ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

ตำลึง

เป็นหน่วยในมาตราเงินอย่างหนึ่งกับเป็นหน่วยในมาตราชั่งน้ำหนักอีกอย่างหนึ่ง ในสมัยโบราณมาตราเงินกับมาตราชั่งน้ำหนัก ใช้ปนกันแทบทุกชาติ ทั้งนี้เพราะมาตราเงินมีวัตถุที่บอกพิกัดมากน้อยต่าง ๆ เช่น บาท สลึง เฟื้อง ฯลฯ ทำด้วยเงินหรือโลหะอื่น ๆ เรียกรวม ๆ ว่า เงินตรา เป็นหลักสำหรับใช้แลกเปลี่ยนเป็นราคาสิ่งของ ที่ซื้อขายกัน เราเอาเงินตรานั้นมาใช้เป็นลูกชั่งหรือตุ้มน้ำหนัก ชั่งสิ่งของให้รู้น้ำหนักด้วย ดังนั้นมาตราเงินกับมาตราชั่งน้ำหนัก ก็เลยปนกันเป็นดังนี้ มาแต่โบราณ

มาตราเงิน  ในสมัยสุโขทัยคงจะเป็นดังนี้  1 ชั่ง = 20  ตำลึง  1 ตำลึง = 4 บาท   1 บาท = 4 สลึง  1 สลึง = 2 เฟื้อง  ถัดจากเฟื้องมาก็เป็นเบี้ย ชั้นเดิมว่ามีอัตรา 400 เบี้ยต่อเฟื้อง

ในสมัยอยุธยา มาตราเงินคงเป็นแบบเดียวกับสมัยสุโขทัย เฟื้องหนึ่งเท่ากับ 800 เบี้ย เงินที่ใช้มาแต่โบราณเป็นเงินกลม เรียกว่า เงินพดด้วง ในสมัยสุโขทัยมีขนาด 1 ตำลึง และ 1 บาท สมัยอยุธยาใช้เงินพดด้วงอย่างเดียว มีสี่ขนาดคือ 1 บาท 2 สลึง 1 สลึง และ 1 เฟื้อง

สมัยรัตนโกสินทร์ มาตราเงินคงเป็นอย่างเดียวกับสมัยอยุธยา ต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่สี่ โปรดให้ตั้งโรงกษาปน์ เมื่อปี พ.ศ.2403  และทำเงินตราใหม่เป็นรูปแบบกลมเรียกกันว่า เงินเหรียญ มีสี่ขนาดคือ  1 บาท 2 สลึง และ 1 เฟื้อง  และทำเหรียญขนาด 1 ตำลึง กึ่งตำลึง  และกึ่งเฟื้อง ไว้ด้วย แต่มิได้ใช้ในท้องตลาด ต่อมาในปี พ.ศ.2405 โปรด ฯ ให้ทำเหรียญดีบุก เป็นเงินปลีกขึ้นใช้แทนเบี้ยอีกสองขนาด ขนาดใหญ่เรียกว่า "อัฐ"  กำหนดให้ 8 อัฐ เป็นเฟื้อง  ขนาดเล็กเรียกว่า "โสฬส"  กำหนดให้ 16 โสฬส เป็นเฟื้อง

พ.ศ.2406  โปรดให้ทำเหรียญทองคำขึ้นสามขนาด ขนาดใหญ่เรียกว่า "ทศ" ราคา 10 อัน ต่อ 1 ชั่ง คือ อันละ 8 บาท  ขนาดกลางเรียกว่า "พิศ" ราคาอันละ 4 บาท  ขนาดเล็กเรียกว่า "พัดดึงส์" ราคาอันละ 10 สลึง ต่อมาในปี พ.ศ.2408   โปรดให้ทำเหรียญทองแดงขึ้นใช้เป็นเงินปลีกมีสองขนาด  ขนาดใหญ่เรียกว่า "ซีก" สองอันเป็นเฟื้อง ขนาดเล็ก เรียกว่า "เสี้ยว" สี่อันเป็นเฟื้อง

ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ห้า ในปี พ.ศ.245/ ได้กำหนดมาตราเงินขึ้นใหม่ ถือเอา "บาท" เป็นมาตรฐานแบ่งบาทออกเป็น 100 ส่วน เรียกว่า "สตางค์"  มีอัตรา 100 สตางค์เท่ากับ 1 บาท  เป็นมาตราเดียว แต่คนเคยชินกับมาตราอย่างเก่า จึงมักเอามาตราเก่ามาเทียบ เช่น 3 สตางค์ เท่ากับ 1 ไพ  12  สตางค์ = 1 เฟื้อง  25 สตางค์ = 1 สลึง  คำว่า ตำลึง และชั่ง ก็ยังใช้พูดกัน ถือตามมาตราเก่า

มาตราชั่ง  ตั้งแต่ " ไพ " ถึง "ชั่ง "  เป็นอย่างเดียวกับมาตราเงิน เหนือไพ ลงไปเปลี่ยนเพิ่มมาตราสำหรับชั่งน้ำหนักน้อย ให้ละเอียดขึ้น และต่อชั่งขึ้นมา เพิ่มมาตราสำหรับชั่งน้ำหนักมาเข้าอีก มาตรานี้อยู่ในตำราเรียกว่า "เบญจมาตรา" ของโบราณกำหนดว่าเป็นมาตราสำหรับชั่งทอง ท่านผูกเป็นคำกลอนไว้ว่า

"ทองพาราหนึ่งแท้  ยี่สิบดุลแน่  ดุลหนึ่งยี่สิบชั่งนา
ชั่งหนึ่งยี่สิบตำลีงหนา  ตำลึงหนึ่งว่า  สี่บาทถ้วนจงจำไว้
บาทหนึ่งสี่สลึงไทย  สลึงหนึ่งท่านใช้  สองเฟื้องจงจำไว้นา
 เฟื้องหนึ่งนั้นสี่ไพหนา  ไพหนึ่งท่านว่า  สองกล่ำจงกำหนดไว้
กล่ำหนึ่งสองกล่อมตามใช้  กล่อมหนึ่งลงไป สองเมล็ดข้าวตามมีมา "

เนื่องจากไทยมีการค้าขายกับจีน แขก ฝรั่ง มาตั้งแต่สมัยอยุธยา จึงเกิดมาตราชั่งขึ้นอีกแบบคือ
2  เมล็ดข้าว  =  1 กล่อม
2  กล่อม  =  1 กล่ำ
2 กล่ำ  = 1 ไพ
4 ไพ  = 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง  =  1 สลึง
 สลึง  =  1 บาท
4 บาท  =  1 ตำลึง
20  ตำลึง  =  1 ชั่ง
100  ชั่ง =  1 หาบ

พ.ศ. 2466 ออก พ.ร.บ. มาตราชั่งตวงวัด- บัญญัติให้ใช้มาตราเมตริก และให้เทียบวิธีประเพณีไว้ดังนี้

1 ชั่งหลวง = 1 หาบหลวง = 60 กิโลกรัม

ชั่งหรือชั่งหลวง คือ ชั่ง 16 ตำลึงละ 10 สลึง 100 ชั่งเป็น หาบ

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย