ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
พระสารีบุตรเถระ เอตทัคคะ : เป็นเลิศในทางมีปัญญามาก และ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา
มีนามเดิมว่า “อุปติสสะ” เกิดที่หมู่บ้านอุปติสสะ เมืองนาลันทา
ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล เมื่อช่วงเป็นหนุ่มน้อย
บิดาได้หาเด็กหนุ่มวัยเดียวกันเป็นบริวารถึง 500 คน
วันหนึ่ง หลังจากได้ชมมหรสพดังเช่นทุกปีบนยอดเขาแล้ว
กลับมีกิริยาอาการและความรู้สึกที่ไม่เหมือนเก่า คือถึงตอนหัวเราะก็ไม่สนุกสนาน
ถึงตอนเศร้าโศกก็ไม่ได้แสดงอาการเศร้าโศก ถึงตอนจะให้รางวัลก็ไม่ให้รางวัล
แต่มีความรู้สึกสังเวชสลดใจว่า “ ไม่เห็นมีอะไรน่าสนใจเลย
ตัวละครที่กำลังแสดงอยู่นี้ อยู่ได้ไม่ถึง 100 ปี ก็คงตายกันหมด
แล้วก็มีตัวละครคนใหม่มาแสดงแทน เราเองมัวมาหลงดูอยู่ทำไม ไฉนจึงไม่แสวงหาโมกขธรรม
(ความหลุดพ้น) มีความเบื่อหน่ายในชีวิต ” และได้ออกบวชอยู่ในสำนักของสัญชัยปริพพาชก
ก็ไม่ประสบผลสำเร็จตามที่ตนต้องการ เพราะว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ได้
เช้าวันหนึ่งอุปติสสปริพพาชกได้พบพระอัสสชิเถระ
กำลังออกรับบิณฑบาตโปรดสัตว์ด้วยอาการอันสงบสำรวมก็เกิดความเลื่อมใสว่า“นักบวชแบบนี้เราไม่เคยเห็นมาก่อน
ท่านคงจะเป็นพระอรหันต์แน่” จึงเข้าไปถามว่า
“ท่านมีอินทรีย์ผ่องใสผิวพรรณบริสุทธิ์ผุดผ่องท่านบวชเชิดชูใครใครเป็นศาสดาของท่านท่านชอบใจธรรมของใคร”จึงได้คำตอบจากพระอัสสชิอย่างถ่อมตนว่า
“อาตมาเป็นพระบวชใหม่ เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยของพระศาสดาไม่นานนัก
อาตมาจึงไม่สามารถพอที่จะบอกถึงคำสอนของพระศาสดาโดยพิสดารได้”
จึงขอกล่าวธรรมโดยย่อว่า
“ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นไว้และตรัสถึงความดับ(เหตุ)ไว้ด้วย
พระสมณะผู้ยิ่งใหญ่มีปรกติตรัสอย่างนี้”
พอกล่าวจบ อุปติสสปริพพาชก ก็บรรลุโสดาปัตติผล
แล้วจึงกลับไปบอกเพื่อนโกลิตปริพพาชกให้บรรลุโสดาบันเช่นเดียวกัน
และทั้งสองจึงชักชวนกันไปพบกับอาจารย์สัญชัยปริพพาชก เพื่อจะไปเฝ้าพระพุทธองค์
แต่ก็ถูกอาจารย์ปฏิเสธอย่างแข็งขันว่า “ในโลกนี้คนโง่มากหรือคนฉลาดมาก” ท่านบอกว่า
“คนโง่มีมาก คนฉลาดมีน้อย” ถ้าอย่างนั้น “ขอให้คนฉลาดจงไปหาพระสมณโคดม
ส่วนคนโง่จงมาหาฉัน”
ทั้งสองจึงอำลาอาจารย์สัญชัยพร้อมด้วยบริวาร
250คนไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่พระเวฬุวันและขออุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาจึงมีชื่อใหม่ว่า
“ สารีบุตร” ครั้นได้ฟังธรรมเทศนาชื่อว่า “เวทนาปริคคหสูตร”
ซึ่งพระพุทธองค์แสดงแก่หลานชายชื่อ “ทีฆนขปริพพาชก” ที่ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 สำเร็จเป็นพระอรหันต์ หลังจากบวชได้ 15 วัน
และได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า
ก่อนจะปรินิพพานเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ที่บ้านของท่านเอง ด้วย
โรคปักขันทิกาพาธ (ถ่ายจนเป็นเลือด)
หลังจากท่านได้เทศนาโปรดมารดาจนได้บรรลุโสดาบันแล้ว จึงปรินิพพานในที่สุด
- ท่านเปรียบเสมือนแม่ผู้ให้กำเนิดบุตร คือผู้บวชให้พระภิกษุ
- ท่านเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา
- ท่านได้รับนามใหม่อีกว่า “เป็นธรรมเสนาบดี”
- ท่านเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบในการแสดงธรรม
- ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์รูปแรกในการอุปสมบทพระราธะ -ด้วยวิธีญัตติจถุตถกรรมวาจา
พระอัญญาโกณฑัญญเถระ : รัตตัญญู คือ ผู้รู้ราตรีนาน
พระอุรุเวลกัสสปเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีบริวารมาก
พระสารีบุตรเถระ
: เป็นเลิศในทางมีปัญญามาก อัครสาวกเบื้องขวา
พระมหาโมคคัลลานเถระ : เป็นผู้เลิศในทางเป็นผู้มีฤทธิ์มาก
พระมหากัสสปเถระ : ผู้ทรงธุดงค์คุณ
พระมหากัจจายนเถระ : อธิบายความย่อให้พิศดาร
พระโมฆราชเถระ : ทรงจีวรเศร้าหมอง
พระราธเถระ : มีปฏิภาณ(ไหวพริบดี)
พระปุณณมันตานีบุตรเถระ : เป็นผู้เลิศในด้านการแสดงธรรมเทศนา
พระกาฬุทายีเถระ : ทำสกุลที่ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
พระนันทเถระ : เป็นผู้เลิศฝ่ายข้างสำรวมระวังอินทรีย์ 6
พระราหุลเถระ : เป็นเอตทัคคะทางผู้ใคร่ต่อการศึกษา
พระอุบาลีเถระ : ผู้ทรงพระวินัย (วินัยธร)
พระภัททิยเถระ : ในทางเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง หรือสุขุมาลชาติ
พระอนุรุทธเถระ : เป็นเลิศในทางผู้มีทิพยจักษุ (ตาทิพย์)
พระอานนทเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหุสูตร
พระโสณโกฬิวิสเถระ : เป็นเลิศในทางปรารภความเพียร
พระรัฐบาลเถระ : เป็นเลิศในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
พระปิณโฑลภารทวาชเถระ : เป็นเลิศในทางผู้บันลือสีหนาท
พระมหาปันถกเถระ : เป็นเลิศในทางเจริญวิปัสสนา
พระจูฬปันถกเถระ : เป็นเลิศในทางมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ)
พระโสณกุฏิกัณณเถระ : ผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
พระลกุณฎกภัททิยเถระ : เป็นเลิศในทางผู้มีเสียงไพเราะ
พระสุภูติเถระ : เป็นผู้มีปกติอยู่อย่างไม่มีกิเลส และเป็นทักขิไณยบุคคล
พระกังขาเรวตเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ยินดีในการเข้าฌาน
พระโกณฑธานเถระ : เป็นเลิศในทางถือสลากเป็นปฐม
พระวังคีสเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ
พระปิลินทวัจฉเถระ : เป็นเลิศในทางเป็นที่รักใคร่ของเหล่าเทพยดา
พระกุมารกัสสปเถระ: เป็นเลิศในการแสดงธรรมได้อย่างวิจิตร
พระมหาโกฏฐิตเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4
พระโสภิตเถระ : เป็นเลิศในทางระลึกชาติก่อนได้
พระนันทกเถระ : เป็นเลิศในทางสอนนางภิกษุณี
พระมหากัปปินเถระ : เป็นเลิศในทางการสอนภิกษุ
พระสาคตเถระ : ผู้ฉลาด (ชำนาญ) ในทางเตโชสมาบัติ
พระอุปเสนเถระ : เป็นผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบด้าน
พระขทิรวนิยเรวตเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
พระสีวลีเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภมาก
พระวักกลิเถระ : เป็นเลิศแห่งภิกษุผู้เป็นสัทธาวิมุตติ
พระพาหิยทารุจีริยเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายตรัสรู้เร็วพลัน
พระพากุลเถระ : เป็นผู้มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยที่สุดด้วย