วรรณกรรม
สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน
>>
หน้า1
หน้า2
หน้า3
หน้า4
หน้า5
มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนานฯ.
"สุนทรภู่" |
|
|
การนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดไปกรีดหิน
แม้องค์ปฎิมายังราคิน
มนุษย์เดินดินหรือจะสิ้นคนนินทาฯ.
"สุนทรภู่" |
|
|
อันว่าความกรุณาปราณี
จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลังมาเองเหมือนสายฝนอันชื่นใจ
จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดินฯ.
"เวนิสวานิช" |
|
|
เมื่อยามรักน้ำผักก็ว่าหวาน
ครั้นเนิ่นนานน้ำอ้อนก็กร่อยขม
เหมือนคำพาลหวานนักมักเป็นลม
แต่เขาชมกันว่าดีนี่กระไร
บรเพ็ดนั้นเป็นยารักษาโรค
แต่ความโลภเขาว่าขมหาชมไม่
เหมือนคนซื่อพูดจาประสาใจ
ไม่มีใครชมปากมิอยากยินฯ.
"นิราศทวาราวดี" |
|
|
แม้นเราริษยากันและกัน
ไม่ช้าพลันก็จะพากันฉิบหาย
ระวังการยุยงส่งร้าย
นั่นแหละเครื่องทำลายสามัคคีฯ.
"พระร่วง" |
|
|
พฤษภกาสร
อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง
สำคัญหมายในกายมี
นรชาติที่วางวาย
มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตย์ทั่วแต่ชั่วดี
ประดับไว้ในโลกาฯ.
"กฤษณาสอนน้อง" |
|
|
ประวัติวีรบุรุษไซร้
เตือนใจ เรามา
ว่าอาจจะยังชนม์
เลิศได้
และยามจะบรรลัย
ทิ้งซึ่ง
รอยบาปเหยียบแน่นไว้
แทบพื้นทรายสมัยฯ.
"ดุสิตสมิต" |
|
|
นามนั้นสำคัญไฉน
ที่เราเรียกว่ากุหลาบนั้น
แม้เรียกว่าอย่างอื่น
ก็หอมรื่นอยู่เหมือนกัน.
"โรมิโอและจูเลียต" |
|
|
ไม่คิดสอยมัวคอยดอกไม้ร่วง
คงชวดดวงบุปผชาติสะอาดหอม
ดูแต่ภุมรินเที่ยวบินดอม
จึงได้ออมอบกลิ่นสุมาลีฯ.
"ท้าวแสนปม" |
|
|
ปากเป็นเอกเลขเป็นโทโบราณว่า
หนังสือตรีมีปัญญาไม่เสียหลาย
ถึงรู้มากไม่มีปากลำบากตาย
มีอุบายพูดไม่เป็นเห็นป่วยการ
ถึงเป็นครูรู้วิชาปัญญามาก
ไม่รู้จักใช้ปากให้จัดจ้าน
แต่เต่าฝังนั่งซื่อฮื้อรำคราญ
วิชาชาญมากเปล่าไม่เข้าทีฯ.
"วิวาหพระสมุทร" |
|
|
เมื่อแก่เฒ่าหมายเจ้าเฝ้ารับใช้
เมื่อยามไข้หมายเจ้าเฝ้ารักษา
เมื่อยามถึงวันตายวายชีวา
หวังลูกช่วยปิดตาเมื่อสิ้นใจฯ.
"วิวาหพระสมุทร" |
|
|
ถึงแม้นายเพชฌฆาตฉกาจร้าย
เห็นคนตายจนชินฉะนั้นไซร้
ยามขวานเงื้อเหนือคอนักโทษไว้
ก็ยังขออภัยก่อนฟาดฟันฯ.
"ตามใจท่าน" |
|
|