ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

จริยธรรม

ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม
แนวคิด หลักการ ทฤษฏีทางคุณธรรมจริยธรรม
ธรรมชาติของมนุษย์ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม
ทฤษฏีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม
เกณฑ์การตัดสินจริยธรรม
จริยธรรมของคนไทย
ค่านิยมและจรรยาบรรณ

แนวคิด หลักการ ทฤษฏีทางคุณธรรมจริยธรรม

หลักพุทธจริยศาสตร์

พุทธจริยศาสตร์เป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

1. พุทธจริยศาสตร์ระดับต้น บัญญัติไว้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม หลักธรรม คือ ศีล 5 ธรรม 5 ทิศ 6 เป็นต้น
2. พุทธจริยศาสตร์ระดับกลาง บัญญัติไว้เพื่อให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติอบรมขัดเกลาตนเองให้มีคุณธรรมสูงขึ้น หลักธรรม คือ ศีล 5 กุศลกรรมบถ 10
3. พุทธจริยศาสตร์ระดับสูง เป็นจริยศาสตร์เพื่อพัฒนาตนเป็นอริยบุคคล หลักธรรม คือ มรรค 8

ส่วนหัวใจสำคัญของพุทธจริยศาสตร์ หรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนาก็คือ

1. ไม่ทำชั่วทั้งปวง
2. ทำกุศลคือความดีให้พรั่งพร้อม
3. ทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว

วศิน อินทสระ (2541 : 11-12) กล่าวว่าพุทธจริยศาสตร์นั้นเป็นหลักเกณฑ์ทางจริยธรรม ซึ่งท่านผู้รู้มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้ทรงวางไว้ เพื่อเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ ตั้งแต่พื้นฐานเบื้องต้น ท่ามกลางและระดับสูง เพื่อให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอันดีงามตามอุดมคติเท่าที่มนุษย์จะขึ้นให้ถึงได้ ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มีสติปัญญา มีความสุขอันสมบูรณ์ที่สุด เพราะจริยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยอุดมคติของชีวิต หรือความดีอันสูงสุด (supreme good )เพื่อขึ้นให้ถึงความดีงามอันสูงสุดนั้น จะต้องมีปฏิปทา (path : way : method) สำหรับดำเนิน คือ เป็นการสร้างเหตุบรรลุผล ถ้าต้องการผลอันสูงสุดก็ต้องสร้างเหตุให้สมควรกัน พุทธศาสนาเป็นกัมวาทะ กิริยวาทะ

วิริยวาทะ กล่าวคือการกระทำ และความเพียรเป็นเบื้องต้นแห่งความสำเร็จผลทั้งปวง ไม่ประสงค์ให้ใครได้ดี หรือประสงค์ความสำเร็จลอย ๆ หรือด้วยการอ้อนวอน แต่ให้สำร็จด้วยการกระทำเอง พระพุทธศาสนาจึงได้รับการยกย่องจากนักปราชญ์ชาวต่างประเทศบางคนว่า A – Self - do – it –Religion (ศาสนาที่ต้องทำเอง)

หลักจริยธรรมของพระพุทธศาสนา 3 ระดับดังกล่าวข้างต้นมีรายละเอียดดังนี้

พุทธจริยธรรมขั้นพื้นฐาน เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม หลักธรรม คือ เบญจศีลเบญจธรรม ได้แก่

เบญจศีล เบญจธรรม

1. เว้นจากการฆ่าสัตว์ 1. มีเมตตากรุณา
2. เว้นจากการลักทรัพย์ 2. เลี้ยงชีวิตในทางที่ถูกต้อง
3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม 3. มีความสำรวมในกาม
4. เว้นจากการพูดเท็จ 4. พูดแต่คำสัตย์
5. เว้นจากการดื่มสุราเมรัย 5. มีสติ รักษาตนไว้เสมอ

ทิศ 6 หมายถึง บุคคลต่างๆ ที่เราเกี่ยวข้องสัมพันธ์ทางสังคมดุจทิศที่อยู่รอบตัว

1. ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดา บิดา เพราะเป็นผู้อุปการะเรามาก่อน บุตรธิดาพึงบำรุงบิดา มารดา ดังนี้

1. ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
2. ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
3. ช่วยทำการงานของท่าน
4. ดำรงวงศ์สกุล
5. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
6. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

บิดามารดาย่อมอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้

1. ห้ามปรามจากความชั่ว
2. ให้ตั้งอยู่ในความดี
3. ให้ศึกษาศิลปวิทยา
4. หาคู่ครองที่สมควรให้
5. มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร

2. ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ เพราะเป็นทักขิไณยบุคคลควรแก่การบูชาคุณ ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ดังนี้

1. ลุกต้อนรับ
2. เข้าไปหา
3. ใฝ่ใจเรียน
4. ปรนนิบัติ ช่วยบริการ
5. เรียนศิลปะวิทยาโดยเคารพ

ครู อาจารย์ ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้

1. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
2. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
3. สอนศิลปะวิทยาให้สิ้นเชิง
4. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่คณะ
5. สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ

3. ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรภรรยา เพราะมีขึ้นภายหลังและคอยเป็นกำลังสนับสนุนอยู่ข้างหลัง สามีพึงบำรุงภรรยา ดังนี้

1. ยกย่องให้เกียรติสมกับฐานะที่เป็นภรรยา
2. ไม่ดูหมิ่น
3. ไม่นอกใจ
4. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้
5. หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส

ภรรยาย่อมอนุเคราะห์สามี ดังนี้

1. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
2. สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
3. ไม่นอกใจ
4. รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
5. ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง



4. ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย เพราะเป็นผู้ช่วยให้ข้ามพ้นอุปสรรคภัยอันตราย และเป็นกำลังสนับสนุน ให้บรรลุความสำเร็จ

บุคคลพึงบำรุงมิตรสหาย ดังนี้

1. เผื่อแผ่แบ่งปัน
2. พูดจามีน้ำใจ
3. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
4. มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน
5. ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน

มิตรสหายย่อมอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้

1. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน
2. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
3. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
4. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
5. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร

5. ทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณพราหมณ์ คือ พระสงฆ์ เพราะเป็นผู้สูงด้วยคุณธรรมและเป็นผู้นำทางจิตใจ

คฤหัสถ์ย่อมบำรุงพระสงฆ์ ผู้เป็นทิศเบื้องบน ดังนี้

1. จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
2. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
3. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
4. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
5. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4

พระสงฆ์ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้

1. ห้ามปรามจากความชั่ว
2. ให้ตั้งอยู่ในความดี
3. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
4. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
5. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
6. บอกทางสวรรค์ คือ ทางชีวิตที่มีความสุขความเจริญให้

6. ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ คนรับใช้และคนงาน เพราะเป็นผู้ช่วยทำการงานต่างๆ เป็นฐานกำลังให้ นายพึงบำรุงคนรับใช้และคนงาน ดังนี้

1. จัดการงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลังความสามารถ
2. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่
3. จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
4. ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
5. ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาสอันควร

คนรับใช้และคนงานย่อมอนุเคราะห์นาย ดังนี้

1. เริ่มการงานก่อนนาย
2. เลิกงานหลังนาย
3. ถือเอาแต่ของที่นายให้
4. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
5. นำเกียรติคุณของนายไปเผยแพร่

พุทธจริยธรรมระดับกลาง เพื่อให้บุคคลขัดเกลาตนเองให้มีคุณธรรมสูงขึ้น หลักธรรม คือ ศีล 8 กุศลกรรมบถ 10 มีรายละเอียดดังนี้

ศีล 8 หรือ อัฎฐศีล การรักษาระเบียบทางกาย วาจา ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

1. เว้นจากทำร้ายร่างกายผู้อื่นและสัตว์ทั้งหลาย
2. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
3. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี
4. เว้นจากพูดเท็จ
5. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
6. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
7. เว้นจากฟังฟ้อนรำ ขับร้อง ดนตรี ทัดทรงดอกไม้ ใส่ของหอม
8. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหรา ฟุ่มเฟือย

กุศลกรรมบถ 10 ทางแห่งกุศล กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติ จำแนกเป็นการประพฤติผิดทางกาย 3 วาจา 4 และ ทางใจ 3 ดังนี้

กายกรรม การกระทำทางกาย มี 3 ข้อ คือ

1. เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ล่วงไป
2. เว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ - ขโมย
3. เว้นจากการประพฤติผิดลูกเมียคนอื่น

วจีกรรม การกระทำทางกาย มี 4 ข้อ คือ

4. เว้นจากการพูดเท็จ
5. เว้นจากการพูดส่อเสียด
6. เว้นจากการพูดคำหยาบ
7. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

มโนกรรม การกระทำทางกาย มี 3 ข้อ คือ

8. ไม่โลภอยากได้ของเขา
9. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
10. ทำความเห็นให้ถูกต้องตามครรลองครองธรรม

พุทธจริยธรรมระดับสูง คือ จริยธรรม เพื่อพัฒนาคนเป็นอริยชน มี อริยมรรค 8 ได้แก่

1. สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้องตามครรลองครองธรรม เช่น ความรู้เห็นอริยสัจ 4
2. สัมมาสังกัปปะ ความคิดถูกต้อง ไม่พยาบาท ไม่เบียดเบียน
3. สัมมาวาจา เจรจาในสิ่งที่เป็นความจริง ประสานสามัคคีอ่อนหวาน มีประโยชน์
4. สัมมากัมมันตะ การเว้นจากการกระทำไม่ดี เช่น การฆ่า การเบียดเบียน การลักทรัพย์
5. สัมมาอาชีวะ การเว้นมิจฉาชีพทุกรูปแบบ ประกอบอาชีพสุจริต
6. สัมมาวายามะ ทำความเพียร เช่นเพียรระวังอกุศลทุกรูปแบบ เพียรให้กุศลเกิดขึ้น
7. สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือ ระลึกแล้วเกิดสติสมบูรณ์ กลายเป็นปัญญา
8. สัมมาสมาธิ การตั้งจิตมั่นในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่หวั่นไหว ไม่ฟุ้งซ่าน

หลักคำสอนและแนวคิดของศาสดา และนักปราชญ์ทั้งหลายที่กล่าวมาแล้ว ล้วนมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน คือให้มนุษย์กระทำความดี ละเว้นความชั่ว ให้ปฏิบัติต่อกันอย่างมีคุณธรรม ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสันติสุข การศึกษาคุณธรรมจริยธรรม จะต้องศึกษาถึงที่มา หลักการ แนวคิดทางศาสตร์ของจริยธรรมที่มนุษย์ได้ศึกษา และปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณ เพราะแนวคิดหลักการเหล่านี้เป็นพื้นฐานของความเข้าใจในคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งทุกศาสนามีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไป อันเป็นที่มาของความเชื่อ และพฤติกรรมที่แสดงออกของคนในกลุ่มต่างกันด้วย เป็นการช่วยให้มนุษย์ต่างชาติต่างเผ่าพันธุ์มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน อันเป็นผลให้เกิดความผาสุกในมวลมนุษยชาติ.

ลักษณะพิเศษของหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

“...ธรรมในพระพุทธศาสนามีความหมดจดบริสุทธิ์
และสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยเหตุผล
ซึ่งบุคคลจะสามารถศึกษาและปฏิบัติด้วยปัญญา
ด้วยความเพ่งพินิจให้เกิดประโยชน์ คือความสำคัญ
ความผาสุกแก่ตนโดยอย่างเที่ยงแท้
ตั้งแต่ประโยชน์ขั้นพื้นฐาน
คือการตั้งตัวให้เป็นปรกติสุข
จนถึงประโยชน์นั้นปรมัตถ์
คือหลุดพ้นจากเครื่องเกาะเกี่ยวร้อยรัดทุกประการ
ข้อนี้เป็นลักษณะพิเศษในพระพุทธศาสนา
ซึ่งทำให้พระพุทธศาสนามีค่าประเสริฐสุด...”

พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

หลักจริยธรรมของขงจื้อ
หลักจริยธรรมของศาสนาชินโต
หลักจริยธรรมของศาสนาเชน
หลักจริยธรรมของศาสนาเต๋า
หลักจริยธรรมของศาสนาคริสต์
หลักจริยธรรมของศาสนาอิสลาม
หลักพุทธจริยศาสตร์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

🍁 ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

🍁 สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

🍁 ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

🍁 พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

🍁 สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

🍁 กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

🍁 ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้

🍁 ปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึง ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก

🍁 มัทนะพาธา
บทละครเรื่องมัทนะพาธาได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรประกาศยกย่องให้เป็นหนังสือที่แต่งดีใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูด ที่มีตัวละครและฉากสอดคล้องกับวัฒนธรรมภารตะโบราณ

🍁 คู่มือพระสังฆาธิการ
ส่วนหนึ่งของหลักสูตรถวายความรู้ แด่พระสังฆาธิการ หมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป ซึ่งพระสังฆาธิการจำเป็นจะต้องรับทราบ และถือปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทาง ในการบริหารการปกครองวัด

🍁 หุ่นยนต์
หุ่นยนต์มีความแตกต่างจากเครื่องจักรกลแบบอื่น ๆ ตรงที่มันสามารถเคลื่อนไหวโครงสร้างได้ หุ่นยนต์แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ตรงที่มันสามารถนำผลที่ได้จากการประมวลมา ปฏิบัติให้เกิดงานในทางกายภาพได้ขณะที่คอมพิวเตอร์ไม่มี

🍁 ข้อคิดจากนิทานไทย
นิทานเป็นเรื่องเล่าที่สืบทอดมาแต่โบราณ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพาเด็กและเยาวชนไปสู่โลกกว้างของการเรียนรู้ชีวิตจริง

🐍 โปรดระวังงูฉก

ถ้าจะต้องต่อสู้เพื่ออะไรสักอย่าง
จงต่อสู้เพื่อเสรีภาพเถิดผู้คน

อย่าให้ใครบงการชีวิต
หรือบอกว่าต้องทำอะไร
ต้องคิดแบบไหน
ต้องรู้สึกอย่างไร

โลกมีที่ว่างสำหรับทุกคน
ใช้ชีวิตอย่างอิสระและสง่างาม

อย่าพยายามจะเป็นมนุษย์ที่ผิดธรรมชาติ.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ลำปาง นครแห่งความสุข
ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเนิ่นนานเพียงใด สิ่งที่เรียกว่าเพื่อนจะอย่างไรก็ยังคงเป็นเพื่อนอยู่อย่างนั้น อีกครั้งที่ได้เรียนรู้และสัมผัส มิตรภาพอันอบอุ่นท่ามกลางความหนาวเย็นหน่อยๆแห่งลำปาง

🌿 พาเด็กไปเลี้ยงแกะ (สวนผึ้ง ราชบุรี)
หายใจเอาอากาศดีๆเข้าปอด ในอ้อมกอดแห่งพืดเขาตะนาวศรี ธารน้ำร้อน โป่งยุบ น้ำตก ไอติมกะทิมะพร้าวอ่อนแสนอร่อย ที่รัก จะนอนกลางดิน จะกินกลางดาว หรือจะขับถ่ายกลางสายธารก็แล้วแต่ ด้วยข้อมูลจากความรู้สึกอันเป็นการส่วนตัว "สวนผึ้ง" ย่อมไม่ได้มีแค่แกะให้เลี้ยง อย่างแน่นอน

🌿 ปั้นทรายโลก บูชาพระพิฆเนศ เมืองแปดริ้ว
จากตื่นตาตื่นใจ เป็นเลื่อมใสศรัทธาศิลปินผู้สร้างจากนั้นดูเหมือนว่าจะต้องมนต์สะกด ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น การแบ่งปั้นย่อมบังเกิด อลังการของปะติมากรรมทรายในรูปแบบต่างๆ ที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวได้อย่างน่าอัศจรรย์และเหมือนจริง

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆