ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
สาเหตุของสงคราม
ชนวนระเบิดของสงครามโลกครั้งที่ 2
เหตุการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2
ผลของสงครามโลกครั้งที่สอง
สมรภูมิทางตะวันตก
สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก
สมรภูมิทางตะวันออก(เอเชีย)
รายละเอียดการรบครั้งสำคัญ ๆ ในเอเชียแปซิฟิก
สรุปภาพ สถานการณ์การรบในยุโรป
ไทย กับสงครามโลกครั้งที่ 2
ผลของสงครามโลกครั้งที่สอง
- มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ(UN : United
Nations)เพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ
ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกและให้กลุ่มสมาชิกร่วมมือช่วยเหลือกัน
และสนับสนุนสันติภาพของโลก รวมทั้งการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
ซึ่งนับว่ามีความเข้มแข็งกว่าเดิม
เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งและมีกองทหารของสหประชาชาติ
- ทำให้เกิดสงครามเย็น(Cold War)ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น
ประเทศสหภาพโซเวียต(USSR)
ปกครองโดยสมัยสตาร์ลินมีนโยบายขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ ยุโรปตะวันออก
และเยอรมนีตะวันออก
ซึ่งมีทหารรัสเซียเข้าปลดปล่อยดินแดนเหล่านี้จากอำนาจฮิตเลอร์ในสงครามโลกครั้งที่สอง
ขณะที่สหรัฐต้องการสกัดกั้นการขยายตัวดังกล่าว
และเผยแผ่การปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ
โดยเฉพาะดินแดนอาณานิคมที่ประกาศเอกราช เป็นประเทศใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
จนเกิดสภาวการณ์ที่เรียกว่า สงครามเย็น( Cold War )
- ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
มีการนำอาวุธที่ทันสมัยและระเบิดปรมาณูมาใช้ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าสงครามโลกครั้งที่
1
- การเกิดประเทศเอกราชใหม่ๆ
(ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกต่างประกาศเอกราชของตนเอง ทั่วโลก
โดยเฉพาะในเอเชีย และ แอฟริกา และบางประเทศถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่น เยอรมนี
เกาหลี เวียดนาม
- สภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
- ความสูญเสียทางด้านสังคมและทางจิตวิทยา
- เกิดมหาอำนาจของโลกใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งยืดเยื้อยาวนานเกือบ 6 ปียุติลง ลัทธิเผด็จการฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมัน และเผด็จการทหารในญี่ปุ่นก็ล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง ขณะเดียวกัน ตำแหน่งแห่งที่มหาอำนาจของโลกก็มีการปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในโลกเสรีหรือโลกประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาได้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นอภิมหาอำนาจเหนืออังกฤษและฝรั่งเศส มิใช่เพียงเพราะสหรัฐอเมริกามียุทโธปกรณ์ที่ทรงอานุภาพเท่านั้น แต่เพราะอังกฤษและฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำจากผลพวงของสงครามครั้งนี้อย่างมหาศาล จึงไม่อาจจรรโลงโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจเดิมเอาไว้ได้อีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาก็มิได้เป็นอภิมหาอำนาจเดี่ยวโดยปราศจากคู่แข่ง เพราะอีกขั้วหนึ่งสหภาพโซเวียต(USSR)ก็ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งมหาอำนาจในค่ายคอมมิวนิสต์ ทั้งยังเป็นแกนนำในการเผยแพร่อุดมการณ์การเมืองแบบสังคมนิยมออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
-
เกิดการแบ่งขั้วอย่างชัดเจนของสองมหาอำนาจจนนำไปสู่เกิดสงครามเย็นและการแบ่งกลุ่มประเทศระหว่างโลกเสรีประชาธิปไตยกับโลกคอมมิวนิสต์
สงครามโลกครั้งที่ 2
สิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายอุดมการณ์ฟาสซิสต์ทั้งในยุโรปและเอเซีย
และได้เกิดอุดมการณ์ใหม่ขึ้นเมื่อมีการเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐ
อเมริกาและสหภาพโซเวียต โลกถูกแบ่งแยกออกเป็นสองค่าย กล่าวคือ
สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำค่ายประชาธิปไตย
ส่วนสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำค่ายคอมมิวนิสต์
ต่างฝ่ายต่างพยายามนำเสนอระบบการเมืองที่ตนยึดมั่น เพื่อให้ประเทศอื่น ๆ
รับไปใช้เป็นแม่แบบการปกครอง
และพยายามแข่งขันกันเผยแพร่อุดมการณ์ทางลัทธิการเมืองของตนในกลุ่มประเทศที่เกิดใหม่หลังสงคราม
เงื่อนไขนี้เองจึงก่อให้เกิดการแข่งขัน ขัดแย้งทางอุดมการณ์การเมืองการปกครอง
และค่อย ๆ ลุกลาม รุนแรงจนอยู่ในสภาพที่เรียกว่า สงครามเย็น (Cold War)
- เกิดปัญหาเกี่ยวกับประเทศที่แพ้สงคราม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ได้เกิดปัญหาขึ้นในกลุ่มประเทศที่แพ้สงคราม เช่น
เยอรมนีถูกแบ่งแยกออกเป็นเยอรมนีตะวันตก ให้อยู่ในอารักขาของสัมพันธมิตร ได้แก่
สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ฝ่ายหนึ่ง
และเยอรมนีตะวันออกให้อยู่ในความอารักขาของสหภาพโซเวียต จนกระทั่ง ค.ศ. 1949
ฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้จัดให้มีการเลือกตั้งเสรีขึ้นในเยอรมนีตะวันตกและตั้งเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
ส่วนสหภาพโซเวียตก็ได้จัดตั้งรัฐสภาประชาชนขึ้นในเยอรมนีตะวันออกและปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์
จัดตั้งเป็นสาธารณะรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน ทำให้เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ
ซึ่งปัจจุบันได้ตกลงมารวมกันเป็นประเทศเยอรมนีนับแต่ปี 1990
เป็นต้นมานอกจากนี้ญี่ปุ่นที่ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร
ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้มีอำนาจเต็มแต่เพียงผู้เดียวในการวางนโยบายครองญี่ปุ่น
แต่ยังคงให้ญี่ปุ่นมีรัฐบาลและมีจักรพรรดิเป็นประมุขของประเทศ
สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนอุดมการณ์ของคนญี่ปุ่นให้หันมายอมรับฟังระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและสันติภาพ
ในช่วงที่เกิดสงครามเกาหลีสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยฟื้นฟูพัฒนาเศรษฐกิจญี่ปุ่น
และช่วยเหลือให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนเป็นประเทศอุตสาหกรรม
จนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน
- ตามข้อตกลงปอตสดัม ทำให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 4 เขต และถูกยึดครองจากกลุ่มประเทศที่แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส ฝ่ายหนึ่ง และสหภาพโซเวียต อีกฝ่ายหนึ่ง
- ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ของสหภาพโซเวียตกับสหรัฐฯ ส่งผลให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เยอรมันตะวันตก และเยอรมันตะวันออก - สหรัฐฯได้เข้าปกครองญี่ปุ่นเป็นเวลานานถึง 6 ปี
โดยเข้าร่วมฝ่ายพันธมิตรหลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม
ค.ศ. 1941 ในแถลงการณ์ของสหประชาชาติ เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 มีประเทศต่างๆ
เข้าร่วมฝ่ายพันธมิตรอย่างเป็นทางการจำนวน 26 ประเทศ
(แถลงการณ์นี้เป็นพื้นฐานของการก่อตั้งสหประชาชาติในภายหลัง)
- ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมได้รับเอกราช
บรรดาดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตกและญี่ปุ่นต่างก็ทยอยกันได้รับเอกราชและแสวงหาลัทธิการเมืองของตนเอง
ทั้งในเอเชีย และ แอฟริกา เช่น ยุโรปตะวันออกอยู่ในค่ายคอมมิวนิสต์
ยุโรปตะวันตกเป็นกลุ่มประชาธิปไตย
ส่วนในเอเชียนั้นจีนและเวียดนามอยู่ในค่ายคอมมิวนิสต์
แต่การได้รับเอกราชของชาติต่าง ๆ ได้ก่อให้เกิดปัญหามากมาย เช่น
เกาหลีภายหลังได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกแบ่งเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ และได้ทำสงครามระหว่างกัน ค.ศ. 1950 1953 โดยเกาหลีเหนือซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์เป็นผู้รุกรานเกาหลีใต้ องค์การสหประชาชาติได้ส่งทหารสัมพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกาเข้าปกป้องเกาหลีใต้ไว้ได้ จนต่อมาได้มีการลงนามในสัญญาสงบศึกที่หมู่บ้านปันมุนจอมในเขตเกาหลีเหนือ ปัจจุบันเกาหลีเหนือใต้มีแนวโน้มที่จะรวมกันเป็นประเทศเดียวในอนาคต
เวียดนามต้องทำสงครามเพื่อกู้อิสรภาพของตนจากฝรั่งเศส และถึงแม้จะชนะฝรั่งเศสในการรบที่เดียนเบียนฟูใน ค.ศ. 1954 แต่เวียดนามก็ถูกแบ่งออกเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ทั้งสองประเทศได้ต่อสู้กันเพราะความขัดแย้งในอุดมการณ์ที่แตกต่างกันระหว่างคอมมิวนิสต์กับเสรีประชาธิปไตย ในที่สุดเมื่อสหรัฐอเมริกาผู้สนับสนุนเวียดนามใต้ยุติการให้ความช่วยเหลือและถอนทหารกลับประเทศ เวียดนามก็รวมประเทศได้สำเร็จใน ค.ศ. 1975 ในเวลาเดียวกันลาวและกัมพูชาซึ่งปกครองโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองของเวียดนาม แต่สามารถจัดตั้งรัฐบาลของตนเองได้ในเวลาต่อมา