ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

มนุษย์กับการใช้เหตุผล

ความหมายและความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์
มนุษย์คือใคร: ทัศนะด้านศาสนา
มนุษย์ในทัศนะของศาสนาอินดู
มนุษย์ในทัศนะของศาสนาพุทธ
มนุษย์ในทัศนะของศาสนาคริสต์และอิสลาม
มนุษย์ในทัศนะของศาสนาขงจื้อ
มนุษย์คือใคร : ทัศนะด้านปรัชญา
มนุษย์คือใคร : ทัศนะด้านวิทยาศาสตร์
มนุษย์คือใคร : ทัศนะด้านสังคมศาสตร์
ความหมายของการใช้เหตุผล
สมองกับพัฒนาการการใช้เหตุผลของมนุษย์
สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา
ความเป็นมาและรูปแบบของการใช้เหตุผล
ความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เหตุผล
การคิดและการใช้เหตุผลของตะวันตกและตะวันออก

สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา

โรเจอร์ สเปอร์รี่ (Sperry. R.W. (1982 ), 217, 1223-1226.อ้างใน เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์,2545:11)

ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา (neurobiologist) เจ้าของรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1981 ได้ศึกษาระบบและโครงสร้างการทำงานของสมอง โดยทำการทดลองกับคนไข้ที่แกนเชื่อม สมองสองซีก (corpus collosum) ได้รับบาดเจ็บภายหลังการผ่าตัดปรากฏว่าสมองทั้งสองซีกเรียนรู้และแยกกันอย่างเป็นเอกเทศ ทำให้เขาค้นพบความแตกต่างในการทำงานระหว่างสมองซีกซ้ายและสมองซีกขาว

หน้าที่สมองซีกซ้าย สมองซีกซ้ายทำหน้าที่ในเรื่องของการใช้ภาษา การเขียน การอ่าน ทักษะด้านตัวเลข การใช้เหตุผล การควบคุม การพูด ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ การควบคุมการทำงานของมือขวา เราอาจเรียกการทำงานของสมองซีกนี้ได้ว่าเป็น “ส่วนของการตัดสิน”

หน้าที่สมองซีกขวา สมองซีกขวาทำหน้าที่ในเรื่องของความเข้าใจการเห็นภาพสามมิติ ความรู้สึกดื่มด่ำต่อศิลปะ ความมีสุนทรียะด้านดนตรี เพลง และการใช้จินตนาการในการดำเนินชีวิต รวมทั้งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของมือซ้ายเราอาจเรียกสมองส่วนนี้ว่า “ส่วนของการสร้างสรรค์”

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ สมองส่วนที่เรียกว่า อาร์คอมเพล็กซ์/อาร์เบรน (R-complex/R-brian) ก็คือส่วนที่เป็นก้านสมอง (Brain stem) ที่อยู่ชั้นในสุด ถัดออกมาเป็นส่วนสมองระบบลิมบิค (Limbic system) ที่เป็นที่ตั้งของจิตตารมณ์ (ความรู้สึกนึกคิด) พื้นฐานเช่นอารมณ์ของการปกป้องดูแลลูกและผู้เยาว์ ความห่วงใยคู่ผัวตัวเมียระหว่างกัน ความอดทนและความภักดี เป็นต้น ส่วนสมองชั้นนอกที่เรียกว่าชั้นคอร์เท็กซ์ใหม่ (Neocortex) ที่เจริญมากในสัตว์ชั้นสูงและมากที่สุดจนไม่สามารถวิวัฒนาการได้มากกว่านี้อีกแล้วสำหรับคอร์เท็กซ์ของมนุษย์นั้น ยังแบ่งเป็นซีกซ้ายที่เป็นเรื่องของความเป็นเพศชาย (patriachal) เรื่องของข้อมูลความจำและเหตุผล เรื่องของตัวเลขและวิทยาศาสตร์ ส่วนซีกขาวเป็นเรื่องเพศแม่ (matriachal) ความรักเมตตาและความละเมียดละมัย ศิลปะและความปราณีต ทั้งหมดนี้รวมกันเป็นจิตแห่งความสำนึกรับรู้ที่เรียกว่า “จิตวิญญาณ” (consciousness) (นพ.ประสาน ต่างใจ, 2543: 44.)



การค้นพบหน้าที่ที่แตกต่างกันของสมองทั้งสองส่วน ช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากสมองได้มากขึ้น แต่ปรากฏว่าเกิดความเข้าใจผิด เมื่อการค้นพบดังกล่าวของสเปอร์รี่ได้รับการเผยแพร่ออกไป มีการสรุปความอย่างผิดๆ โดยตีความไปว่าสมองทั้งสองซีกนี้แยกบทบาทหน้าที่กันอย่างเป็นเอกเทสในคนปกติด้วย เช่น ขณะที่นักเขียนเขียนนวนิยาย สมองซีกซ้ายจะทำงานหนักมาก ขณะที่สมองซีกขวานั้นอยู่เฉยๆ หรือในขณะที่จิตรกรวาดภาพ สมองซีกขวาจะทำงานหนักขณะที่สมองซีกซ้ายนั้นอยู่เฉยๆ ความเข้าใจผิดนี้นำไปสู่ข้อเขียนเกี่ยวกับการพัฒนาสมองบางด้าน เช่น พัฒนาสมองซีกขวาสำหรับคนที่ขาดความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาสมองซีกซ้ายสำหรับคนที่ใช้เหตุผลได้ไม่ดี เป็นต้น ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วการทำงานของสมองมีความซับซ้อนมาก และสมองทั้งสองซีกทำงานเชื่อมโยงกัน อย่างเป็นเอกภาพไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดอยู่ก็ตาม ( Levy, J.,1985:38-39, 42-44. อ้างใน เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2545: 11-12)

แทบทุกกิจกรรมทางการคิด สมองทั้งสองซีกจะคิดสลับกันไปมาระหว่างสมองซีกซ้ายกับสมองซีกขวา (Hellige, J.B,1990: 41. อ้างใน เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2545: 12) ดังนั้น ในการพัฒนาทักษะการคิดจำเป็นต้องพัฒนาทั้งในด้านของการใช้เหตุผลและการสร้างสรรค์ไปพร้อมๆ กัน ไม่สามารถแยกพัฒนาทักษะแต่ละด้านได้ การทำหน้าที่ของสมองสามารถแยกให้เห็นอย่างชัดเจนตามตาราง ดังนี้

ดังนั้น แม้ว่าจาการจำแนกจะเห็นว่า สมองส่วนบนซีกซ้ายและขวาจะมีลักษณะที่ตรงกันข้ามกัน แต่ความจริงแล้วมันเสริมกันเพื่อให้ความคิดของเราสมบูรณ์มากขึ้น แทนที่จะใช้ความความคิดหนักไปทางด้านใดด้านหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้น การคิดด้วยสมองซีกขวา จึงเป็นการคิดในแบบที่มาเสริมหรือช่วย (สมองซีกซ้าย)ให้คิดได้มากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย