สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

อุดมการณ์และระบอบการเมือง

อุดมการณ์เสรีนิยมคลาสสิค (Classical Liberalism)
อุดมการณ์เสรีนิยมสมัยใหม่ (Modern Liberalism)
อุดมการณ์อนุรักษ์นิยม (Conservatism)
อุดมการณ์สังคมนิยมและการปฏิวัติสังคม (Socialism)
ทฤษฎีแห่งรัฐของมาร์กซิสต์ (The Marxist Theory of the State)

อุดมการณ์อนุรักษ์นิยม

 (Conservatism)

  • Human limitation / Imperfect / Irrational / Ignorant / Violent / Victim of passion
    มนุษย์มีข้อจำกัด / ไม่สมบูรณ์ / ไม่มีเหตุผล / เพิกเฉย / รุนแรง / เป็นเหยื่อของความรู้สึกและอารมณ์ต่างๆ
  • Evolutionary view of social progress / Wisdom of the past
    ชอบให้สังคมค่อยๆ เปลี่ยนแปลง / ความรู้สั่งสมจากอดีต
  • Hierarchy / Order community / Common values / Law / Tradition
    ที่ต่ำที่สูง แบ่งชนชั้นวรรณะ / สังคมที่มีลำดับชั้น / ยึดติดกับค่านิยม / กฎหมาย / ประเพณี (เน้นคุณค่าของครอบครัว ศาสนา ชุมชน)

นักคิดที่สำคัญ คือ Edmund Burk (1729-1797)
- เกิดที่ Dublin ประเทศ Ireland
- เป็นสมาชิกฝ่าย Whig (ฝ่ายรัฐสภา) มุ่งเพื่อเสรีภาพทางการเมือง
- ต่อต้านความคิดของ Rousseau ที่ทำให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส
- เขียนหนังสือ “Reflections on the Revolution in France” (1790) สะท้อนถึงผลกระทบของการปฏิวัติที่อาจมีต่อประเทศต่างๆ ซึ่งเขาต้องการปกป้องประเทศอังกฤษ ไม่ให้เป็นแบบประเทศฝรั่งเศส ที่มีการล้มล้างสถาบันกษัตริย์
- ต่อต้านเสรีนิยม / ความคิดเชิงปฏิวัติ
- โจมตีแนวความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติชองมนุษย์ (ของอุดมการณ์เสรีนิยม)

ธรรมชาติ คือ พัฒนาการของประวัติศาสตร์ ซึ่งก็คือ สิ่งที่สังคมสั่งสม ตกทอดมา สิ่งต่างๆ จะปรับตัวของมันเอง ไม่ต้องแทรกแซง ไม่ต้องยุ่งกับมัน แล้วจะดีเอง เช่น ระบอบกษัตริย์ของประเทศอังกฤษ จากกลุ่มขุนนางก็กลายเป็น สภาขุนนาง ส่วนประชาชนก็เข้ามามีส่วนร่วมกลายเป็น สภาผู้แทน แสดงถึงลักษณะที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง



- ยกย่องเทิดทูนความเคยชินเก่าๆ ได้แก่ ชนชั้น (ปฏิบัติตามหน้าที่) มรดกตกทอด อคติ

คุณค่าของอคติ - ธรรมชาติ ได้แก่ ชาติกำเนิด และชนชั้น
- ความภูมิใจในชนชั้น และชาติ ทำให้เกิดความพยายามของแต่ละบุคคล ที่จะปกป้องกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สิน เกียรติยศ ชื่อเสียง ที่ได้มาของวงศ์ตระกูลและตัวเอง
ไม่มีอะไรเป็นธรรมชาติไปมากกว่า สัญชาตญาณ ทำให้เกิดการต่อต้านความไม่ยุติธรรม ส่งผลให้มุ่งรักษาเสรีภาพของสังคม

- โจมตีเรื่องความเสมอภาค
ความเสมอภาคไม่มีอยู่จริง สมมติกันเอง สังคมต้องประกอบด้วยชนชั้น หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องมีชนชั้นหนึ่งเหนืออีกชนชั้นหนึ่ง ธรรมชาติเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ได้บอกว่าอะไรอยู่ต่ำ อะไรอยู่สูง

- โจมตีเรื่องเจตจำนงเสรี
เสียงข้างมากไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป เจตจำนงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ โจมตีเรื่องกฎของจำนวน (Law of Number) ว่าไม่ถูกต้อง เพราะว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นปัญหาทางคณิตศาสตร์

- โจมตีความคิดทำลายล้างแล้วสร้างใหม่ ถือว่าเป็นการเย้ยหยันธรรมชาติที่น่าอดสู
- ยกย่อง “รัฐบุรุษ” ซึ่งมีลักษณะดังนี้
1) มีแนวโน้มรักษาสิ่งต่างๆ ไว้
2) มีพรสวรรค์ที่จะปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น

- โจมตีหลักเหตุผลทั่วไป ถือว่าระบบใดอิงเหตุผล บุคคลจะไร้ประสิทธิภาพ ในภาวะวิกฤติ ต้องปลุกอคติ และความเป็นชาติ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย