ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดชลบุรี
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี จังหวัดชลบุรี
งานพัทยามาราธอน
จัดขึ้นที่บริเวณเมืองพัทยา ประมาณเดือนกรกฎาคม
เพื่อเป็นการส่งเสริม การท่องเที่ยวนอกฤดูท่องเที่ยว
มีนักวิ่งจากหลายประเทศมาร่วมงาน โดย ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน
งานประจำจังหวัดชลบุรี
เป็นงานประจำปีที่ชาวจังหวัดชลบุรี
ได้ร่วมกันจัดติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 กิจกรรมของงานได้รวมงาน
"นมัสการพระพุทธสิหิงค์ งานสงกรานต์ และงาน กาชาด"
ไว้ด้วยกันโดยถือเอาประมาณกลางเดือนเมษายนของทุกปีเป็นวันจัดงาน
ประกอบไปด้วยขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ พิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การละเล่นพื้นบ้าน
การแสดงโขนของกรมศิลปากร และการแสดงทางวัฒนธรรม นิทรรศการ และ การออกร้าน
เพื่อเป็นการส่งเสริม และรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
งานเทศกาลวันไหล
ภาคตะวันออกนั้นจะแตกต่างจากที่อื่นคือ
จะเริ่มเล่นสาดน้ำกันประมาณวันที่ 16 หรือ 17-18-19 เมษายน โดยเรียกกันว่า "วันไหล"
สำหรับเมืองพัทยา ได้กำหนดจัดงานวันไหลในวันที่ 19 เมษายน ของทุกปี
โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น พิธีรดน้ำดำหัว ขบวนแห่วันไหล
การสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานของประชาชน และ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยชาวต่างประเทศ
งานเทศกาลพัทยา
จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายนของทุกปี
เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และเผยแพร่ชื่อเสียงของเมืองพัทยา
มีการจัดขบวนแห่ที่ประดับด้วยดอกไม้ที่สวยงาม การประกวดนางงามพัทยา
การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านไทย แข่งขันกีฬาทางน้ำ การประกวดก่อปราสาททราย
จุดพลุและดอกไม้ไฟที่ริมทะเล
การแสดงศิลปวัฒนธรรมนิทรรศการและการจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
งานประเพณีกองข้าว
อำเภอศรีราชา เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชาวเมืองชลบุรี
ปัจจุบันมีที่อำเภอศรีราชา ที่ยังคงรักษาประเพณีนี้อยู่
โดยจัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกวันที่ 19-21 เดือน เมษายน ของทุกปี
สถานที่จัดอยู่บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลศรีราชา
และที่บริเวณเกาะลอยศรีราชากิจกรรมของงานจะประกอบไปด้วย
การจัดขบวนแห่ที่นำโดยกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่และหน่วยงานต่าง ๆ
ที่แต่งกายด้วยชุดไทยประจำบ้านเข้าร่วมขบวน พิธีบวงสรวงและเซ่นสังเวยผี การสาธิต
ประเพณีกองข้าว การละเล่นพื้นบ้าน การสาธิตและจำหน่ายขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง
งานประเพณีก่อพระทรายวันไหล
บางแสน
เป็นงานประเพณีที่ชาวตำบลแสนสุข
ได้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ เดิมเรียกว่า งานทำบุญวันไหล คือ
การที่ประชุมในหมู่บ้านต่างๆ
ได้มาทำบุญร่วมกันเนื่องในเทศกาลวันสงกรานต์หรือวันปีใหม่ของไทย
โดยการนิมนต์พระทุกวัดที่อยู่ในเขตตำบลแสนสุขมาประกอบพิธีสงฆ์
หลังจากนั้นก็เป็นกิจกรรมก่อพระเจดีย์ทราย เล่นสาดน้ำ การละเล่น
และกีฬาพื้นบ้าน
งานบุญกลางบ้านและเครื่องจักสานพนัสนิคม
เป็นงานประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานของชาวอำเภอพนัสนิคม
ซึ่งจะจัดขึ้นในราวเดือน 3-6
โดยผู้เฒ่าหรือชาวบ้านที่เป็นที่นับถือจะเป็นผู้กำหนดวันทำบุญ
และทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาวบ้าน
หลังพิธีสงฆ์จะมีการรับประทานอาหารร่วมกันและมีการละเล่นพื้นบ้าน
งานประเพณีวิ่งควาย
เป็นประเพณีเก่าแก่ของจังหวัดชลบุรี
จัดขึ้นเดือนตุลาคมของทุกปี
นอกจากที่จัดที่อำเภอชลบุรีแล้วยังมีการจัดในช่วงเวลาใกล้เคียงกันในอำเภอบ้านบึง
อำเภอหนองใหญ่ ในวันงานชาวไร่
ชาวนาจะตกแต่งควายของตนอย่างสวยงามด้วยผ้าแพรสีต่างๆ
และนำควายมาชุมนุมกันที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด
มีการแข่งขันวิ่งควาย ประกวดสุขภาพควาย ประกวดการตกแต่งควาย
การละเล่น
สะบ้า
การเล่นสะบ้าจะเล่นกันที่ลานวัดหรือลานบ้าน แถบตำบลบ้านสวน และตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี ตลอดจนสถานที่อื่น ๆ ในจังหวัดใกล้เคียง สร้างความสนุกสนานและได้ออกกำลังกายไปด้วย การเล่น ผู้เล่นจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย อุปกรณ์การเล่น คือ เปลือกหอยแครง กับลูกสะบ้าที่กลึงจากไม้ ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะผลัดกันเล่นท่าต่าง ๆ เช่น ล้อนิ่ง ยิงดีด หรือทอยหนีบ เมื่อเล่นหมดทุกท่าแล้วส่วนมากจะปรับให้ผู้แพ้รำลูกช่วง
การเล่นลูกช่วงจะเล่นกันที่ลานวัดหรือลานบ้านแถบตำบลเหมือง อำเภอเมืองชลบุรี ในระหว่างเทศกาลสงกรานต์ โดยจะเล่นกันเกือบทุกวันเวลาบ่ายถึงเย็น การเล่นลูกช่วงของชาวตำบลเหมืองมี 3 แบบ คือ ช่วงวง ช่วงรำ และช่วงเชลย การเล่นลูกช่วงให้ความสนุกสนาน ได้ออกกำลังกาย สร้างความสามัคคีผีกระด้ง
ผีกระด้ง หรือผีนางด้วงจะเล่นกันลานบ้านระหว่างสงกรานต์ โดยเล่นเพื่อความสนุกสนานแหละหาของที่หายไป จะเล่นในเวลากลางคืน โดยต้องจัดเตรียมเครื่องคาย (เหล้า น้ำมันใส่ผม แป้งผัดหน้า น้ำอบไทย น้ำหอมต่าง ๆ หวี กระจก) เพื่อสังเวยเจ้าที่ แล้วให้ผู้จะเข้าทรงซึ่งเป็นผู้ชายจับขอบกระด้งมายื่นกลางวง มีพี่เลี้ยง 1 คน คนอื่นยืนล้อมเป็นวง ที่เลี้ยงจัดธูปเทียบเชิญผีและร้องเพลงผีกระด้วงพร้อม ๆ กัน ผีจะเหวี่ยงกระด้งไปที่สาว ๆ ให้มารำวงด้วย เมื่อจะเลิกเล่นก็ดึงกระด้วงออกจากมือคนทรงผีก็จะออก ถ้าเล่นเพื่อหาของหาย ผีกระด้งจะพาคนทรงเดินหรือวิ่งไปยังที่ที่ของหายไปและสามารถช่วยหาของได้ผีลอบ
การเล่นผีลอบจะเล่นในระหว่างเทศกาลสงกรานต์ โดยเล่นตอนกลางคืนที่ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา ตำบลแสนสถข ตำบลบ้านปึก อำเภอเมืองชลบุรี ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง นิยมเล่นกันที่ลานบ้าน โดยนำเครื่องเซ่นวางกองบนใบตอง ลอบตั้งไว้ข้าง ๆ เอาไม้คานสอด เอาทะนานสวมหัว ธูปสามดอกเรียงเป็นแถว สากตำข้าววาง 2 ข้างเครื่องเซ่น ให้หญิงสาว 2 คน นั่นบนสากคนละอัน เอามือจับลอบ คนอื่นล้อมวงร้องเพลงเชิญผีลอบ เมื่อผีเข้าลอบจะเหวี่ยงไปมา ถ้าใครล้อเลียนลอบจะไล่ตีคนนั้น เป็นที่สนุกสนาน ถ้าเอามือแหย่ที่ช่องระหว่างซี่ลอบผีก็จะออกผีสุ่ม
การเล่นผีสุ่มจะเล่นในระหว่างเทศกาลสงกรานต์ นิยมเล่นในเลากลางคืนที่ลานบ้าน ตำบลหัวถนน อำเภอพนัสนิคม และที่อื่น ๆ โดยให้คน 1-3 คน จะเป็นหญิงหรือชายก็ได้ผูกตา แล้วมานั่นบนครกคว่ำ จุดธูป 3 ดอก เอาสุ่มและข้องใส่ปลาผูกไว้ที่เอวคนทรงคนอื่น ๆ ล้มวงร้องเพลงเชิญ คนทรงจะวิ่งเอาสุ่มครอบปลาที่คนรอบ ๆ โดย โดยสมมติท่อนไม้แทนปลา คนทรงจะจับปลาอย่างรวดเร็ว ถ้าปลาวิ่งหนี ทำให้เกิดความสนุกสนาน ถ้าให้ผีออกต้องเอามือขยี้หูทั้งสองข้าง และแก้ผ้าผูกตากออกคราดนา หรือวิ่งคราด
ก่อนการปักดำนาตามแต่จะกำหนดร่วมกันว่าจะเป็นวันให เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัยในการทำนาน และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของควาย ซึ่งเป็นสัตว์จำเป็นในการทำนาที่ตำบลบึง ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จะจัดให้มีการวิ่งคราด โดยผู้เข้าแข่งจันส่วควาาย 1 คู่ เทียมคราด และคนถือหางคราด 1 คน สงในท้องนาที่ไถไว้แล้ว แบ่งเป็นลู่ทางตรงตามยาว แต่ละคู่ต้องเดินหรือวิ่งตามลู่ จะมีเกณฑ์ตัดสินโดยดูว่าคู่ใดคราดได้ตรงทางและลักษณะควายดี ไถคราดเก่ง ผู้ชนะจะได้รับรางวัลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของควาย เป็นการสร้างเสริมความสามัคคีการรำเทียน
ส่วนใหญ่จะเล่นในเวลาว่างงานตอนกลางคืน ผู้เล่นเป็นชาวบ้านมะขามเตี้ย ตำบลพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม ผู้เล่นทุกคนถือเทียนที่จุดแล้วคนละ 1 เล่ม ยืนเป็นวงกลม เว้นระยะพอให้รำได้สะดวก มีคนอีกกลุ่มหนึ่งร้องเพลงปรบมือให้จังหวะ ผู้รำเทียนจะต้องรำโดยไม่ให้เทียนดับ ถ้าเทียนดับต้องออกมาอยู่นอกวง เล่นไปจนเหลือคนสุดท้ายที่เทียนไม่ดับ ถือว่าเป็นผู้ชนะและอาจจะมีรางวัลหมากรุกคน
นิยมเล่นระหว่างสงกรานต์ หรือในงานมงคลต่าง ๆ ที่ลานวัดหรือลานบ้าน ตำบลบ้านโขด อำเภอเมืองชลบุรี ผู้เล่นหมากรุกคน 2 คนนั่งประจำกระดานหมากรุก เตรียมเดินตัวหมากรุก ผู้เล่นอีก 32 คน แต่งกายแบบทหารโบราณ แบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 16 คน เครื่องแต่งกายคนละสี ศีรณะสมหัวแสดงให้รู้ว่าเป็นขุน โคน ม้า เรือ หรือเบี้ย ขัดตารางบนพื้น เมื่อผู้เล่นเดินหมากรุกตัวใดไปตาไหนจะมีคนพากย์ทางไมโครโฟน ให้หมากรุกคนเดินเหมือนตัวหมากรุก มีคน 1 คน ใช้ไม้ยาว ๆ คอยชี้ว่าให้หมากรุกคนเดินไปตาไหน คนพากย์บอกให้วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงให้เหมาะสม กับลีลาและศักดิ์ศรีของหมากรุกตัวนั้น หากหมากรุกตัวใดถูกฝ่ายตรงข้ามกิน คนชี้จะชี้ให้หมากรุกตัวนั้นออกจากการเล่น เล่นกันไปจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจน การเล่นหมากรุกคนถือเป้นการเล่นที่ให้ความสนุกสนาน และฝึกปฏิภาณไหวพริบอย่างหนึ่ง
จังหวัด » จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว