ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

แนวทัศนะของนักจิตวิทยา

กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)

กลุ่มนี้เกิดที่ประเทศเยอรมันในเวลาใกล้เคียงกันกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมซึ่งกำลังแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา โดยมี Max Wertheimer Woffganng Kohlor และ Kurt Koffka เป็นกลุ่มผู้ริเริ่ม ซึ่งต่อมมา Kurt Lewin ได้นำเอาทฤษฎีนี้มาปรับเป็นทฤษฎีใหม่ชื่อว่า ทฤษฎีสนาม (Field Theory)

Gestalt เป็นภาษาเยอรมันแปลว่า Totality ซึ่งแปลว่า กระสวน โครงร่าง รูปร่าง รูปแบบ การรวมหน่วยย่อยหรือโครงสร้างทั้งหมด จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์จึงหมายถึง จิตวิทยาที่ยึดถือส่วนรวมเป็นสำคัญ นักจิตวิทยากลุ่มนี้เห็นว่า การศึกษาจิตวิทยานั้นต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวม จะแยกเป็นทีละส่วนไม่ได้ และเห็นว่ากลุ่มพฤติกรรมนิยมมีความพยายามจะแยกศึกษาในหน่วยย่อย เช่น สิ่งเร้า การตอบสนองซึ่งน่าจะเป็นศาสตร์แขนงอื่น ดังนั้นกลุ่มนี้จึงสนใจพิจารณาพฤติกรรมของมนุษย์ทุกอย่างเป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยมองในลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมทั้งการเรียนรู้ใดๆ ก็ตามบุคคลจะต้องเรียนรู้จากส่วนรวมกันแล้วจึงแยกเป็นส่วนย่อยเช่นกัน แนวคิดที่สำคัญของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ มี 2 ประการ คือ การรับรู้ (Perception) และการหยั่งเห็น (Insight)



การรับรู้ (Perception) หมายถึง การที่บุคคลเข้าใจสถานการณ์โดยรวมทั้งหมดก่อน (Whole) แล้วจึงจะพิจารณาส่วนย่อย (Part) เป็นส่วนๆในภายหลัง ส่วนการหยั่งเห็น (Insight) เป็นรูปแบบของการแก้ไขปัญหาของคนและสัตว์ชั้นสูง ซึ่งได้จากการสะสมประสบการณ์จากการเรียนรู้ โดยถือว่าเมื่อเกิดการหยั่งเห็นเมื่อใดบุคคลจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นเมื่อนั้น ดังนั้น การเรียนรู้ของคนและสัตว์จึงมิได้เกิดจากการแยกส่วนแต่เป็นการแปลความหมายของสถานการณ์ทั้งหมดเป็นส่วนรวมจนเกิดการหยั่งเห็นขึ้นในใจ

กลุ่มโครงสร้างแห่งจิต (Structuralism)
กลุ่มหน้าที่แห่งจิต (Functionalism)
กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychology)
กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)
กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย