สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์
แหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นศาสนาดั้งเดิมของชนเผ่าอารยัน
มีความเชื่อเรื่องพระเจ้าหลายองค์โดยเฉพาะ ตรีมูรติ (พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ)
ต่อมาวิวัฒนาการเป็นศาสนาฮินดู เทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์
- เทพเจ้าสูงสุด คือ พระปรมาตมัน
- ความเชื่อเกี่ยวกับตรีมูรติ คือ พระพรหม คือ ผู้สร้าง พระวิษณุ(พระนารายณ์) คือ ผู้คุ้มครอง และพระอิศวร (พระศิวะ) คือ ผู้ทำลาย
- คัมภีร์พระเวท มีอยู่ 3 คัมภีร์ ถือว่าเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
ต่อมาเพิ่มอาถรรพเวทเข้าไป ได้แก่ ฤคเวท
(บทสวดสรรเสริญเทพเจ้า) , ยชุรเวท(คู่มือพราหมณ์ในการ ทำพิธีบูชายัญ) , สามเวท (ใช้สวดขับกล่อมเทพเจ้า) และอาถรรพเวท (เป็นมนต์คาถาทางไสยศาสตร์)
ศาสนาฮินดู
ความเชื่อศาสนาฮินดูที่แตกต่างไปจากศาสนาพราหมณ์ ได้แก่
- เชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอนันตะ คือเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุดจนกว่าจะหลุดพ้นโมกษะ
- ให้คนที่เกิดในตระกูลพราหมณ์ กษัตริย์ ไวศยะ ปฏิบัติตามหลักอาศรม 4 อย่างเคร่งครัด
- สันติสุขจะเกิดขึ้นได้ต้องมีพราหมณ์ คัมภีร์พระเวท วรรณะ 4 ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณไวศยะ(แพทย์) และวรรณะศูทร
นิกายในศาสนาฮินดู
1. นิกายพรหม นับถือพระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด
2. นิกายไวษณพ (ลัทธิอวตาร) นับถือพระวิษณุ
3. นิกายไศวะ นับถือพระศิวะ มีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์
4. นิกายศากติ
นับถือเทพเจ้าที่เป็นสตรี
หลักธรรมของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
1. หลักธรรม 10 ประการ
1. ธฤติ คือ ความพอใจ
2. กษมา คือ ความอดทน
3. ทมะ คือ ความข่มใจ
4. อัสเตยะ คือ การไม่กระทำเยี่ยงโจร
5. เศาจะ
คือ ความบริสุทธิ์
6. อินทรียนิครหะ คือ การสำรวมอินทรีย์(ร่างกาย)
7. ธี คือ ความรู้ (ปัญญา)
8. วิทยา คือ ความรู้ (ปรัชญา)
9. สัตยะ คือ ความซื่อสัตย์
10. อโกธะ คือ ความไม่โกรธ
2. หลักอาศรม 4
1. พรหมจารี คือ เป็นวัยศึกษาเล่าเรียน
2. คฤหัสถ์ คือ เป็นวัยครองเรือน
3. วานปรัสถ์ คือ เป็นวัยออกไปอยู่ป่า
4. สันยาสี คือ
เป็นวัยสุดท้ายของชีวิต ออกบวชเป็นสันยาสี บำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้น
3. หลักปรมาตมัน และโมกษะ
- หลักปรมาตมัน มีความเชื่อว่า ปรมาตมัน หมายถึง พลังธรรมชาติ เป็นอมตะไม่มีเบื้องต้นและสิ้นสุด ส่วนวิญญาณ ย่อยเรียกว่า อาตมัน สามารถไปรวมกับปรมาตมันได้เมื่อบรรลุโมกษะ
- หลักโมกษะ เป็นหลักปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งชีวิต ด้วยการนำอาตมันของตนเข้าสู่ปรมาตมัน
4. หลักปรัชญาภควัทคีตา ได้แก่
1. กรรมโยคะ
การทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน
2. ชยานโยคะ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญหา ความรู้แจ้ง
3. ภักติโยคะ ความรัก
ความภักดีอุทิศตนต่อพระเจ้าเพื่อนำไปสู่การหลุดพ้น
5. หลักทรรศนะหก ได้แก่
1. สางขยะ ทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต
2. โยคะ ทรรศนะเกี่ยวกับการปฏิบัติโดยสำรวมอินทรีย์ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์
3. นยายะ ทรรศนะเกี่ยวกับความรู้
4. ไวเศษิกะ
ทรรศนะเกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่จริงชั่วนิรันดร 9 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ
กาละเทศะ อาตมัน มนะ
5. มางสา ทรรศนะเกี่ยวกับปรัชญาน่าเชื่อถือ
6. เวทานตะ
ทรรศนะเกี่ยวกับอุปนิษัท (อุปนิษัท คือ คัมภีร์ในส่วนสุดท้ายของพระเวท
เป็นคัมภีร์ที่เป็นหลัก ปรัชญาลึกซึ้ง)
พิธีกรรมที่สำคัญของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
1. พิธีศราทธ์ คือ พิธีทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
2. พิธีประจำบ้าน ได้แก่
- พิธีอุปนยัน คือ พิธีเริ่มการศึกษา ถ้าเป็นหญิงยกเว้น
- พิธีวิวาหะ คือ พิธีแต่งงาน
3. ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพทศย์ ศูทร
แต่ละวรรณะมีการดำเนินชีวิตที่ต่างกันจึงต้องปฏิบัติตามวรรณะของตน เช่น การแต่งงาน
การแต่งกาย เป็นต้น
4. พิธีบูชาเทพเจ้า แต่ละวรรณะจะมีการปฏิบัติต่างกันในเทศกาลต่าง ๆ เช่น
งานศิวะราตรี(พิธีลอยบาป) งานบูชาเจ้าแม่ลักษมี (เทวีแห่งสมบัติและความงาม) เป็นต้น
วัฒนธรรม
โครงสร้างสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
สถาบันทางสังคม
สังคมไทย
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ปัญหาสังคมไทย
หลักธรรมของศาสนาต่าง ๆ ของโลก
ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาพุทธ
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
รัฐและการจัดระเบียบปกครองภายในรัฐ
ระบบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ของรัฐบาลกับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กระบวนการยุติธรรมของไทย
กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน