ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

หุ่นกระบอก

นาวสาวนภัสวรรณ บุญนิธี หลักสูตรและการสอน รุ่น 7

วิธีเชิดหุ่นกระบอก

การเชิดหุ่นกระบอกของแต่ละคณะแม้จะดูคล้ายกัน แต่ถ้าสังเกตให้ดีแต่ละคณะก็จะมีการเชิดหุ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เช่น

หุ่นคณะนายวิง ญาติผู้พี่ของนายเปียก หุ่นคณะนี้จะเชิดด้วยมือขวา โดยใช้มือขวาจับไม้กระบอกแกนลำตัวของหุ่น และใช้มือซ้ายจับตะเกียบ ซึ่งต่างจากการเชิดหุ่นโดยทั่วไปที่ใช้มือซ้ายจับไม้กระบอกและมือขวาจับตะเกียบ

หุ่นแม่บุญช่วย เปรมบุญ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นหลานของนายเหน่ง มีวิธีการเชิดโดยใช้ตะเกียบซ้ายของมือหุ่นพาดบนข้อมือซ้ายของผู้เชิด แทนการใช้นิ้วก้อยซ้ายของผู้เชิดหนีบเช่นการเชิดของคณะอื่นๆ และเมื่อจะใช้บทมือซ้ายของหุ่นจึงจะผลักตะเกียบซ้ายลงจากข้อมือคนเชิด หุ่นของครูวงษ์ จังหวัดสมุทรสงคราม จะเชิดหุ่นตัวหนุมานให้ตีลังกากลับไปมาได้ด้วยมือขวา แล้วจึงใช้มือซ้ายมารับไม้กระบอกอีกที นอกจากนั้นตัวหุ่นนางผีเสื้อสมุทรจะเชิดหกหน้าหลังตามจังหวะดนตรีอย่างถึงพริกถึงขิง  

หุ่นของครูชื้น สกุลแก้ว บุตรีนายเปียก ประเสริฐกุล มักจะให้ผู้เริ่มหัดเชิดหุ่นหาถ้วยมาวางไว้ที่พื้นตรงกับตัวหุ่นที่ผู้เชิดจับอยู่ เพื่อระวังบังคับไม่ให้หุ่นโยกออกไปไกลรัศมีถ้วย การบังคับด้วยถ้วยนี้ถือว่าหุ่นต้องยืนรำหรือนั่งรำอยู่บนเตียงอย่างละคร ไม่ได้วิ่งรำไปมา หากผู้เชิดไม่บังคับศูนย์การประคองตัวหุ่นเสียแต่แรก ตัวหุ่นจะโยกไปมาเหมือนคนเมา  อย่างไรก็ตาม หุ่นกระบอกเป็นเพียงตัวหุ่นจำลองไม่ใช่โขนละครที่แสดงด้วยคนจริงๆ ศิลปะในการเชิดจึงต้องทำท่าให้ง่ายเข้า แต่ยังคงเน้นที่อารมณ์ บทบาท และการร่ายรำ อันเป็นท่วงท่าและลักษณะเฉพาะของหุ่น  วิธีการดูหุ่นกระบอกจึงอยู่ที่การดูท่วงทีกับท่ารำของตัวหุ่นซึ่งทำได้คล้ายละคร ด้วยการใช้กลเม็ดการเชิดที่แยบคายและแนบเนียนมิใช่การพยายามทำหุ่นให้เหมือนกับโขนละครทุกอิริยาบถ   

    ความเชื่อและพิธีกรรมของการแสดงหุ่นกระบอก  โดยทั่วไปการแสดงหุ่นกระบอกจะมีทั้งเล่นคืนเดียว และเล่นหลายคืนติดต่อกัน สุดแต่ผู้ว่าจ้าง ถึงแม้จะเล่นติดต่อกันหลายคืน แต่ทุกคืนก็ต้องเริ่มต้นการแสดงด้วยรำช้าปี่ไหว้ครูทุกครั้ง แต่ถ้าเป็นการเล่นหุ่นตอนเย็นในงานศพเรียกกันว่า “เล่นหน้าไฟ” จะไม่มีการไหว้ครูเพราะเล่นเพียงตอนสั้นๆ เช่น ตอนยุขันเจอพราหมณ์เกสรในเรื่องลักษณวงศ์หรือตอนไชยเชษฐ์กลับจากป่าในเรื่องไชยเชษฐ์

หุ่นไทย
สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.2121-2246)
สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ.2246-พ.ศ.2310)
สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2310-พ.ศ.2325)
สมัยรัตนโกสินทร์
หุ่นของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กำเนิดของหุ่นกระบอก
หุ่นนายวิง
หุ่นจางวางต่อ
หุ่นจางวางทั่ว
หุ่นกระบอกนายเปียก
หุ่นนายเบี้ยว
หุ่นกระบอกนายปั้น
ลักษณะหุ่นกระบอก
ศีรษะหุ่น
ลำตัวหุ่นกระบอก
มือของหุ่นกระบอก
เสื้อผ้าและเครื่องประดับของหุ่นกระบอก
วิธีเชิดหุ่นกระบอก
การโหมโรง
การแสดง
การบรรเลงและการขับร้อง
การพากย์หุ่น
โรงหุ่นกระบอก
ฉากหุ่นกระบอก
เครื่องประกอบฉาก
เรื่องหุ่นกระบอกที่นิยมแสดง
โอกาสในการแสดงหุ่นกระบอก
การบูชาครูก่อนการแสดงหุ่น
การบูชาครูของวงปี่พาทย์ก่อนการแสดงหุ่น
ความเชื่อและประเพณีในการแสดงหุ่น
หุ่นกระบอกคณะครูชื้น สกุลแก้ว
หุ่นกระบอกของจักรพันธุ์ โปษยกฤต
หุ่นกระบอกกรมศิลปากร
หุ่นกระบอกคณะรอดศิรินิลศิลป์
หุ่นกระบอกสมุทรสงคราม
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย
หุ่นกระบอกเพชรบุรี
หุ่นกระบอกคณะเพชรหนองเรือ
อัตลักษณ์
วิกฤตของหุ่นกระบอกในปัจจุบัน
แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูหุ่นกระบอก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย