ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม

ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ (Structural – Functional Theory)
ทฤษฎีการขัดแย้ง (Conflict Theory)
ทฤษฎีปริวรรตนิยม (Exchange Theory)
ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์ (Symbolic Interactionism)
ทฤษฎีปรากฎการณ์นิยม (Phenomenology)
สังคมวิทยากับการศึกษา (Sociology of Education)

ทฤษฎีปริวรรตนิยม

(Exchange Theory)

ความคิดพื้นฐานทางปรัชญา (Philosophical Base)

Utilitarianism อรรถประโยชน์นิยม ผ่านมาทางสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Functionalism การหน้าที่นิยม ผ่านมาทางสาขามานุษย์วิทยา
Voluntarism เจตจำนงนิยม สมัครใจนิยม ผ่านมาทางสาขาวิชาจิตวิทยา พฤติกรรม

สาระสำคัญ

  1. มนุษย์แต่ละคนมีความต้องการจำเป็น (Needs) หลายอย่างในการดำรงชีวิต
  2. มนุษย์ติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อสนองความต้องการจำเป็นของตน
  3. ในการแลกเปลี่ยนสิ่งของกัน แต่ละคนต้องการมูลค่าสูงสุดสำหรับสิ่งของของตน
  4. ความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนจะดำรงอยู่ตราบที่คู่สัมพันธ์คิดว่าตนได้กำไรหรือคิดว่าการแลกเปลี่ยนมีความยุติธรรม

 

นักทฤษฎีสำคัญ

B. Malinowski
G. Homans
M. Mauss
C. Levi-Strauss
P. Blau

ทฤษฎีปริวรรตนิยม นับว่าเป็นทฤษฎีใหญ่และเก่าแก่อีกทฤษฎีหนึ่งของสังคมวิทยา ที่เป็นทฤษฎีใหญ่ เพราะ สามารถนำเอาแนวคิดไปใช้ได้กับความสัมพันธ์ทางสังคมขนาดเล็กระดับระหว่างบุคคลไปจนกระทั่งระดับสังคม และมีผู้นิยมชมชอบยึดถือเป็นแนวการอธิบายทางพฤติกรรมและปรากฏการณ์ทางสังคมอยู่ไม่น้อย ที่ว่าเป็นทฤษฎีเก่าแก่เพราะสาารถสืบต้นตอของทฤษฎีนี้ไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 – 19 สมัยนักเศรษฐศาสตร์ยุคคลาสสิก เช่น Adam Smith, David Ricardo, John Stewart Mill, Jeremy Bentham นักเศรษฐศาสตร์ชาวยุโรป แต่มีฐานคติหรือความคิดทั่วไปเกี่ยวกับมนุษย์และความสัมพันธ์ทางสังคม โดยเฉพาะเมื่อมนุษย์อยู่ในตลาดเศรษฐกิจจะมีความคล้ายคลึงกันทำให้เรียกได้ว่า เขาเป็นนักอรรถประโยชน์นิยม (Utility Rianists)

สังกัปและฐานคติอรรถประโยชน์นิยมที่สำคัญ
ทฤษฎีปริวรรตนิยมในมานุษยวิทยา
ทฤษฎีปริวรรตนิยมในจิตวิทยาพฤติกรรมย์
ประเภทของทฤษฎีปริวรรตนิยม
ทฤษฎีปริวรรตนิยมของโฮมันส์ (Homans)
ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนรวมหมู่

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย