สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

แนวความคิดว่าด้วยรัฐ

ชุมชนทางการเมืองในอดีต
พัฒนาการสู่ความเป็นรัฐสมัยใหม่
กำเนิดของรัฐ
องค์ประกอบของรัฐสมัยใหม่
การรับรองรัฐ
รูปของรัฐ (Form of State)
ชาตินิยมหรือความเป็นรัฐชาติ (Nationalism and Nation State)

ชุมชนทางการเมืองในอดีต

1. ชุมชนบุพกาล ไม่มีระเบียบการปกครอง เป็นการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด และรวมตัวกันเป็นชุมชนเพียงเพื่อเอื้อประโยชน์ในเรื่องของอาหาร

2. ชนเผ่า (Tribe) หรือ กลุ่มเครือญาติ (Clan) จัดเป็นรัฐที่พัฒนาน้อยที่สุดมักจะเน้นขนบธรรมเนียมประเพณีมาก การแต่งกายก็จะเป็นลักษณะเครื่องแบบที่คล้ายๆ กัน และจะบ่งบอกสถานภาพของผู้แต่งกายนั้นๆ ได้ ปกครองโดยหัวหน้า หรือผู้อาวุโส การยึดติดอยู่กับดินแดนอาณาเขตที่แน่นอนมีน้อย มักจะเร่ร่อนที่อยู่เป็นครั้งคราว

3. แคว้น (Province / Principality) แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

  1. นครรัฐ (City State) ตัวอย่างที่สำคัญ คือ นครรัฐของกรีซ ซึ่งมีความยึดมั่นในเสรีภาพและมีความนิยมชมชอบในความเป็นมนุษย์เป็นที่ยิ่ง ชาวกรีกโบราณไม่ยอมอยู่ภายใต้อำนาจของผู้เผด็จการหรือพระในศาสนาใดๆ โลกทัศน์ของชาวกรีกจะเป็นแบบมีเหตุมีผลไม่งมงายติดอยู่กับความเชื่อหรือศาสนาจนเกินไป ชาวกรีกโบราณถือว่าความอยากรู้อยากเห็นนั้นเป็นสิ่งที่สูงส่ง ดังนั้น การแสวงหาความรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญ และทำให้เกิดมรดกแก่โลกทั้งทางด้านความคิด ปรัชญา และที่สำคัญมากสำหรับวิชารัฐศาสตร์ ก็คือ แนวความคิดประชาธิปไตย
  2. รัฐฟิวดัล (Feudal State) มีลักษณะที่สำคัญ คือ การยึดพื้นที่เป็นหลักสำคัญโดยพวกขุนนาง (Lord) บังคับให้ผู้คนเป็นทาสติดที่ดิน(Serf) ทำงานรับใช้และเกณฑ์เป็นทหารในยามศึกสงครามด้วย โดยขุนนางจะให้การคุ้มครองเป็นผลตอบแทน
  3. รัฐเจ้า (Principality) เป็นรัฐที่เกิดขึ้นในสมัยยุคกลาง โดยมีเจ้า (Prince) เป็นผู้ปกครอง ยังไม่มีคำว่า รัฐ (State) เพราะ ยังไม่มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาดในการปกครอง ยังเป็นการปกครองแบบจารีตดั้งเดิม และมีการรวมกันใช้อำนาจระหว่างรัฐกับองค์กรทางสังคมต่างๆ เช่น ศาสนจักร สภาขุนนาง และสมาคมต่างๆ เป็นต้น

4. อาณาจักร (Kingdom) คือ รัฐที่มีพระเจ้าแผ่นดิน หรือ กษัตริย์ (King) ปกครอง โดยแบ่งชนชั้นเป็นผู้ปกครอง กับ ผู้อยู่ใต้ปกครอง ซึ่งก็คือ ประชาชน ในยุคกลางได้มีความพยายามที่จะแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร และสร้างศูนย์รวมอำนาจอยู่ที่กษัตริย์แทนที่จะเป็น พวกพระ พวกขุนนาง หรือ เจ้าผู้ครองแว่นแคว้นต่างๆ

 

5. จักรวรรดิ (Empire) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. จักรภพของประเทศตะวันออก (Oriental Empire) คือ เป็นรัฐในรูปแบบรัฐเผด็จการที่มีการปกครองแบบรวมอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลางของชนชั้นปกครองมีอำนาจเด็ดขาด ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่มีชีวิตเหมือนข้าทาสไม่ค่อยมีสิทธิมีเสียงเท่าไรนัก
  2. จักรวรรดิโรมัน (The Roman Empire) เป็นจักรวรรดิที่มีความเป็นนิติรัฐ ในแง่ที่ว่ากฎหมายของโรมันให้ความเท่าเทียมกันแก่บรรดาชาวโรมันทั้งปวง ทั้งยังมีความพยายามที่จะให้สิทธิในการเป็นพลเมือง (Citizenship) แก่บุคคลต่างชาติที่มีความสามารถ หรือทำโยชน์ให้แก่ประเทศ ทั้งนี้ทุกคนต้องรู้กฎหมาย คือ รู้ทั้งสิทธิและหน้าที่ของตน กฎหมายของโรมันจะถูกจารึกไว้บนแผ่นไม้หรือโลหะแล้วนำไปตั้งไว้ตามสถานที่สาธารณะต่างๆ เพื่อที่คนทุกคนจะได้อ่านและเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ของตน สำหรับจักรวรรดิโรมันได้มีการปกครองมาแล้วหลายแบบ ทั้งแบบกงสุล (Consul) การปกครองโดยสภา (Senate) และต่อมาก็เป็นจักรพรรดิ (Emperor)

การเมืองในระยะแรก

- มีประชากรจำนวนหนึ่ง
- มีผลผลิตมากพอที่จะเหลือ (Surplus)
- มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Labour) คนบางกลุ่มไม่ต้องทำการผลิต
- มีการแบ่งชนชั้นทางสังคม (Social Stratification) เป็นชนชั้นปกครอง – ผู้อยู่ใต้ปกครอง
- มีความเชื่อบางอย่างเป็นพื้นฐานของการยอมรับอำนาจ

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย