ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

สาระความรู้ จากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

การพาสเจอร์ไรส์แบบเพลท

การพาสเจอร์ไรส์ด้วยเครื่องพาสเจอร์ไรส์แบบ "เพลท" (Plate type heat exchanger HTST.) เป็นแบบที่ความร้อนและความเย็นถ่าย เทไปสู่นมผ่านแผ่นโลหะ stainless steel แบบนี้เป็นแบบที่กำลังนิยมกันมาก เพราะสะดวกในการทำความสะอาดและเช็คเครื่อง

ลำดับขั้นการพาสเจอร์ไรส์แบบเพลท

  1. นมโคดิบ (Raw milk) ผ่านการทดสอบว่ามีคุณภาพดี รสดี กรดไม่สูงเกิน 0.2%
  2. ปรับมันเนยเข้าสู่มาตรฐาน (Standardization of butter fat) เก็บตัวอย่างนมไปทดสอบหาเปอร์เซนต์มันเนยและธาตุน้ำนมไม่รวมมันเนย ปรับมันเนยเข้าสู่มาตรฐาน 3.2 % และ Sn.f. 8.5 % ตามกรรมวิธีของเปียร์สัน โดยใช้หางนมสดหรือครีมแล้วแต่กรณี
  3. ปรีฮีทติ้ง (Preheating) คือการให้ความร้อนล่วงหน้า กรณีนี้นมดิบเย็น 2-3 องศาเซลเซียส จะถูกอุ่นให้ร้อนขึ้นถึงอุณหภูมิประมาณ 65 องศาเซลเซียส การอุ่นนมให้ร้อนนี้จะทำที่ช่อง regenerative section ของเครื่องพาสเจอร์ไรส์ โดยนมพาสเจอร์ไรส์อุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียส จะถ่ายเทความร้อนผ่านแผ่นโลหะ stainless steel มาให้นมดิบ (ขณะเดียวกันนมพาสเจอร์ไรส์ก็ลดอุณหภูมิลงไปถึงอุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียส) ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการกรอง
  4. การกรอง (filtering) นมที่อุ่นให้ร้อน 65 องศาเซลเซียส จะผ่านเข้าเครื่องกรอง
  5. โฮโมจีไนส์ (Homogenizing) เมื่อนมผ่านกรองมาแล้วก็จะไหลไปตามท่อเข้าสู่เครื่อง homogenizer เพื่อทำให้นมเป็นเนื้อเดียวกัน โดยตั้งความดันลิ้นที่หนึ่งไว้ที่ 2,500 - 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว (ลิ้นที่สอง 500 ปอนด์/ตารางนิ้ว)
  6. ฮีทติ้ง (Heating) นมอุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส จะถูกปั๊มเข้าสู่ heating section ของเครื่องพาสเจอร์ไรส์เพื่อทำการพาสเจอร์ไรส์นม ณ ที่นี้นมจะได้รับความร้อนโดยการถ่ายเทความร้อนจากน้ำร้อนผ่านแผ่นโลหะ ทำให้ร้อนคงที่อยู่ที่อุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียสพอดี เป็นการพาสเจอร์ไรส์นม
  7. โฮลดิ้ง (Holding) นมอุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียส จะผ่านมายัง holding section เพื่อถ่วงเวลาให้ครบ 16 วินาที
  8. ทำให้เย็น (Cooling) เมื่อนมผ่านความร้อนที่ 72 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 16 วินาทีมาแล้วก็จะต้องลดอุณหภูมิให้เย็นลงถึง 5 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่าในทันทีทันใด นมพาสเจอร์ไรส์จะถูกเก็บไว้ในถังที่อุณหภูมิประมาณ 2 องศาเซลเซียส เพื่อรอการบรรจุขวดต่อไป
  9. บรรจุขวด (Bottling) นมพาสเจอร์ไรส์เย็นจะถูกบรรจุขวดและปิดฝา (หรือบรรจุถุงหรือกล่อง) ประทับวันเดือนปีที่ผลิต (หรือวันหมดอายุ) คือเมื่อจำหน่ายถึงผู้บริโภคต้องมีอายุ ไม่เกิน 3 วันนับแต่วันที่ผลิต
  10. เก็บเข้าห้องเย็น (Cold storaging) ที่อุณหภูมิประมาณ 2 องศาเซลเซียส (ไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส) เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป

ที่มา : ผลิตภัณฑ์นม โดย รศ.ทองยศ อเนกะเวียง ม.เกษตรศาสตร์ หน้า 44-47

กรดซิตริก
กระดาษสา
กระเจี๊ยบแดง
กล็อกซิเนีย
กล้วยร้อยหวี
เกลือแร่
แก๊สชีวภาพ
แกลดิโอลัส
เก๊กฮวย
กุหลาบ
การสเตอริไรส์
การสังเคราะห์แสง
ขนุน
ขิง (Ginger)
ไขมัน
ข้าว
ต้นข้าว
ดอกข้าว
รวงข้าว
คลอโรฟิลล์
คะตะเลส (Catalase)
คาร์เนชั่น
คาร์โบไฮเดรต
เคซีน (Casein)
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การพาสเจอร์ไรส์แบบเพลท
แครอท
โคลิฟอร์มแบคทีเรีย
จิบโซฟิลล่า
จุลินทรีย์
ซีไฟโคไซยานิน
ดินพรุ
ไม้ตะแบกเลือด
ตะไคร้
นม
นมข้นหวาน
นมดิบ
นมพาสเจอร์ไรส์
นมสด
นมสดปราศจากไขมัน
หางนม
นาดำ
นาหว่าน
น้ำตาล
เนยสด
เนยแข็ง
เนยแข็งปรุงแต่ง
เบญจมาศ
ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยพืชสด
ปุ๋ยหมัก
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
เห็ดหลินจือ
เอนไซม์ (Enzymes)
เรนเนท (rennet)
โฮโมจิไนส์

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย