ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ศึกษาความหมายและความเป็นมาของวิชาปรัชญา

ระบบปรัชญา

(Systems of Philosophy)

ปรัชญามี 2 ลักษณะคือ

  1. ปรัชญาที่ไม่เป็นระบบ ได้แก่ ความคิดของนักคิดคนใดคนหนึ่งเกี่ยวกับปรัชญาสาขาใดสาขาหนึ่ง เกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์เริ่มมีความสงสัยในสิ่งแวดล้อม หรือในธรรมชาติ
  2. ปรัชญาที่เป็นระบบ ได้แก่แนวความคิดที่จะต้องประกอบด้วยพื้นฐานปรัชญา และตัวปรัชญา คือจะต้องประกอบด้วยญาณวิทยาและอภิปรัชญาเป็นอย่างน้อย อาจจะมีความคิดเกี่ยวกับ จริยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ด้วยก็ได้

ปรัชญาที่เป็นระบบนี้ ทางตะวันตก เริ่มต้นตั้งแต่สมัยของธาเลส เป็นต้นมา เพราะถือว่าในระยะนั้นได้มีการก่อตั้งสำนักต่าง ๆ ขึ้นสั่งสอนปรัชญา โดยแบ่งเป็นแนวคิดทางอภิปรัชญาและญาณวิทยาอย่างเด่นชัด ทางตะวันออก เริ่มต้นตั้งแต่สมัยพระเวทของอินเดียโบราณ เป็นต้นมา

นอกจากนี้แล้ว ปรัชญาที่เป็นระบบ ยังแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

  • ปรัชญาบริสุทธิ์ ได้แก่ปรัชญาที่ว่าด้วยทฤษฎีหรือแนวความคิดล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับการนำไปประยุกต์ใช้ หรือการนำไปปฏิบัติ มี 2 สาขาคือ อภิปรัชญาและญาณวิทยา
  • ปรัชญาประยุกต์ ได้แก่ปรัชญาที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน เช่น จริยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ ปรัชญาสังคม ปรัชญาประยุกต์ ปรัชญาการเมือง ปรัชญาการศึกษา เป็นต้น แต่การนำปรัชญาไปประยุกต์ใช้นั้นจะต้องประกอบด้วยอภิปรัชญา เพราะอภิปรัชญาเป็นหลักใหญ่ของระบบปรัชญา

เนื่องจากอภิปรัชญาเป็นหลักใหญ่ของระบบปรัชญา ส่วนมากจึงได้ยึดเอาอภิปรัชญาเป็นแม่แบบ ระบบปรัชญาถ้ายึดถือตามความแท้จริงทางอภิปรัชญาเป็นหลักแล้ว แบ่งออกเป็น 2 ระบบคือ

  1. จิตนิยม (Idealism) ได้แก่พวกที่ถือว่า จิตเท่านั้นเป็นความแท้จริง
  2. สสารนิยมหรือวัตถุนิยม (Materialism) ได้แก่พวกที่ถือว่า สสารหรือวัตถุเท่านั้นเป็นความแท้จริง

ถ้ายึดเอาจำนวนปฐมธาตุทางอภิปรัชญาเป็นหลักแล้ว ปรัชญาแบ่งออกเป็น 3 ระบบคือ

  1. เอกนิยม (Monism) ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของสรรพสิ่งมีเพียงสิ่งเดียว จะเป็นรูปธรรม (สสาร) หรือนามธรรม (จิต) ก็ได้
  2. ทวินิยม (Dualism) ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของสรรพสิ่งมี 2 อย่างเป็นของคู่กัน คือเป็นทั้งรูปธรรม (สสาร) และนามธรรม (จิต)
  3. พหุนิยม (Pluralism) ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของปฐมธาตุมีจำนวนมากมาย อาจจะเป็นรูปธรรม (สสาร) หรือนามธรรม (จิต) ก็ได้

ดังนั้น เราอาจสรุประบบปรัชญาในปัจจุบันได้เป็น 5 ระบบคือ

  1. เอกนิยมฝ่ายจิต (Idealistic Monism) ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของปฐมธาตุมีเพียงสิ่งเดียว มีลักษณะเป็นนามธรรม นั่นคือ “จิต” เช่น ปรัชญาเอกนิยมของสปิโนซ่า (Spinoza) เป็นต้น
  2. เอกนิยมฝ่ายสสาร (Materialistic Monism) ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของปฐมธาตุมีเพียงสิ่งเดียว มีลักษณะเป็นรูปธรรม นั่นคือ “สสาร” เช่น ปรัชญาสสารนิยมของธาเลส (Thales) เป็นต้น
  3. ทวินิยม (Dualism) ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของปฐมธาตุมี 2 อย่างคือ มีทั้งนามธรรมและรูปธรรม เช่น ปรัชญาทวินิยม (Dualism) ของเดส์การ์ตส์ (Descartes) เป็นต้น
  4. พหุนิยมฝ่ายจิต (Idealistic Pluralism) ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของปฐมธาตุมีมากมาย แต่มีลักษณะเป็นนามธรรม (จิต) เช่น ปรัชญาเกี่ยวกับโมนาด (Monad) ของไลบ์นิซ (Leibniz) เป็นต้น
  5. พหุนิยมฝ่ายสสาร (Materialistic Pluralism) ได้แก่พวกที่ถือว่า ความแท้จริงของปฐมธาตุมีมากมาย แต่มีลักษณะเป็นรูปธรรม (สสาร) เช่น ปรัชญาเกี่ยวกับปรมาณูนิยม (Atomism) ของเดโมคริตุส (Democritus) เป็นต้น

ความหมายของปรัชญา
การนิยามความหมายของนักปรัชญา
ระบบปรัชญา
สาขาปรัชญา
อภิปรัชญาคืออะไร
ความหมายของอภิปรัชญา
ความเป็นมาของอภิปรัชญา
ความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่นๆ
บ่อเกิดแนวความคิดทางอภิปรัชญา
หน้าที่ของอภิปรัชญา
ลักษณะและขอบเขตของอภิปรัชญา
ทฤษฎีทางอภิปรัชญา
ทฤษฎีสสารนิยม
ทฤษฎีจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยม
ทฤษฎีทวินิยม
ทฤษฎีพหุนิยม
อภิปรัชญาว่าด้วยเอกภพ หรือธรรมชาติ
ทัศนะฝ่ายจิตนิยม
วิวัฒนาการของจิตนิยม
ทฤษฎีเอกนิยมฝ่ายจิตนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายจิตนิยม
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
จิตนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
จิตนิยมในปรัชญาอินเดีย
ทัศนะฝ่ายสสารนิยม
ทฤษฎีพหุนิยมฝ่ายสสาร
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันตก
สสารนิยมทัศนะอภิปรัชญาตะวันออก
ทัศนะฝ่ายธรรมชาตินิยม
ลักษณะและธรรมชาติของชีวิต
อภิปรัชญาว่าด้วยจิต หรือวิญญาณ
ความหมายของจิต มโน หรือวิญญาณ
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันตก
การนิยามความหมายของฝ่ายตะวันออก
ธรรมชาติของจิต มโน หรือวิญญาณ
วิญญาณเป็นพลังงาน
เจตจำนงเสรี (Free Will)
ความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต
อมฤตภาพของวิญญาณ
ลัทธิเพลโต้ในทางอภิปรัชญา
ทัศนะของอริสโตเติ้ล (Aristotle)
ทัศนะของเบริ์คเล่ย์ (Berkeley)
อภิปรัชญาว่าด้วยพระเจ้า หรือสิ่งสัมบูรณ์
พระเจ้าคืออะไร
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับพระเจ้า
เทววิทยา
พิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า
เหตุผลทางจักรวาลวิทยา
เหตุผลทางเจตจำนง หรือวัตถุประสงค์
เหตุผลทางภววิทยา
เหตุผลทางจริยธรรม
นักปรัชญาฝ่ายอเทวนิยม (Atheism)
ทฤษฎีการสร้างโลก
จักรวาลวิทยา
ทัศนะของนักปรัชญาเกี่ยวกับพระเจ้า
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย