สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

บาดทะยัก

(Tetanus)

ลักษณะโรค

  • เกิดจากพิษของเชื้อบาดทะยัก เป็นเชื้อที่เจริญเติบโตแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic)
  • อาการสำคัญ คือ
    -เจ็บปวด เนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
    -มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อบาดแผล กล้ามเนื้อแก้ม กล้าม เนื้อลำตัว หรือกล้ามเนื้อบริเวณลำคอ
    -ลักษณะทางคลินิกเฉพาะคือ การเกร็งหลังแอ่นและใบหน้าคล้ายแสยะยิ้ม
  • การตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการไม่ช่วยในการวินิจฉัยเพราะมีโอกาสน้อยที่จะเพาะ เชื้อจากบริเวณที่มีการติดเชื้อ และมักตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อไม่ได้

เชื้อก่อโรค
Clostridium tetani

การเกิดโรค
-พบได้ทั่วโลก
-ในเอเซีย อัฟริกา และอเมริกาใต้ โดยเฉพาะในชนบทเขตร้อน มักพบมีการติดเชื้อ บาดทะยักเด็กแรกเกิดมากกว่า
-การใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะการใช้เข็มฉีดยามีโอกาสติดเชื้อบาดทะยักได้

แหล่งรังโรค
เชื้ออยู่ในลำไส้ม้าและสัตว์อื่น ๆ รวมถึงคนด้วย โดยไม่ก่อให้เกิดโรค

วิธีการแพร่เชื้อ
สปอร์ของเชื้อบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลที่ผิวหนัง การฉีดยาที่ใช้เข็มมีการปน เปื้อนเชื้อโรค

ระยะฟักตัว
ปกติ 3-21 วัน (เฉลี่ย 10 วัน) อาจสั้นเพียง 1 วันก็ได้ ขึ้นกับลักษณะความรุนแรง ตำแหน่งบาดแผลผู้ป่วยมักมีอาการภายใน 14 วัน โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีระยะฟักตัวสั้นจะมีอาการรุนแรง

 

ระยะติดต่อของโรค
ไม่สามารถติดต่อโดยตรงจากคนไปสู่คนได้

ความไวและความต้านทานต่อการรับเชื้อ
-คนทั่วไปมีโอกาสได้รับเชื้อ การสร้างภูมิคุ้มกันโรคทำได้ 2 วิธี

1. ฉีดวัคซีน Tetanus toxoid สามารถคุ้มกันโรคได้นานอย่างน้อย 10 ปี
2. ฉีด Tetanus immunoglobclin (TIG) หรือ Tetanus antitoxin จะมีภูมิต้านทานอยู่ได้ไม่นาน

โรคบาดทะยักในเด็กแรกเกิด
(Tetanus neonatorum)

เป็นปัญหาสำคัญในประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะบริการฝากครรภ์และการให้วัคซีนป้องกันบาดทะยักในหญิงมีครรภ์ดำเนินการได้ไม่ทั่วถึง โรคนี้มักเกิดจากการติดเชื้อผ่านทางสายสะดือ เช่น

-การติดสายสะดือด้วยอุปกรณ์ที่ไม่สะอาด
-การปิดแผนสายสะดือด้วยวัสดุที่ปนเปื้อนเชื้อบาดทะยัก

อาการ
2-3 วันหลังคลอดเด็กจะแข็งแรงและดูดนมได้ปกติ ต่อมาดูดนมลำบากหรือดูดไม่ได้ เนื่องจากอาการ Trismus ร่วมกับการเกร็งหรือซักของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย และมีอาการ Opisthotonus

ระยะฟักตัว
ประมาณ 3-28 วัน (โดยเฉลี่ย 6 วัน) โรคนี้มีอัตราการตายเกินกว่า 80% โดยเฉพาะในรายที่ระยะฟักตัวสั้น

การป้องกันทำได้ 2 วิธี ดังนี้
1. ส่งเสริมบริการด้านการฝากครรภ์ และเน้นการทำคลอดโดยผู้ผ่านการอบรมมาอย่างดีแล้ว
2. เพิ่มความครอบคลุมการให้ภูมิคุ้มกันแก่หญิงมีครรภ์,หญิงวัยเจริญพันธุ์

การให้วัคซีนป้องกันบาดทะยักหญิงตั้งครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์

ครั้งที่ 1 ครั้งแรกที่มารับบริการฝากครรภ์ หรือเร็วที่สุดในขณะตั้งครรภ์
ครั้งที่ 2 4 สัปดาห์หลังจากได้รับครั้งแรก หรืออย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนคลอด
ครั้งที่ 3 6-12 เดือนหลังจากได้รับครั้งที่ 2 หรือขณะตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
ครั้งที่ 4 และ 5 ให้ในปีถัดไปที่ผู้ป่วยมาพบหรือในการตั้งครรภ์ครั้งต่อ ๆ มา

การได้วัคซีนครบ 5 ครั้ง สามารถมีภูมิต้านทานต่อโรคบาดทะยักได้ตลอดวัยเจริญพันธุ์
หมายเหตุ ทั้งนี้ควรดูประวัติการย้อนหลังในการได้รับวัคซีนบาดทะยักร่วมด้วย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย