ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

เทศกาลของอินเดีย

เทศกาล โฮลี่ (Holi)
เทศกาล นวราตรี (Navarati)
เทศกาล Diwali ,dipawali
เทศกาล ปาคี (Palkhi)
เทศกาล โอนัม (Onam)
เทศกาล รักคี (Rakee, ruksha)
เทศกาล พระคเณศวร ( Ganpati festival)
เทศกาล ไหว้พระที่พุทธคยา
เทศกาล ปงกอล (Pongal festival)

เทศกาล ปาคี (Palkhi)

ปาคี (Palkhi) เป็นชื่อเรียกในท้องถิ่น หมายถึง ขบวนแห่เกี้ยวเงินอันงดงาม ภายในเกี้ยวประดิษฐานรอยเท้าทำด้วยเงิน หรือ paduka ของ Tukaram และ Dnyaneshwar ซึ่งดำเนินการโดย พวก “warkaris” หมายถึง บุคคลที่ปฏิบัติตามแนวทางของ “wari” อันแสดงถึงวัฒนธรรมอันโดดเด่นของรัฐมหาราษฎร์ เทศกาลปาคี (Palkhi Festival) นี้จัดขึ้นประจำทุกปีในเดือน Ashadh (มิถุนายน-กรกฎาคม) และเดือน Karthik (เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) ซึ่งใช้เวลาเฉลิมฉลองทั้งหมดรวม 22 วัน ที่พิเศษอย่างยิ่งคือ เทศกาลนี้มีขึ้นเฉพาะแต่ในรัฐมหาราษฎร์เท่านั้น และดำเนินต่อเนื่องยาวนานไม่ขาดตอนกว่า 1000 ปี

ความเป็นมาของเทศกาลปาตี เริ่มขึ้นในปี 1685 โดย Narayan Baba ตัดสินใจที่จะทำการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมประเพณีของชาว dindi-wari โดยการริเริ่ม ปาคีขึ้น เป็นสัญญาณของการเคารพทางสังคม เขาได้นำรอยเท้าที่ทำด้วยเงิน (silver padukas) ของ Tukaram และรอยเท้าเงินของ Dnyaneshwar มาประดิษฐานไว้ในปาคีร่วมกัน หรือที่เรียกว่า ประเพณีปาคีคู่ (twin Palkhis) ประเพณีดังกล่าวนี้ดำเนินไปทุกปี แต่ในปี 1830 มีกรณีพิพาทภายในตระกูล Tukaram ทำให้มีการยกเลิกประเพณีปาคีคู่ และจัดแยกเป็น 2 ปาคี ได้แก่ Tukaram Palkhi จากหมู่บ้าน Dehu และ Dnyaneshwar Palkhi จากหมู่บ้าน Alandi

ความต่อเนื่องยาวนานตามกาลเวลาของประเพณีเก่าแก่นี้แผ่ขยายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง จำนวนรวมของผู้ศรัทธาที่ดำเนินรอยตาม Sant Tukaram Palkhi จากหมู่บ้าน Dehu มีจำนวนถึง 1.5 แสนคน และผู้ศรัทธาที่ดำเนินรอยตาม Sant Dnyaneshwar Palkhi มีจำนวนถึง 2.25 แสนคน ปาคีจากทั้งสองหมู่บ้านได้มาพบกันที่เมืองปูเณ่ และหยุดพักร่วมกันชั่วคราว และจากนั้นก็แยกจากกันที่ Hadapsar เพื่อไปพบกันอีกทีที่ Wakhri หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้เมือง Pandharpur ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของขบวนพิธีนั้นเอง

ผู้แสวงบุญวาร์คาริสนับแสนที่มาร่วมชุมนุมกัน ส่วนใหญ่มาจากชุมชนชาวนาในชนบท วาริ (wari) เป็นสัญลักษณ์ของศรัทธาในพระเจ้าที่ไม่สั่นคลอน เนื่องมาจากการต้องเผชิญกับความทุกข์ยาก และความปรารถนาที่จะพ้นบาป แม้ว่าพวกเขาเหล่านี้จะมีชีวิตที่ยากจนขัดสน แต่เต็มตื้นไปด้วยจิตวิญญาณและศรัทธาอันยิ่งใหญ่ในพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งทำให้พวกเขาแข็งแกร่งและทนทานกับความยากลำบากในชีวิตได้ ดังนั้นผู้คนจำนวนมากในรัฐมหาราษฎร์ จึงพร้อมใจเดินทางมาร่วมกัน โดยการเดินเท้าไปยังเมืองศักดิ์สิทธิ์ ปัลดาปุระ (Pandharpur) การเดินทางอันยากลำบากในช่วงฤดูฝน อาจนับได้ว่าเป็นการทดสอบความทนทานของร่างกายและจิตใจที่มั่นคงในศาสนาของพวกเขา

ผู้ศรัทธาที่เข้าร่วมในพิธี ถ้าเป็นชายจะแต่งกายด้วยชุดขาว แต่หญิงใส่ชุดสาลีสีสันสวยงามแบกเครื่องสักการะหรือสัมภาระต่างๆไว้บนศีรษะ เดินเท้าไปตามทางถนนใหญ่ บ้างที่มากันเป็นกลุ่มมักมีธงสีแสดอันเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลนี้นำหน้าขบวน บ้างแบกหม้อทองเหลืองที่มีหน่ออ่อนของต้นไม้ Tulsi ร่วมในขบวนด้วย ผู้ร่วมขบวนต่างร้องเพลง เต้นรำ ท่องบทสวด ผสมผสานกับจังหวะดนตรี อันมีฉิ่งฉาบ และกลองเป็นหลัก แห่แหนไปตามถนนใหญ่ เป็นการสร้างสีสัน ความครึกครื้น และจุดสนใจได้เป็นอย่างดี ระหว่างทาง พวกเขาจะแวะพักเหนื่อย หรือทำอาหารกินเองชั่วคราวตามรายทาง และพักค้างแรมที่วัด หรือพักแรมในที่ต่างๆ ระหว่างทาง ก่อนเดินทางต่อไปจนถึงจุดหมายปลายทางดังกล่าว

Date- June-mostly 22 days
Opportunities for Thai Products: instant noodle, ready to eat vegetarian meal, back packs,
Place: Maharashtra

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย