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี