ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

เฟอร์ดินันด์ แมกเจลแลน

(Ferdinand Magellan)

เฟอร์ดินันด์ แมกเจลแลน เกิดในปี ค.ศ. 1480 ที่เมืองซาโบรซา หรือโปร์ตู ประเทศโปรตุเกส บิดาและมารดาของแมกเจลแลน เสียชีวิตตั้งแต่เขาอายุเพียง 10 ขวบ จึงไม่มีประวัติตอนเด็กที่เด่นชัดนัก เนื่องจากครอบครัวของแมกเจลแลน เป็นขุนนางชั้นสูง ทำให้เขาเป็นเด็กรับใช้ในวังของราชินีลีโอนอร์ ชายาของพระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งโปรตุเกส แมกเจลแลน แต่งงานกับ บรีทริซ บาร์โบซา มีบุตรสองคน

ประสบการณ์เดินทางครั้งแรกของเฟอร์ดินันด์ แมกเจลแลน เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1505 เมื่อเขาอายุได้ 25 ปี โดยเขาถูกส่งไปที่อินเดียเพื่อแต่งตั้ง ฟรานซิสโก เดอ อัลไมดา เป็นผู้สำเร็จราชการชาวโปรตุเกส การเดินทางครั้งนี้ทำให้แมกเจลแลน มีประสบการณ์สงครามเป็นครั้งแรก เมื่อกษัตริย์ในพื้นที่นั้นซึ่งได้มอบเครื่องบรรณาการให้แก่ วาสโก ดา กามา แล้วก่อนหน้านั้นสามปี ปฏิเสธที่จะมอบเครื่องบรรณาการให้แก่อัลไมดา ส่งผลให้เกิดสงครามดีอูในปี ค.ศ.1509 หลังจากที่เฟอร์ดินันด์ แมกเจลแลน หนีสงครามครั้งนี้ทำให้เป็นที่เกลียดชังของอัลไมดา และอัลไมดาได้กล่าวหาว่าเขาทำการค้าที่ผิดกฎหมายกับพวกมัวร์ (Moors) ตามมาด้วยข้อกล่าวหาอื่น ๆ จนทำให้แมกเจลแลน ต้องออกจากราชการ

ในปลายศตวรรษที่ 15 นักเดินเรือในโปรตุเกสชื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ได้คิดแผนการที่จะออกเดินทางค้นหาเส้นทางไปยังทวีปเอเชียโดยการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก แทนการอ้อมใต้ทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นเส้นทางปกติในสมัยนั้น โดยโคลัมบัสมีจุดหมายที่จะเปิดสัมพันธ์ทางการค้ากับทวีปทางเอเชียโคลัมบัสออกเดินทางจากสเปน ในปลายปี ค.ศ.1492 ใช้เวลาเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกกว่า 2 เดือน เป็นระยะทางกว่า 4,000 ไมล์ ซึ่งเกินกว่าระยะทางที่โคลัมบัสได้คำนวณไว้ล่วงหน้า แต่ที่จริงแล้วเขายังไปได้ไม่ถึงครึ่งของเส้นทางสู่เอเชียด้วยซ้ำ

ถึงแม้โคลัมบัสจะไม่พบเส้นทางไปยังทวีปเอเชีย การค้นพบแผ่นดินทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกทำให้มีนักเดินเรือ และนักสำรวจจำนวนมากเดินทางข้ามมหาสมุทร แอตแลนติกเพื่อสำรวจโลกใหม่และค้นหาเส้นทางไปยังทวีปเอเชียผ่านโลกใหม่

ขณะนั้นโปรตุเกสกับสเปนทำความร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ.1494 ที่แบ่งการครอบครองโลกระหว่างโปรตุเกสกับสเปน โดยโปรตุเกสทำการสำรวจและครอบครองซีกโลกตะวันออก สวนสเปนทำการสำรวจและครอบครองซีกโลกตะวันตก ทำให้กษัตริย์สเปนตัดสินใจส่งทีมสำรวจออกไปเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือไปยังทวีปเอเชีย

แมกเจลแลน เสนอแผนการที่จะค้นหาเส้นทางลัดไปยังทวีปเอเชียโดยอ้อมทางใต้ของโลกใหม่ (หรือทวีปอเมริกาใต้ในปัจจุบัน) ต่อกษัตริย์ชารลส์ที่หนึ่ง แห่งสเปน โดยเขาคาดการณ์ว่าเมื่อเดินทางอ้อมใต้โลกใหม่ไปแล้วเขาสามารถเดินทางไปถึงหมู่เกาะ เครื่องเทศได้ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ หลังจากที่ถูกปฏิเสธจากพระเจ้ามานูแอล กษัตริย์โปรตุเกส แผนการเดินทางของเขากลับได้รับความสนใจจากกษัตริย์สเปน เนื่องจากในขณะนั้นโปรตุเกสกำลังควบคุมเส้นทางเดินเรือไปยังเอเชียผ่านทางทวีปแอฟริกา สเปนจึงต้องการเส้นทางไปยังเอเชียของตนเองด้วยเช่นกัน และกษัตริย์ชารลส์ที่หนึ่ง ได้มอบเรือจำนวน 5 ลำ ให้อยู่ภายใต้คำสั่งของเขา คือ ไตรนิดาด (Trinidad) ซาน แอนโทนิโอ (San Antonio) คอนเซปซิออน (Concepcion) วิคตอเรีย (Victoria) และ ซานติเอโก (Santiago) พร้อมลูกเรือ ให้กับเขา โดยมีข้อแม้ว่าเขาต้องใช้ลูกเรือชาวสเปนเป็น ส่วนใหญ่ แม้ว่าเขาจะเป็นชาวโปรตุเกสก็ตาม

แมกเจลแลน ออกเดินทางจากสเปนในวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ.1519 รัฐบาลสเปนไม่ค่อยจะไว้ใจเขาเท่าใดนักเนื่องจากพื้นเพสัญชาติของเขาที่เป็นชาวโปรตุเกสด้วยเหตุนี้จึงป้องกันด้วยการสับเปลี่ยนให้ลูกเรือบนเรือที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเขาให้เป็นชาวสเปนเกือบทั้งหมด แม้ว่าเขาจะจัดคนประมาณ 270 คน ก่อนออกเดินทาง ในตอนนั้นตั้งแต่บราซิลกลายเป็นอาณาจักรของโปรตุเกส แมกเจลแลน จึงต้องหลีกเลี่ยงเส้นทางนี้ และวันที่ 13 ธันวาคม คณะเดินทางได้ทอดสมอใกล้กับเมือง ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ในปัจจุบัน และได้มีการหาเสบียงอาหารมาเพิ่มเติม แต่สภาวะอุปสรรคต่าง ๆ ก็เป็นสาเหตุให้พวกเขาเดินทางช้าลง หลังจากนั้นพวกเขาก็เดินเรือไปทางใต้ตามชายฝั่งทางทิศตะวันออกของอเมริกาใต้ มุ่งไปทางช่องแคบซึ่งแมกเจลแลน เชื่อว่าจะนำไปสู่หมู่เกาะเครื่องเทศ และเหยียบเมืองริโอ เดอ ลา พลาทา เมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ.1520

เส้นทางของแมกเจลแลน ตัดผ่านช่องแคบทางใต้ของอเมริกาใต้ที่ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรแปซิฟิกเรือซานติเอโกที่ถูกส่งไปตามชายฝั่งเพื่อสอดแนมเส้นทางอับปางลงเพราะพายุ ลูกเรือทั้งหมดปลอดภัยและหยุดพักตามชายฝั่งก่อนที่จะออกเดินเรืออีกครั้ง และเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ก็กองเรือก็ได้เดินทางมาถึง แหลมเวอร์จีนส์ และพวกเขาได้เจอเส้นทางเนื่องจากน้ำเป็นน้ำทะเลและเส้นทางลึกเข้าไปในแผ่นดิน เรือทั้งสี่ลำเริ่มเดินทางด้วยความยากลำบากตลอดระยะ 600 ก.ม. เนื่องจากเรือแล่นผ่านเส้นทางนี้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันทางศาสนาเพื่อระลึกถึงนักบุญทั้งหมด ปัจจุบันเส้นทางนี้เรียกว่า “ช่องแคบแมกเจลแลน”

ในตอนแรกแมกเจลแลน มอบหมายให้เรือคอนเซปซิออนและเรือซาน แอนโทนิโอ สำรวจช่องแคบ แต่ต่อมาภายหลังมีเรือลำหนึ่งละทิ้งหน้าที่นั้นแล้วให้กลับสเปนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน และเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน เหลือเรือเพียง 3 ลำที่เข้าสู่แปซิฟิกใต้ แมกเจลแลน ตั้งชื่อให้ว่า “มาร์ แปซิฟิโก” เนื่องจากเป็นมหาสมุทรกว้างใหญ่อีกแห่งที่คลื่นลมสงบมาก และ Pacific มาจากภาษาละตินแปลว่า “ความสงบ-สันติ”

แมกเจลแลน เป็นชาวยุโรปคนแรกที่มาถึงหมู่เกาะเตียรร์รา เดล ฟูเอล โก

การค้นหาเส้นทางผ่าน แผ่นดินใหญ่ และความหนาวเย็นของทะเลใกล้ขั้วโลกใต้ ทำให้แมกเจลแลน เสียเวลาจนถึงปลายปี ค.ศ.1520 กว่าจะผ่านช่องแคบแมกเจลแลน ออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิกการที่เขาใช้เวลาข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกนานกว่าที่ประมาณไว้มากทำให้ปริมาณอาหารและน้ำจืดไม่เพียงพอ ในระหว่างนี้ทำให้เขาต้องสูญเสียลูกเรือไปอีก 19 คน ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1521 แมกเจลแลน เดินทางมาถึง หมู่เกาะซึ่งเป็นประเทศฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน ใช้เวลาข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมดกว่าสามเดือน

 

การเดินทางในครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย พิกาเฟตตา ผู้ติดสอยห้อยตาม แมกเจลแลน ได้บันทึกไว้ว่า

“วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน เราผ่านช่องแคบได้สำเร็จออกมาสู่มหาสมุทรที่เราตั้งชื่อให้ว่า แปซิฟิค แล้วเราก็แล่นเรื่อเข้าสู่ทะเลลึกเป็นเวลา 3 เดือน 20 วัน โดยไม่เห็นฝั่งและไม่มีเสบียงเพิ่มเติม...ขนมปังกรอบมันยุ่ยกลายเป็นฝุ่นไปหมดแถมเหม็นเยี่ยวหนูด้วย น้ำดื่มก็เหม็นเต็มทีเราต้องจำใจกินกันเข้าไป แต่ถึงอย่างไรเราก็จะไม่อดตายหรอกเพราะเรายังมีหนังสัตว์อีกมาก คือแผ่นหนังที่ใช้บุ่จุดสำคัญๆในเรื่อเช่นตรงที่จะถูกเชือกถูไถอยู่บ่อยๆเป็นต้น มันแข็งมากเพราะโดนแดดโดนน้ำมานาน ต้องเอาแช่น้ำทะเลตั้ง 4-5 วัน จึงอ่อน เราเอามาปิ้งกินกัน...อดหนักๆเข้าบางทีต้องกินขี้เลื่อย กินเนื้อหนูที่แสนจะขยะแขยง ไล่จับเอาในเรือนี่แหละที่ร้ายกาจก็คือหลายคนเป็นโรคเหงือกบวม บวมมากขนาดเคี้ยวอาหารไม่ได้ ลูกเรือ 19 คนต้องตายไปเพราะโรคนี้”

“6 มีนาคม 1521 ก็ตุปัดตุเป๋ไปถึงเกาะกวมแบบเกือบจะหมดแรงพักฟื้นอยู่ 10 วัน ได้เสบียงและน้ำจืดแล้วต้องรีบเผ่น เพราะที่นี่ขโมยชุมยิ่งกว่ายุง แมกเจลแลน ตั้งชื่อให้ว่า เกาะขโมย โต้คลื่นไปไม่นานก็ถึงเกาะซามาร์จองฟิลิปปินส์ พบชาวบ้านมีเครื่องเทศไว้กินกันเยอะแยะ จากนั้นก็เดินทางไปถึงเกาะซีบู ของฟิลิปปินส์ เคราะห์หามยามร้ายเกิดขึ้นที่นี่คือ แมกเจลแลน เกิดไปตกปากรับคำช่วยกษัตริย์ แห่งซีบู ปราบเกาะมาตันที่ทำกำแหงหาญแต่เขาเกิดพลาดท่าเสียทีโดนอาวุธจนต้องเสียชีวิตไปเมื่อ 27 เมษายน 1521”

เมื่อถึงฟิลิปปินส์ เขาได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างคน พื้นเมือง โดยวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1520 กองเรือสเปนได้รับการต้อนรับจากชาวพื้นเมืองอย่างดี แต่ในระหว่างนั้นกำลังมีสงครามอยู่กับเมืองลาปูลาปู (Lapu-Lapu City) แมกเจลแลนและลูกเรือจึงอาสาเข้าไปช่วยเพื่อพิสูจน์ความจริงใจ จนถูกชาวมัคตานซึ่งเป็นชนพื้นเมืองสังหารในที่สุด

นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายถึงแม้ว่าเขาจะยังไม่ทันได้ถึงหมู่เกาะเครื่องเทศ แต่เขาก็ได้พิสูจน์ว่าโลกกลมได้สำเร็จ และสเปนก็ได้รับสิ่งตอบแทนจากเขาเป็นดินแดนต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งฟิลิปปินส์ด้วย ลูกเรือที่เหลืออยู่ จึงเดินทางต่อไปตามเกาะแก่งต่างๆพบว่ามีเครื่องเทศมากมาย บางอย่างก็ขึ้นเองอยู่ในป่า ซึ่งพิกาเฟตตาได้บันทึกไว้ว่ามีทั้งต้นจันทน์เทศ ขิง อบเชย และอื่นๆอีกมากมายจนนับไม่ถ้วน

จากนั้นลูกเรือสเปนที่เหลือก็ได้ออกเดินทางกลับสเปนนับเป็นการเดินทางรอบโลกครั้งแรก ภายหลังได้มีการสร้างอนุสาวรีย์บริเวณจุดที่แมกเจลแลน เสียชีวิตที่เมืองลาปูลาปู จังหวัดเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ และตั้งชื่อ ช่องแคบแมกเจลแลน (Straits of Magellan) ซึ่งอยู่ระหว่างปลายสุดแผ่นดินใหญ่อเมริกาใต้กับหมู่เกาะเตียรร์รา เดล ฟูเอล โก (Tierra del Fuego) ประเทศชิลี นอกจากนั้นยังนำไปใช้ตั้งชื่อหมู่กาแล็กซีเล็ก ๆ ที่เห็นบนท้องฟ้าแถบใต้ยามค่ำคืน ตามที่เขาได้สังเกตเห็นและบันทึกเอาไว้เป็นคนแรก ชื่อว่า เมฆแมกเจลแลน (Magellanic Clouds)

ถึงแม้จะเสียผู้นำใหญ่ไป เมื่อลูกเรือทั้งหมดก็รู้ว่าตนได้เดินทางมาถึงเอเชียแล้ว จึงได้เดินทางต่อไปยังหมู่เกาะเครื่องเทศ หรืออินโดนีเซียในปัจจุบัน ก่อนที่จะกลับสเปนตามแผนเดิมของแมกเจลแลน ด้วยลูกเรือที่เหลืออยู่ 115 คน กับเรือ 2 ลำ เนื่องจากเรือลำที่สามถูกเผาทิ้งเพราะจำนวนคนไม่พอที่จะเดินเรือทั้งสามลำ

เมื่อเรือทั้งสองลำซื้อกานพลูเต็มลำดีแล้วก็ออกเดินทาง 11 ธันวาคม ค.ศ.1521 เพื่อกลับสเปนแต่เรื่อที่ชื่อ ทรินิแดด เกิดรั่ว ต้องจูงเข้าฝั่งขนเครื่องเทศขึ้นกันโกลาหล จัดการซ่อมกันอยู่พักใหญ่ก็ไม่สำเร็จเรือวิคตอเรียที่เหลือเป็นลำสุดท้ายต้องขนเครื่องเทศออกบ้างเพราะกลัวจะไปจมกลางทาง เดลคาโน เป็นกัปตัน พิกาเฟตตา มากับลำนี้ด้วย 6 พฤษภาคม ค.ศ.1522 อ้อมแหลมกู๊ดโฮปได้ ลูกเรืออดอยากกันมาก อากาศก็เลวร้าย ทะเลปั่นป่วนลูกเรือตายไป 21 คน ไปถึงเกาะ เวอร์ดี ของปอร์ตุเกส กัปตันคาโนยอมเสี่ยงขึ้นไปหาเสบียง แต่ไม่นานนักทหารโปรตุเกสก็จับได้ว่าเป็นพวกสเปน ลูกเรือเลยโดนจับไป 13 คน คาโน รีบพาเรือวิคตอเรียหนีไปได้ทัน จนถึงสเปนเมื่อ 8 กันยายน ค.ศ.1522 ลูกเรือ 60 คนเหลืออยู่เพียง 18 คนเท่านั้น รวมเวลาเดินทางทั้งสิ้นเกือบ 3 ปี

แม้แมกเจลแลนจะต้องเสียชีวิตไปก่อนที่จะถึงหมู่เกาะเครื่องเทศ แต่การเดินเรือของเขาในครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก เพราะสามารถพิสูจน์ให้คนทั้งโลกได้เห็นว่าโลกของเรานั้นมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ความยิ่งใหญ่ของเขานั้นถูกบันทึกไว้โดยผู้ร่วมเดินทางในครั้งนี้ พิกาเฟตตาได้บันทึกถึงการสูญเสียในครั้งนี้เอาไว้ว่า “เราได้สูญเสียผู้นำที่เป็นทั้งแสงสว่าง และผู้สนับสนุนพวกเราไป แต่ความยิ่งใหญ่ของนาม แมกเจลแลน จะยังคงทำให้แมกเจลแลน มีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างไม่ดับสูญ”

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย