สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย

      กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย เริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 "คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" เรียกโดยย่อว่า "กทสช" กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ ได้แก่

1.กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Transactions Law)
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่า เทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเ ล็กทรอนิกส์

2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Signatures Law)
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบว นการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์



3.กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศใ ห้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน
(National Information Infrastructure Law)
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้ นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสัง คมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้

4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
(Data Protection Law)
เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อ มูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอัน รวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป ็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานใ นความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ

5.กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอ ร์
(Computer Crime Law)
เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระ บบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม

6.กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Funds Transfer Law)
เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น

» อาชญากรคอมพิวเตอร์

» วิธีการที่ใช้ในการกระทำความผิดทางอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

» ตัวอย่างพฤติกรรมที่มีความผิดตาม พ.ร.บ.นี้

» ความผิดของผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บ

» วิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและคอมพิวเตอร์

» พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

» การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์

» อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์

» การละเมิดลิขสิทธิ์

» ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

» การใช้อินเตอร์เน็ต ที่เสี่ยงต่อการผิดกฎหมายเทคโนโลยีและสารสนเทศ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย