สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สังคมวิทยา
<<< สารบัญ >>>
พฤติกรรมร่วม (Collective Behavior)
ความไม่เป็นระเบียบของสังคม (Social Disorganization)
ความไม่เป็นระเบียบของสังคม หมายถึง
ภาวะสังคมหรือสถาบันพื้นฐานทางสังคมไม่สามารถที่จะควบคุมสมาชิกของสังคมให้ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนที่สังคมวางไว้ได้
หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า หมายถึง
ความไม่เหมาะสมในระบบสังคมที่ทำให้จุดประสงค์ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป
สาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่เป็นระเบียบของสังคม พอสรุปเป็นข้อๆ
ได้ดังต่อไปนี้
1) เกิดจากความล้มเหลวของกลุ่มจารีตประเพณี
หรือสถาบันพื้นฐานไม่สามารถจะรักษาค่านิยม ความมุ่งหวัง กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ได้
เพราะสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้เกิดความไม่เป็นระเบียบขึ้นในสังคม
2) ผลประโยชน์ของกลุ่มคนขัดกัน เช่น กลุ่มนายจ้างและกลุ่มลูกจ้าง
ทำให้มีการประท้วงต่าง ๆ ขึ้น
3) สถานภาพและบทบาทที่ขัดแย้งกัน ทำให้เกิดความไม่เป็นระเบียบขึ้นในสังคม
เช่น แม่มีสถานภาพเป็นแม่ การเลี้ยงดูลูกเป็นบทบาทของแม่
แต่เมื่อแม่ไม่มีเงินเลี้ยงดูลูก เกิดไปลักขโมยสิ่งของ นั่นคือ สถานภาพแม่
บทบาทเลี้ยงดูลูกไปขัดกับ สถานภาพโจรและบทบาทลักขโมย
จึงเกิดความไม่เป็นระเบียบขึ้นในสังคม
4) ความผิดพลาดในการให้การอบรม เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม
สถาบันหรือองค์การต่าง ๆ ในสังคม เช่น ครอบครัว ศาสนา โรงเรียน สื่อสารมวลชน
เป็นต้น ให้การอบรมที่ผิด ย่อมเกิดความไม่เป็นระเบียบขึ้นในสังคม เช่น พ่ออบรมลูก
ไม่ให้ดื่มสุรา แต่ตนเองดื่มและใช้ให้ลูกไปซื้อมาให้ด้วย
5) ความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหวัง เช่นกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
ที่สังคมให้คนปฏิบัติตาม คือ ความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความมุ่งหวัง
ก็คือ อยากให้ทุกคนในสังคมมีความเป็นอยู่ที่ดี ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
แต่เมื่อปฏิบัติตามแล้วอาจไม่เกิดผลตรงกับความมุ่งหวังก็ได้ ทำให้คนไม่ปฏิบัติตาม
แล้วก็ก่อให้เกิดความไม่เป็นระเบียบขึ้นในสังคม
<<< สารบัญ >>>