ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
ทฤษฎีแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่
(Plate Tectonics)
การศึกษาสภาพธรณีวิทยาของพื้นผิวโลกทำให้ยืนยันได้ว่าผิวโลกต่อเนื่องลงไปถึงด้านล่าง
ได้เกิดมีการเคลื่อนที่จริงๆ การเคลื่อนที่มีทั้งไปทางด้านข้างและขึ้นลงตามแนวดิ่ง
แต่การแปรเปลี่ยน
ของผิวโลกตามทฤษฎีการแยกตัวของทวีปก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากโดยมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและผู้ที่คัดค้าน
มีผู้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการแยกตัวของพื้นมหาสมุทร (Seafloor spreading) เช่น B.C.
Heezen, H.H. Hess และ R.S. Dietz เป็นต้น
โดยทฤษฎีนี้มีใจความสำคัญมาจากการแยกตัวที่พื้นมหาสมุทร
ออกจากกันเป็นแนวยาวโดยมีวัสดุจากใต้ชั้นเปลือกโลกแทรกขึ้นมา
เย็นตัวแข็งเกิดเป็นพื้นมหาสมุทร ใหม่แล้วก็แยกจากกันออกไปอีกเรื่อย ๆ
ในทิศทางตั้งฉากกับรอยแยกนี้
วัสดุที่แทรกขึ้นมาทำให้เกิดเป็นโครงสร้างเทือกเขากลางสมุทร (Mid-Oceanic Ridge)
การเคลื่อนที่ออกจากกันของพื้นมหาสมุทรถูกนำไปสัมพันธ์กับลักษณะของเปลือกโลกบริเวณร่องลึกที่พื้นมหาสมุทร
(Trench) แนวภูเขาไฟรูปโค้ง (Volcanic arcs)
และเทือกเขาสูงใกล้ขอบทวีปแล้วจึงทำให้เกิดเป็นแนวคิดต่อเนื่องว่าชั้นส่วนบนของโลกน่าจะมีลักษณะเป็นแผ่นประสานกัน
แผ่นนี้มีทั้งส่วนที่เป็นทวีปและพื้นมหาสมุทร มีการเกิดขึ้นในบางส่วนของแผ่น
การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก( เพลทเทคโทนิคส์ : Plate tectonics)
เปลือกโลกเหมือนเปลือกไข่แตกร้าว มีแผ่นหลายแผ่นเรียงชิดติดกันเรียกว่า
เพลต (Plate) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 เพลต เพลตที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ เพลตแปซิฟิก
เพลตอเมริกาเหนือ เพลตอเมริกาใต้ เพลตยูเรเซีย เพลตแอฟริกา เพลตอินโด-ออสเตรเลีย
และเพลตแอนตาร์กติก เป็นต้น เพลตแปซิฟิกเป็นเพลตที่ใหญ่ที่สุดและไม่มีเปลือกทวีป
มีอาณาเขตหนึ่งในสามของพื้นผิวโลก
เพลตทุกเพลตเคลื่อนตัวเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างอยู่ตลอดเวลา
การเคลื่อนตัวของเพลต
กระบวนการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก
เพลตประกอบด้วยเปลือกทวีปและเปลือกมหาสมุทรวางตัวอยู่บนแมนเทิลชั้นบนสุด
ซึ่งเป็นของแข็งในชั้นลิโทสเฟียร์
ลอยอยู่บนหินหนืดร้อนในชั้นแอสทีโนสเฟียร์อีกทีหนึ่ง
หินหนืด (Magma)
เป็นวัสดุเนื้ออ่อนเคลื่อนที่หมุนเวียนด้วยการพาความร้อนภายในโลก
คล้ายการเคลื่อนตัวของน้ำเดือดในกาต้มน้ำ
การเคลื่อนตัวของวัสดุในชั้นแอสทีโนสเฟียร์ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวเพลต
เราเรียกกระบวนการเช่นนี้ว่า ธรณีแปรสัณฐาน หรือ เพลตเทคโทนิคส์ (Plate
Tectonics)
- การพาความร้อนจากภายในของโลกทำให้วัสดุในชั้นแอสทีโนสเฟียร์ (Convection
cell) ลอยตัวดันพื้นมหาสมุทรขึ้นมากลายเป็น สันกลางมหาสมุทร (Mid-ocean ridge)
หินหนืดร้อนหรือแมกม่าซึ่งโผล่ขึ้นมาผลักพื้นมหาสมุทรให้เคลื่อนที่ขยายตัวออกทางข้าง
- เนื่องจากเปลือกมหาสมุทรมีความหนาแน่นมากกว่าเปลือกทวีป
ดังนั้นเมื่อเปลือกมหาสมุทรชนกับเปลือกทวีป เปลือกมหาสมุทรจะมุดตัวต่ำลงกลายเป็น
เหวมหาสมุทร (Trench) และหลอมละลายในแมนเทิลอีกครั้งหนึ่ง
-
มวลหินหนืดที่เกิดจากการรีไซเคิลของเปลือกมหาสมุทรที่จมตัวลงเรียกว่าพลูตอน(Pluton)
มีความหนาแน่นน้อยกว่าเปลือกทวีป จึงลอยตัวแทรกขึ้นมาเป็นแนวภูเขาไฟ เช่น
เทือกเขาแอนดีสทางฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้
รอยต่อของขอบเพลต (Plate boundaries)
- เพลตแยกจากกัน (Divergent) เมื่อแมกม่าในชั้นแอสทีโนสเฟียร์ดันตัวขึ้น
ทำให้เพลตจะขยายตัวออกจากกัน
แนวเพลตแยกจากกันส่วนมากเกิดขึ้นในบริเวณสันกลางมหาสมุทร
- เพลตชนกัน (Convergent) เมื่อเพลตเคลื่อนที่เข้าชนกัน
เพลตที่มีความหนาแน่นสูงกว่าจะมุดตัวลงและหลอมละลายในแมนเทิล
ส่วนเพลตที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าจะถูกเกยสูงขึ้นกลายเป็นเทือกเขา เช่น
เทือกเขาหิมาลัย เกิดจากการชนกันของเพลตอินเดียและเพลตเอเชีย เทือกเขาแอพพาเลเชียน
เกิดจากการชนกันของเพลตอเมริกาเหนือกับเพลตแอฟริกา
- เพลตเฉือนกัน (Transform fault) เป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่
มักเกิดขึ้นในบริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทร แต่บางครั้งก็เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่ง เช่น
รอยเลื่อนแอนเดรียส์ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
เกิดจากการเคลื่อนที่สวนกันของเพลตอเมริกาเหนือและเพลตแปซิฟิก
ทวีปเลื่อน ( Continental Drift )
ทฤษฎีแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ (Plate Tectonics)
โครงสร้างทางธรณีวิทยาของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
ระดับความรุ่นแรงของแผ่นดินไหวที่วัดด้วยมาตราเมอร์คัลลี่
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
โครงสร้างทางธรณีวิทยาภาคต่างๆของประเทศไทย