เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

การใช้ ICT ขั้นพื้นฐาน
สำหรับคนพิการทางการมองเห็น

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
การใช้งานระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
การใช้งานอินเทอร์เน็ต
การใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

เมื่อกล่าวถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะโดยผู้ใดก็ตามนั่นหมายถึงการทำงานกับคอมพิวเตอร์ใน 2 องค์ประกอบหลักได้แก่

  1. การอ่าน หรือการรับรู้ข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าจอ หรือปรากฏบนอุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่น ๆ
  2. ป้อนคำสั่งหรือข้อมูลเข้าเครื่องโดยผ่านทางแป้นพิมพ์หรือ Pointing Device เช่น Mouse

แม้การมองไม่เห็นตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอจะทำให้เกิดอุปสรรค ในการใช้ Pointing Device แต่คนพิการทางการมองเห็นสามารถใช้การป้อนข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางแป้นพิมพ์ได้ โดยจะใช้การพิมพ์แบบสัมผัส (การจดจำตำแหน่งของแป้นพิมพ์) สำหรับแป้นพิมพ์ที่ใช้สามารถใช้แป้นพิมพ์ปกติของคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ต้องมีการออกแบบเพิ่มเติมหรือปรับปรุงให้มีลักษณะเฉพาะแต่อย่างใด แต่ปัญหาสำคัญส่วนใหญ่อยู่ที่การอ่านหรือการรับรู้ข้อมูลที่เครื่องแสดงผ่านหน้าจอ ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขดังนี้

 

  1. การใช้ซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลเป็นเสียงพูดโดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader Software) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับตาของมนุษย์ในการตรวจจับข้อมูลที่เครื่องแสดงออกมาที่หน้าจอ แล้วเชื่อมต่อไปยังโปรแกรมอ่านออกเสียง (Speech Software) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนอวัยวะในระบบการเปล่งเสียง ซึ่งคนพิการทางการมองเห็นจะรับทราบข้อมูลได้จากการได้ยิน ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนา Screen Reader Software ให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้นในการวิเคราะห์รูปแบบการอ่านให้เหมาะสมและสอดคล้องกับประเภทของข้อมูลและรูปแบบของการนำเสนอ เช่น การอ่านข้อมูลในลักษณะที่นำเสนอในรูปแบบของตารางในขณะที่ Speech Software ก็ได้รับการพัฒนาให้สามารถเปล่งเสียงชัดเจน และถูกต้องมากขึ้นเช่นกัน
  2. การใช้อุปกรณ์และซอฟต์แวร์แสดงผลเป็นอักษรเบรลล์โดยประกอบด้วย Braille translator
  3. ซอฟต์แวร์ซึ่งทำหน้าที่แปลงรหัสข้อมูลจากอักษรตัวพิมพ์ (print) เป็นรหัสอักษรเบรลล์แล้วส่งไปแสดงผลที่เครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ (Refreshable Braille Display) ทำให้คนพิการทางการมองเห็นสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากการอ่านอักษรเบรลล์ แทนการอ่านจากหน้าจอ
  4. การใช้ซอฟต์แวร์ขยายจอภาพ (Screen Magnification Software) โดยจะช่วยขยายตัวอักษรตลอดจนรูปภาพและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏบนหน้าจอให้ใหญ่ขึ้นตามขนาดที่ผู้ใช้ต้องการรวมทั้งมีฟังก์ชัน ที่ให้ผู้ใช้สามารถปรับสีของพื้นผิวหน้าจอ ตลอดจนสีของตัวอักษรและสัญลักษณ์ต่างๆ ให้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน (Contrast) ลักษณะเช่นนี้จะทำให้คนพิการทางการมองเห็นกลุ่มที่เป็นผู้มีสายตาเลือนรางสามารถอ่านข้อมูลจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้โดยสะดวกขึ้น

การทำงานของคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
การฝึกการใช้เมาส์และแป้นพิมพ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย