สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้  >>

โรคไข้กระต่าย

(Rabit fever)

        Francisella tularensis คือ แบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นอาวุธทางชีวภาพสร้างความหวาดกลัว ต่อวงการแพทย์ในโลกปัจจุบัน เพียงแค่จำนวนแค่ 10 เซลล์เท่านั้น ก็ทำให้การพัฒนาขึ้นของโรคในคนได้เช่นเดียวกัน

ในปัจจุบัน มีการวิจัยและค้นคว้าเกี่ยวกับงานทางด้าน หาลำดับเบส ทั้งหมดของ Francisella tularensis Genome เพื่อพัฒนาวัคซีนอย่างเร่งด่วนและนำมาใช้ได้โดยทำการศึกษาโดยใช้เซลล์แมลงชนิดหนึ่งที่ตายแล้วในการพัฒนาสร้างวัคซีนป้องกันและรักษา

F.tularensis คือกลุ่มบาซิลลัสแบคทีเรีย แกรมลบสามารถใช้ออกซิเจนดำรงชีพ ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ แบ่ง F. tularensis ตาม Serotypesได้ 2 ชนิด คือ

  • F. tularensis Type A
  • F. tularensis Type B

F. tularensis Type A คือ รูปแบบ หรือ ชนิดที่เป็นอันตราย และก่อให้เกิดโรคมากกว่า Type B. เชื้อดังกล่าวของโรคถูกตั้งชื่อหลังจากดร.เอ็ดเวิร์ดฟรานซิส ค้นพบได้เป็นคนแรก ใน แคลิฟอร์เนีย. อย่างไรก็ตาม เชื้อดังกล่าว ทำให้เกิด โรค Tularemia ซึ่ง มีสาเหตุจากการแพร่กระจายของสัตว์ที่ใช้ฟันแทะ และ สัตว์ประเภทที่มีเท้าเป็นข้อ เป็นหลัก

โรค Tularemia ทำให้เกิดในรูปแบบทางการแพทย์ ที่แตกต่างกัน 6 ชนิด : typhoidal, pneumonic, oculoglandular, oropharyngeal, ulceroglandular, และ glandular. ทีมระหว่างประเทศที่รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์จากกระทรวงกลาโหมของอังกฤษ (UK) รายงานการค้นคว้าวิจัยพวกเขาในวารสาร Nature Genetics

ศาสตราจารย์ Richard Titball ประจำของห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Defence Science and Technology laboratory ,DSTL) ของอังกฤษ ที่ Porton กล่าวว่า ” แบคทีเรีย Francisella tularensis เป็นเชื้อโรคที่ผมคิดว่า สามารถติดต่อก่อให้เกิดโรคได้มากกว่าเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคเท่าที่ผมรู้จักทีเดียว”

“ถึงแม้ว่าผู้คนที่ได้รับเชื้อดังกล่าว จะไม่เสียชีวิต ทันที แต่ จะก่อให้ ผู้ได้รับเชื้อ ป่วยมีอาการของโรคเรื้อรังในติดต่อกันหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนมันเป็นโรคที่ทำคุณป่วยจริงๆ” ศาสตราจารย์ Richard Titball กล่าวเสริม ในข่าว BCC บน เวบไซด์

โรคดังกล่าวมีชื่อทางการแพทย์ว่า “ Tularemia” หรือ โรคไข้กระต่าย “RABIT FEVER”' เป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีพาหะนำโรคจากแมลง

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารชีวภาพ ให้ความสำคัญและจัดเป็น อยู่ในบัญชี จุลลินทรีย์ ที่ต้องเฝ้าระวัง ติดตาม และถือมีความเป็นไปได้อย่างสูง ผู้ไม่หวังดี จะนำ แบคทีเรีย Francisella tularensis ดังกล่าวนำมาพัฒนาสร้างเป็นอาวุธเชื้อโรคได้ หรือ นำมาก่อการร้าย หรือใช้เป็นอาวุธเชื้อโรคนั่นเอง

สาเหตุโดยธรรมชาติของ โรค “ tularemia” เกิดจากพวก เห็บ หรือ หมัด ยูง เป็นพาหะ นำโรค หรือ การละอองหายใจที่มีเชื้ออยู่ใน อากาศ เกิดขึ้นและมีการแพร่ผ่านไปสู่ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรปและ เอเชีย.

ในปี คศ. 2000 เคยมีการรายงานเกี่ยวกับการระบาดและ ติดเชื้อของผู้ป่วย 2 ท่าน ใน มาร์ธาส์ไวน์ยาร์ด (Marha’s Vineyard) ที่ อเมริกา เจ้าหน้าที่บางคนคิดว่า สาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวน่าถูกส่งทางอากาศและมาจาก ซากกระต่ายในขณะเดียวที่ผู้ที่ได้รับเชื้อกำลังตัดหญ้า ที่สนามหญ้าแห่งหนึ่ง

องค์การอนามัยโลกประเมินการว่า สมมุติถ้ามี เชื้อ F.tularensis ที่ปนอยู่ในอากาศ ประมาณ 50 กิโลกรัม ซึ่งมีการปนเปื้อนในบริเวณเมือง ที่มีผู้ประชากร อาศัยอยู่ 5 ล้านคน ความเป็นไปได้ เชื้อดังกล่าว จะทำประชาชนที่อยู่ในบริเวณนั้น ตาย ถึง19,000 คน ที่เดียว และยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนบริเวณดังกล่าว จำนวนมากกว่า 250,000 คน อาจทำให้เกิด ทุพพลภาพหรือความเสียหายต่อสุภาพได้อย่างมาก

“แม้ว่า ผู้คนที่ได้รับเชื้อและป่วยจะไม่ตาย ทันที แต่ จะป่วยเรื้อรังติดต่อกันหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน. นี่คือโรคร้ายที่ทำให้คุณป่วยจริงๆ" ศาสตราจารย์ Richard Titball กล่าว ในเว็บไซต์ข่าวบีบีซี

ความหวังอย่างยิ่ง เกี่ยวกับ การหาลำดับเบสทั้งหมดของเชื้อ F.tularensis ให้เสร็จสิ้น ซึ่งต้องใช้เวลา ถีง 5ปี เพื่อใช้เป็นโปรแกรม ในการต่อสู้ กับ เชื้อ F.tularensis และใช้พัฒนาของวัคซีนใหม่ๆในการป้องกันและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ตรวจรักษา นักวิจัยจากอังกฤษ อเมริกาและสวีเดน กล่าวว่า ตอนนี้พวกเขาทราบที่จะเลือกเป้าหมายของโปรตีนที่จะประยุกต์และพัฒนาเพื่อสร้างวัคซีน โดยมีความคิดที่เกี่ยวข้องในกลุ่มของยีนที่ผิดปกติที่ก่อให้เกิดเจ็บป่วยดังกล่าว น่าประหลาดใจยีนเหล่านี้ไม่เคยถูกเห็นแม้แต่ครั้งเดียวในสิ่งมีชีวิตอื่นๆเลย .

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังคงไม่ทราบ ว่า เชื้อ F.tularensis มีกลไกลและที่เข้าทำงานโดยเข้ามาอาศัยใน ร่างกาย (host) ได้อย่างไร. ตามความสอดคล้องกับศาสตราจารย์ Richard Titball ตั่งแต่บัดนี้เป็นต้นไปพวกเราน่าจะเสนอจุลชีพดังกล่าวว่าเป็นจุลชีพที่ยังไม่มีสาเหตุการทำงานอย่างชัดเจน

ชาวญี่ปุ่นคือที่ชาติหนึ่ง ที่เคยใช้เชื้อ F.tularensis ศึกษาในด้านการใช้ เป็นเชื้อ F.tularensis ทำสงครามเชื้อโรคในโปรแกรมในช่วงปีคศ1932ถึง1945

นาย Ken Alibek อดีตนักวิทยาศาสตร์โซเวียต เคยเสนอ (Red army )กองทัพแดง ให้ไตร่ตรองก่อนอย่างยิ่งที่จะนำมา “tularemia” หรือ สงครามเชื้อโรค มาใช้ต่อต้านกองทัพเยอรมัน ยุโรปตะวันออก ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่2

 

ลักษณะของเชื้อ Francisella tularensis

เป็นแบคทีเรียรูปแท่งแกรมลบ ขนาดเล็กประมาณ 0.2 x 3.3-0.7 ไมโครเมตรรูปร่างเปลี่ยนแปลงได้ ไม่เคลื่อนที่ ไม่สร้างสปอร์ มีแคปซูล เป็นแอร์โรบ เจริญได้ดีในอุณหภูมิ 370C บนอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีน้ำตาลกลูโคส และซีสเตอีน รวมทั้งมีเลือด หรือตัวอ่อนของไก่ หรือเจริญโดยเพาะเนื้อเยื่อ ปกติเป็นสาเหตุก่อโรคในสัตว์ แต่อาจติดต่อมาถึงคนได้โดยหมัด เห็บ หรือยุง ที่กัดสัตว์ที่มีเชื้อแล้วมากัดคน โรคที่เกิดจากแบคทีเรียชนิดนี้ เรียกว่า “ทูลารีเมีย” (Tularemia)

โรคทูลารีเมีย (Tularemia)

ลักษณะของโรค
โรคทูลารีเมีย หรือโรคไข้กระต่าย (Rabbit Fever) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์ถึงคน ที่มีอันตรายสูงโรคหนึ่งเนื่องจากสามารถติดต่อทางละอองฝอย (Aerosol) ได้ และสามารถใช้เป็นอาวุธชีวภาพที่จัดอยู่ในกลุ่ม A ประเทศ สหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2545 จนถึงขณะนี้ พบว่ามีรายงานผู้ป่วยมากกว่า 200 ราย

เชื้อก่อโรค
โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Francisella tularensis มีลักษณะเป็นค็อกโคบาซิลไล ไม่เคลื่อนที่ ไม่สร้างสปอร์ มีแคปซูล แบคทีเรียนี้มี 2 types โดย Type A มีความรุนแรงที่สุด

ระบาดวิทยา
โรคนี้เกิดในสหภาพโซเวียต เอเซียไมเนอร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรป ยกเว้นคาบสมุทรไอเบอเรียน (Iberian Peninsula) และเกาะอังกฤษ

สัตว์รังโรค และแมลงนำโรค
สัตว์รังโรคอยู่ในสัตว์ป่าที่เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 100 ชนิด รวมทั้ง สัตว์ฟันแทะ เช่น กระต่าย หนู กระรอก กวาง แพรีด๊อก (Parrie dog) และสามารถติดต่อมายังสัตว์เลี้ยงจำพวกวัว ควาย แกะ และแมว ได้ โดยมีเหลือบ เห็บ หมัด หรือยุง เป็นแมลงนำโรค

วิธีการติดต่อ
โรคนี้ติดต่อมายังคนโดยถูกแมลงพาหะที่กัดเลือดสัตว์ที่ติดเชื้อนี้กัด หรือติดโดยสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่ง (Secretion) ของสัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ เข้าทางบาดแผล เยือเมือก หรือรอยถลอก ขีดข่วน หรือถูกสัตว์ป่วยกัดโดยตรง การหายใจ หรือกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรคปนได้เชื้อก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้ หรืออาจเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์ที่เป็นโรคซึ่งต้มไม่สุกพอ แต่ ไม่มีรายงานการติดต่อระหว่างคนสู่คน ระยะฟักตัวของโรค 1-14 วัน แต่ทั่วๆ ไป 3-5 วัน

อาการในคน
ลักษณะของโรคทูลารีเมีย ในคนมี 2 รูปแบบขึ้นอยู่ช่องทางที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย คือทางผิวหนัง และทางการหายใจ หากเชื้อเข้าทางผิวหนังจะเกิดบาดแผล ต่อมน้ำเหลืองบวมโตตรงที่รับเชื้อหากเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจผู้ติดเชื้อจะเป็นไข้แบบไทฟอยด์ (typhoidal tularemia) คือมีไข้ หนาวสั่น โลหิตเป็นพิษ ปวดศีรษะ ท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ไอแห้งๆ และอ่อนเพลีย หากผู้ป่วยมีอาการปอดบวมร่วมด้วยจะเจ็บหน้าอก มีเสมหะเป็นเลือด อึดอัด หายใจไม่สะดวก จนอาจหยุดหายใจ ลักษณะปอดบวมจากการตรวจทางรังสีทรวงอก อัตราตายของโรคแบบไข้ประมาณร้อยละ 35

การรักษา
รักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกสเตร็พโตไมซิน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อในปริมาณ 30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรืออาจใช้ยาเจนตาไมซิน ปริมาณ 3-5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ติดต่อกัน 10-14 วัน ยาเตตระไซคลีน และครอแรมเฟนิคอลก็ใช้ได้ผลเช่นเดียวกัน แต่ผู้ติดเชื้อมักมีอาการไข้กลับค่อนข้างสูง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย