สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์

เบื้องหลังแห่งความสำเร็จ

โดย อาจารย์รัตนา ประชาทัย รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

องค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์
ความฉลาดทางอารมณ์กับความสำเร็จของบุคคล
การพัฒนาทักษะความฉลาดทางอารมณ์

การพัฒนาทักษะความฉลาดทางอารมณ์

      เนื่องจากความฉลาดทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์อย่างมากกับการประสบความสำเร็จในชีวิตของบุคคล จึงเป็นหน้าที่ของบิดามารดา ครู อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องจักต้องร่วมกันพัฒนาทักษะความฉลาดทางอารมณ์ตั้งแต่วัยเด็ก แนวทางในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ทำได้ดังนี้

  1. ฝึกการตระหนักรู้อารมณ์ของตนเองคือ การทำความเข้าใจ ตระหนักรู้อารมณ์ของตนเองว่ามี อะไรเกิดขึ้นในใจ สามารถรับรู้ความรู้สึกของตนเองได้ หลีกเลี่ยงการดูถูกหรือตำหนิติเตียน ให้ความรู้ เกี่ยวกับการเข้าใจตนเอง เข้าใจคนอื่น
  2. ฝึกการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ในกรณีที่เกิดความผิดหวังหรือความเศร้าเสียใจ โดยสามารถปรับปรุงตนเมื่อเผชิญกับความรู้สึกนั้น และนำอารมณ์กลับมาสู่สภาพปกติให้เร็วที่สุด
  3. ฝึกความสามารถในการจูงใจตนเองคือจะต้องรู้จักควบคุมตนเอง ให้กำลังใจตนเอง และสร้างแรงบันดาลใจที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุเป้าหมายในชีวิต
  4. ฝึกความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่นคือสามารถตรวจสอบ อารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของตนเองและผู้อื่น
  5. ฝึกความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างมีศิลปะในการสร้างสัมพันธภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รู้เขารู้เรา และสามารถจัดการกับความขัดแย้งระหว่างบุคคล

  จากที่กล่าวมาทั้งหมดอาจสรุปได้ว่า ความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญต่อการประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะความฉลาดทางอารมณ์มิได้ถูกกำหนดมาจากพันธุกรรม และไม่ได้พัฒนาสมบูรณ์ตอนวัยเด็กเหมือนความฉลาดทางสติปัญญา หากแต่สามารถพัฒนาได้โดยการเรียนรู้ตลอดเวลา การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์จึงต้องครอบคลุมทั้ง 5 ประการดังกล่าว อย่างไรก็ดีเป็นที่ยอมรับกันว่าความฉลาดทางอารมณ์เป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตของบุคคล นักจิตวิทยามีความเห็นว่า โรงเรียนควรมีบทบาทในการส่งเสริมให้เด็กมีทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์เท่ากับความฉลาดทางสติปัญญา เพราะผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ของการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ก็คือ การรู้จักควบคุมตนเอง การเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น และความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความสามารถพื้นฐานเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรปลูกฝังเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของสังคม ด้วยเหตุนี้ ความฉลาดทางอารมณ์จึงมีความสำคัญเท่าเทียมกับความฉลาดทางสติปัญญาในทุกสถานการณ์ของชีวิต ซึ่งมีค่าควรแก่การปลูกฝังให้กับทุกคนในสังคม เอกสารอ้างอิง

  • กรมสุขภาพจิต. (2544). รายงานวิจัยการพัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สำหรับประชาชนไทย อายุ 12-60 ปี.กรุงเทพฯ : วงศ์กมลโปรดักชั่นจำกัด.
  • ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2547-2548 , พฤศจิกายน-มกราคม). “ การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับผู้บริหาร ,” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2 (5) : 52-57.
  • ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล. (2546). “ ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์,”ในจิตวิทยาสำหรับนักเศรษฐศาสตร์. หน้า 61-67. กรุงเทพฯ : งานจักรกลการพิมพ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ.
  • พวงรัตน์ เกษรแพทย์ และ ดุษฎี โยเหลา. (2546, 1 กันยายน). “ การศึกษาเชาวน์อารมณ์ในฐานะตัวกำหนดความสำเร็จของผู้บริหาร ” วารสารพฤติกรรมศาสตร์ฉบับปริทัศน์. 9: 17-33.
  • โสภณ พวงสุวรรณ. (2544). “ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ ) กับผู้นำ,”จอมบึง. 4 : 1-7. “ 5 องค์ประกอบของ EQ,” (2547). ใน ใกล้หมอ. หน้า 46-49. กรุงเทพฯ : นิน่าอุตสาหกรรม จำกัด.

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย