ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

พระบรมครู

ทรงสอนโดยคำนึงถึงความพร้อมของผู้ฟัง

           ความพร้อมในพระพุทธศาสนาเรียกว่า มีอินทรีย์แก่กล้า เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ใหม่ๆ ก่อนที่จะทรงสอนสาวกคนแรก ได้ทรงพิจารณาดูว่า   ใครมีอินทรีย์แก่กล้า พอจะรับคำสอนของพระองค์ได้บ้าง ก็ทรงเห็นว่าปัญจวัคคีย์มีความพร้อม หรือมีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว จึงได้เสด็จไปทรงแสดงปฐมเทศนา โปรดปัญจวัคคีย์เหล่านั้น อีกตัวอย่างหนี่ง พระวักกลิเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เพระต้องการจะเฝ้าดูพระพุทธเจ้า เมื่อพระวักกลิยังมีอินทรีย์ไม่แก่กล้า พระพุทธเจ้าก็ทรงปล่อยไปก่อน พอมีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว จึงทรงสอนด้วยวิธีการอันแยบคายต่างๆ คำสอนอย่างหนึ่งมีอยู่ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นถือว่าเห็นตถาคต ผู้ใดไม่เห็นธรรม ผู้นั้นจะติดตามตถาคตอยู่สัก 100 ปี ก็หาเห็นตถาคตไม่" นี้เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อย ความจริงพระพุทธเจ้าทรงมีกิจวัตร อยู่ประการหนึ่งคือ ในเวลาใกล้รุ่งทุกคืน ทรงพิจารณาความพร้อม ของคนที่พระองค์ทรงสอนในวันรุ่งขึ้น บางคนที่ยังไม่พร้อม ก็ทรงเตรียมให้พร้อมก่อน อย่างที่เรียกกันว่า ทรงสอนเพื่อให้เป็นอุปนิสัย ซึ่งได้แก่ ทรงเตรียมผู้ฟังให้พร้อมก่อนนั่นเอง


           วิธีการนี้ก็ใช้อยู่ในวงการศึกษาปัจจุบัน คือการสอนต้องคำนึงถึงความพร้อมของเด็ก ถ้าเด็กยังไม่พร้อม เช่นอายุน้อยเกินไป สติปัญญายังไม่พร้อมที่จะเรียนหนังสือได้ เด็กยังเข้าสังคมกับเพื่อนไม่ได้ หรือยังไม่คุ้นกับโรงเรียน เด็กยังพูดภาษาไทยกลางไม่ได้ เช่นเด็กที่พูดภาษาถิ่น , ภาษามลายู , ภาษาเขมร , ภาษาส่วย ก็ต้องรอให้เด็กพร้อม หรือเตรียมเด็ก ให้พร้อมเสียก่อนจึงสอน ถึงการสอนวิชาในชั้นสูงๆ ขึ้นไปก็เช่นเดียวกัน ต้องทบทวนภูมิหลัง เตรียมนักเรียนให้พร้อมเสียก่อน ถ้าสอนโดยนักเรียนยังไม่พร้อม จะไม่ได้รับผลเท่าที่ควร

» ทรงพร้อมที่จะสอน

» ทรงสอนด้วยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

» ทรงสอนโดยมีจุดมุ่งหมาย

» ทรงสอนโดยคำนึงถึงความพร้อมของผู้ฟัง

» ทรงสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างฯ

» ทรงสอนโดยใช้สื่อภาษาที่เข้าใจง่าย

» ทรงสอนจากสิ่งที่รู้ไปหาสิ่งที่ไม่รู้

» ทรงสอนจากยากไปหาง่าย

» ทรงสอนโดยจัดคำสอนเป็นข้อๆ

» ทรงสอนตามความเข้าใจของผู้อื่น

» ทรงสอนโดยวิธีซักถาม

» ทรงสอนให้ผู้ฟังลงมือปฎิบัติ

» ทรงสอนโดยใช้อุปกรณ์การสอน

» ทรงสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาฯ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย