ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

หอพระไตร

» พระวินัยปิฎก

» พระสุตตันตปิฎก

» พระอภิธรรมปิฎก

» พระสูตร

พระไตรปิฎกฉบับประชาชน

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

เล่มที่ ๑๒

ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔

๑๒ ชื่อมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์(เป็นสุตตันตปิฎก)

๔. ภยเภรวสูตร สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว

พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม . ชาณุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้า กราบทูลสรรเสริญว่าทรงเป็นหัวหน้า เป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้แนะนำกุลบุตรที่ออกบวชอุทิศพระองค์.

แล้วกราบทูลต่อไปว่า เสนาสนะอันสงัดอันตั้งอยู่ในป่าและราวป่า อดทนได้ยาก. ความสงัดความเป็นผู้อยู่ผู้เดียวทำได้ยาก ยินดีได้ยาก ประหนึ่งว่าป่าจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย.

พระผู้มีพระภาคตรัสรับว่าเมื่อก่อนตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ก็ทรงเคยคิดถึงเสนาสนะป่าเช่นนั้น แล้วได้ทรงแสดงความคิดของพระองค์ก่อนตรัสรู้ ( ๑๖ ข้อที่เกี่ยวกับเสนาสนะป่า ) ดังต่อไปนี้ ?-

( ข้อ ๑ ถึง ๑๖ ) ทรงคิดว่า สมณพราหมณ์บางพวก

๑. มีการงานทางกายไม่บริสุทธิ์
๒. มีการงานทางวาจาไม่บริสุทธิ์
๓. มีการงานทางใจไม่บริสุทธิ์
๔. มีอาชีพไม่บริสุทธิ์
๕. มีความอยากได้ มีราคากล้าในกาม
๖. มีจิตพยาบาท
๗. มีความหดหู่ง่วงงุนรัดรึงจิต
๘. มีจิตไม่สงบ
๙. มีความลังเลสงสัย
๑๐. เป็นผู้ยกตน, ข่มผู้อื่น
๑๑. เป็นผู้สะดุ้งหวาดกลัว
๑๒. ใคร่ลาภสักการะชื่อเสียง
๑๓. เกียจคร้าน มีความเพียรเลว
๑๔. หลงลืมตน
๑๕. มีจิตไม่ตั้งมั่น หมุ่นไปผิด
๑๖. มีปัญญาทราม น้ำลายไหลเวลาพูด .

สมณพราหมณ์เหล่านี้เสพเสนาสนะอันสงัดอันตั้งอยู่ในป่าและราวป่า ย่อมเรียกร้องเอาอกุศลเพราะเหตุโทษ ๑๖ ข้อนั้นมาเป็นความกลัวและสิ่งที่น่ากลัวและสิ่งที่น่ากลัว . แต่พระองค์ ( พระโพธิสัตว์ ) ไม่มีโทษ ๑๖ ข้อนั้น ทรงเห็นความสมบูรณ์ ( อันตรงกับข้ามกับโทษ ๑๖ ข้อในพระองค์ ) จึงมีขนตก ( ไม่หวาดกลัว ไม่ขนพอง ) อยู่ป่าได้ดีผู้หนึ่งในพระอริยเจ้าผู้เสพเสนาสนะอันสงัดอันตั้งอยู่ในป่าทั้งหลาย.

การเผชิญความกลัว

ครั้นแล้วทรงแสดงถึงความคิดของพระองค์ ( เมื่อก่อนตรัสรู้ ) ต่อไปอีกว่า เมื่อถึงวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ ควรทดลองอยู่ในเสนาสนะที่น่ากลัวน่าขนพองสยองเกล้า เช่น สวน , ป่า , ต้นไม้ ที่คนเข้าใจว่าศักดิ์สิทธิ์. เพื่อจะได้เห็นความกลัวและสิ่งที่น่ากลัว.

เมื่อทดลองเข้าไปสู่ที่เช่นนั้น เมื่อสัตว์เดินมานกยูงทำกิ่งไม้ตกลงมา หรือลมพัดถูกเศษใบไม้ เราก็คิดว่า ความกลัวและสิ่งที่น่าากลัวกำลังมา และมาในขณะที่เราอยู่ในอาการใด เช่น กำลังเดิน , ยืน , นั่งหรือนอน เราก็จะอยู่ในอาการนั้น ไม่เปลี่ยนอาการเป็นอย่างอื่นขจัดความกลัวและสิ่งที่น่ากลัวให้จงได้ แล้วเราก็ทำตามที่คิดนั้น.

บางพวกหลงวันหลงคืน

สมณพราหมณ์บางพวกก็หลงกลางคืนว่าเป็นกลางวัน หลงกลางวันว่าเป็นกลางคืน แต่พระองค์มิได้เป็นเช่นนั้น.

ทรงแสดงข้อปฏิบัติของพระองค์

ครั้นแล้วทรงแสดงข้อปฏิบัติของพระองค์ คือการตั้งสติจนมีอารมณ์เป็นอันเดียว ได้ฌานที่ ๑ ถึงฌานที่ ๔ แล้วทรงได้วิชชาและแสงสว่าง ประเภทระลึกชาติได้ในยามที่ ๑ ประเภททิพย์จักษุ เห็นการเกิดการตายของสุตว์ทั้งหลายในยามกลาง , ประเภททำอาสวะให้สิ้นในยามสุดท้าย. แล้วตรัสสรูปในที่สุดว่า อาจมีผู้คิดว่าพระองค์ยังไม่หมดราคะ โทสะ โมหะ จึงต้องเสพเสนะสนะอันสงัดอันตั้งอยู่ในป่า ซึ่งไม่ควรคิดเช่นนั้น. พระองค์ทรงเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ อย่าง จึงเสพเสนาสนะอันสงัดอันตั้งอยู่ในป่า คือ ? '

๑. ความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระองค์
๒. ทรงมุ่งอนุเคราะห์คนรุ่นหลัง ( เพื่อให้ถือเป็นตัวอย่าง ).

ชาณุสโสณิพราหมณ์ก็รับรองว่า ทรงอนุเคราะห์คนรุ่นหลังอย่างแท้จริง แล้วประกาศความเลื่อมใสในพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต.

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

- สูตรว่าด้วยเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง
- สูตรว่าด้วยการสำรวมระวังอาสวะทุกชนิด
- สูตรว่าด้วยผู้รับมรดกธรรม
- สูตรว่าด้วยความกลัวและสิ่งที่กลัว
- สูตรว่าด้วยบุคคลผู้ไม่มีกิเลส
- สูตรว่าด้วยความหวังของภิกษุ
- สูตรอุปมาด้วยผ้าที่ย้อมสี
- สูตรว่าด้วยการขัดเกลากิเลส
- สูตรว่าด้วยความเห็นชอบ
- สูตรว่าด้วยการตั้งสติ ๔ ประการ
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทเล็ก
- สูตรว่าด้วยการบรรลือสีหนาทใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก
- อนุมานสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- เจโตขีลสูตร สูตรว่าด้วยการอนุมาน
- สูตรว่าด้วยการอยู่ป่าของภิกษุ
- สูตรว่าด้วยธรรมะที่น่าพอใจเหมือนขนมหวาน
- สูตรว่าด้วยความตรึกสองทาง
- สูตรว่าด้วยที่ตั้งของความตรึกหรือความคิด
- สูตรว่าด้วยเปรียบด้วยเลื่อย
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยจอมปลวก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรถ ๗ ผลัด
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยเหยื่อหรืออาหารสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยบ่วงดักสัตว์
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรเล็ก
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยป่าไม้สาละชื่อโคสิงคะ สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่
- สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยสัจจกนิครนถ์ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยคำสอนในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนิคมชื่ออัสสปุระ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านสาละ
- สูตรว่าด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชา
- สูตรว่าด้วยมหาเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรใหญ่
- สูตรว่าด้วยเวทัลละคือการโต้ตอบด้วยการใช้ความรู้ สูตรเล็ก
- สูตรว่าด้วยการสมาทานธรรมะ
- สูตรว่าด้วยภิกษุผู้พิจารณาสอบสวน
- สูตรว่าด้วยภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
- สูตรว่าด้วยการเชื่อเชิญของพรหม
- สูตรว่าด้วยมารถูกคุกคาม


» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔

» พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย