ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

วรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่

วรรณกรรมแบบจารีตลังกา

พระพุทธศาสนาในสังคมไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้รับอิทธิพลจากตีความพระธรรมวินัยจากจารีตลังกาอย่างแน่นแฟ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวรรณกรรมในชั้นอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และปกรณ์วิเสสอื่น ๆ กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาแบบลังกาได้กลายเป็นแม่แบบของพระพุทธศาสนาในสังคมไทย โดยเฉพาะจารีตในการแต่งวรรณกรรมพระพุทธศาสนา ที่เห็นชัดเจนที่สุดน่าจะได้แก่วรรณกรรมแนวประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ สังคีติยวงศ์ และปฐมสมโพธิกถา เป็นต้น งานเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับรูปแบบมาจากคัมภีร์มหาวงศ์ของลังกา โดยมีการจัดวางลำดับโครงเรื่องดั้งนี้

  1. เริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่องย้อนหลังกลับไปถึงประวัติการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสตัว์ในอดีตชาติอันยาวไกลถึง 4 อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปป์
  2. เล่าถึงชาติที่ไปเกิดเป็นเทพบุตรที่สวรรค์ชั้นดุสิตเพื่อรอลงมาจุติยังโลกมนุษย์
  3. เล่าถึงการเสด็จลงจุติยังโลกมนุษย์จนถึงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานตามลำดับ
  4. เล่าถึงประวัติการทำสังคายนาพระธรรมวินัยในช่วงหลังพุทธกาล การนำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ยังประเทศต่าง ๆ แล้วโยงมาเล่าถึงประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในสังคมของผู้ผู้แต่งวรรณกรรมเองแล้วจบลงด้วยการกล่าวกิจการพระศาสนาและการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยที่แต่งวรรณกรรมเรื่องนั้น ๆ

วรรณกรรมพระพุทธศาสนาแนวประวัติศาสตร์แบบนี้ กลุ่มนักประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นจารีตการเขียนประวัติศาสตร์แบบลังกาหรือแบบตำนาน ดังคำกล่าวของนิธิ เอียวศรีวงศ์ และอาคม พัฒิยะ ที่ว่า

จารีตการเขียนพงศาวดารแบบลังกานั้นก็คือ การอาศัยประวัติของพุทธศาสนาเป็นแกนกลางของเรื่องราว โดยการย้อนกลับไปกล่าวตั้งแต่สมัยพุทธกัปป์แรก บางครั้งก็ย้อนไปเล่าตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระองค์แรกใน 25 พระองค์ที่จะมาตรัสรู้ในโลกนี้ ทั้งหมดนี้เพื่อเล่าถึงการสั่งสมบารมีของพระโพธิสัตว์ ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระสมณโคดม หรือพระพุทธเจ้าในสมัยของเรานี้ ถัดจากนั้นก็บรรยายพุทธประวัติอย่างสั้น ๆ แล้วก็ดำเนินความเกี่ยวกับว่าพุทธศาสนาได้เข้าไปยังดินแดนของตนอย่างไร ได้มีกษัตริย์พระองค์ใดบ้างทั้งในอินเดียและที่อื่น ๆ ซึ่งได้เป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภถกพระพุทธศาสนา เป็นต้นว่าพระเจ้าอโศกแห่งอินเดีย และพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัยแห่งลังกาเป็นต้น เนื้อหาของพงศาวดารประเภทนี้ก็คือ เรื่องราวของวงศ์ขององค์ศาสนูปถัมภกและพระศาสนาในดินแดนถิ่นประเทศของตน

จึงกล่าวได้ว่า วรรณกรรมพระพุทธศาสนาแนวตำนานนี้ ได้ใช้กรอบเวลาและสถานที่ (time and space) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เรื่องราวของพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา กาลเวลาเริ่มต้นจากประวัติของพระพุทธเจ้าในชาติต่าง ๆ และดำเนินไปเรื่อยจนกระทั่งถึง “ปัจจุบัน” และจะต่อไปใน “อนาคต” อันมีจุดจบอยู่ที่ พ.ศ. 5000 เมื่อถึงเวลาสิ้นสุดของกาลเวลาแห่งศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งแล้วก็จะเริ่มต้นกาลเวลาใหม่อีก นี่เป็นกาลเวลาที่ดำเนินไปเรื่อยโดยไม่รู้จบ ส่วนสถานที่นั้นจะเน้นความสำคัญอยู่โลกของพระพุทธศาสนา หรือชมพูทวีป ดั้งนั้น ประวัติศาสตร์ไทยจึงเป็นส่วนหนึ่งของโลกแห่งพระพุทธศาสนา มิใช่ประวัติศาสตร์ของชนกลุ่มใดเชื้อชาติใดโดยเฉพาะ

ยุคใหม่ในสังคมตะวันตก
ยุคใหม่ในสังคมไทย
วรรณกรรมแบบจารีตลังกา
จักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ
วรรณกรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมยุคใหม่
แนวโน้มวรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่
โครงเรื่องแนวเหตุผลนิยม
การวิพากษ์เรื่องอภินิหาร
การตีความเรื่องอภินิหาร
การวิพากษ์ความไม่สมเหตุสมผล
ยุคใหม่ตอนกลาง : วรรณกรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ
ภาษาคน-ภาษาธรรม : ทฤษฎีการตีความของท่านพุทธทาส
การวิพากษ์พระไตรปิฎก อรรถกถา และวิสุทธิมรรค
การปฏิเสธจักรวาลวิทยาแบบอภิปรัชญา
การตีความปฏิจจสมุปบาทแนวใหม่
การฟื้นฟูมิติโลกุตรธรรม
วรรณกรรมของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
การฟื้นฟูมิติทางสังคมแนวพุทธ
การวิพากษ์ฐานคิดตะวันตกและเสนอแนวคิดแบบองค์รวมเชิงพุทธ
วรรณกรรมของฟริตจ๊อฟ คาปร้า
ทัศนะแบบจักรกล (mechanistic view)
ทรรศนะแบบลดทอน (Reductionistic view)
แนวคิดพิชิตธรรมชาติ (conquest of nature)
ควอนตัมฟิสิกส์ กับ พระพุทธศาสนา
กลุ่มวรรณกรรมที่เน้นพุทธจริยธรรมเชิงสังคม
วรรณกรรมของนายแพทย์ประเวศ วสี
วรรณกรรมของนิธิ เอียวศรีวงศ์
วรรณกรรมที่เน้นจริยธรรมแบบผูกพันกับสังคม
วรรณกรรมของนายแพทย์ประสาน ต่างใจ
นิพพานในฐานะเป็นวิวัฒนาการขั้นสูงสุดของจิต
วรรณกรรมของปริญญา ตันสกุล
โครงสร้างจิตและการทำงานของจิต
การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
การปฏิบัติเพื่อเข้าสู่นิพพาน
วรรณกรรมพระพุทธศาสนากับแนวคิดหลังสมัยใหม่
บทสรุป
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย