สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

ยาเสพติด

ความหมายของยาเสพติด
ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้

  1. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
  2. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
  3. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
  4. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ

ประเภทของยาเสพติด
ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ ฝิ่น เอ๊กซ์ตาซี

แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา เป็นต้น เฮโรอีน ยาบ้า
  • ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น

แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

  • ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ
  • ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
  • ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 3 ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
  • ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 4 คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก 12 ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้ ผสมผสาน เห็ดขี้ควาย
  • ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1 ถึง 4 ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น

แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

  • ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท
  • ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน
  • ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย
  • ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา

แบ่งตามองค์การอนามัยโลก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภท คือ

  • ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทิดีน
  • ประเภทยาปิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่ เซโคบาร์ปิตาล อะโมบาร์ปิตาล พาราลดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น
  • ประเภทแอลกอฮอล ได้แก่ เหล้า เบียร์ วิสกี้
  • ประเภทแอมเฟตามีน ได้แก่ แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน
  • ประเภทโคเคน ได้แก่ โคเคน ใบโคคา
  • ประเภทกัญชา ได้แก่ ใบกัญชา ยางกัญชา
  • ประเภทใบกระท่อม
  • ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็นที เมสตาลีน เมลัดมอนิ่งกลอรี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด
  • ประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจาก 8 ประเภทข้างต้น ได้แก่ สารระเหยต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด และบุหรี่

วิธีการเสพยาเสพติด
กระทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ

  • สอดใต้หนังตา
  • สูบ
  • ดม
  • รับประทานเข้าไป
  • อมไว้ใต้ลิ้น
  • ฉีดเข้าเหงือก
  • ฉีดเข้าเส้นเลือด
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • เหน็บทางทวารหนัก

ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย ได้แก่

  • ยาบ้า
  • ยาอี ยาเลิฟ หรือ เอ็กซ์ตาซี
  • ยาเค
  • โคเคน
  • เฮโรอีน
  • กัญชา
  • สารระเหย
  • แอลเอสดี
  • ฝิ่น
  • มอร์ฟีน
  • กระท่อม
  • เห็ดขี้ควาย

สาเหตุของการติดยาเสพติด มีหลายประการ ดังนี้คือ

  1. อยากลอง อยากรู้ อยากเห็น อยากสัมผัส ซึ่งเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยคิดว่า "ไม่ติด" แต่เมื่อลองเสพเข้าไปแล้วมักจะติด
  2. ถูกเพื่อนชักชวน ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเยาวชน ทำตามเพื่อน เพราะต้องการ การยอมรับจากเพื่อนฝูง หรือถูกชักจูงว่าใช้แล้วทำให้สมองปลอดโปร่ง หรือใช้แล้วทำให้ขยันจึงเหมาะแก่การเรียน และการทำงาน
  3. ถูกหลอกลวง โดยอาศัยรูปแบบสีสันสวยงาม ทำให้ผู้รับไม่อาจทราบได้ว่า สิ่งที่ตนได้รับเป็นยาเสพติด
  4. ใช้เพื่อลดความเจ็บปวดทางกาย อันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บ จนเกิดการติดยา เพราะใช้เป็นประจำ
  5. เกิดจากความคนอง และขาดสติยั้งคิด ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นยาเสพติด แต่อยากแสดง ความเก่งกล้า อวดเพื่อน จึงชวนกันเสพจนติด
  6. ภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว เอื้ออำนวยที่จะส่งเสริม และผลักดันให้หันเข้าหายาเสพติด เช่น ครอบครัวแตกแยก สมาชิกในครอบครัวขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภาวะเศรษฐกิจบีบบังคับให้ทำเพื่อความอยู่รอด อยากรวยเร็ว หรือพักอาศัยอยู่ ในแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด

โทษ พิษภัย ของยาเสพติด
การใช้ยาเสพติด มีโทษและพิษภัยรอบตัว นอกจากจะส่งผลกระทบในทางไม่ดีโดยตรงต่อตัวผู้เสพแล้ว ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ยังส่งผลกระทบทางอ้อมไปยังครอบครัวผู้เสพ ตลอดจนเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติอีกด้วย

วิธีสังเกตุอาการผู้ติดยาเสพติด
จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจดังต่อไปนี้

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก

  • สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
  • ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก
  • ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
  • ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง
  • มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน และ/หรือ ท้องแขน
  • ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย

การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตุได้จาก

  • ป็นคนเจ้าอารมย์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล
  • ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
  • ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
  • พูดจากร้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง
  • ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ
  • ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ
  • ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย
  • พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว
  • มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
  • ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ
  • ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ และกลับบ้านผิดเวลา
  • ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย
  • มีอาการวิตกกังวล เศร้าซึม สีหน้าหมองคล้ำ

การสังเกตุอาการขาดยา ดังต่อไปนี้

  • น้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย
  • กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอุจาระเป็นเลือด
  • ขนลุก เหงื่อออกมากผิดปกติ
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก
  • ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด
  • มีอาการสั่น ชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง
  • เป็นตะคริว
  • นอนไม่หลับ
  • เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้

การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย การตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน

  • การตรวจขั้นต้น ราคาถูก ได้ผลเร็ว มีชุดตรวจสำเร็จรูป ความแม่นยำในการตรวจปานกลาง สดวกในการนำไปตรวจนอกสถานที่
  • การตรวจขั้นยืนยัน : เป็นการตรวจที่ให้ผลแม่นยำ แต่ใช้เวลาตรวจนาน ค่าใช้จ่ายสูง

การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งออกเป็น 3 ระบบคือ

  • ระบบสมัครใจ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน
  • ระบบต้องโทษ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดที่กระทำความผิดและถูกคุมขัง จะได้รับการบำบัดรักษา ในสถานพยาบาลที่กำหนดได้ตามกฎหมาย เช่น ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมหรือสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง กระทรวงยุติธรรม
  • ระบบบังคับบำบัด หมายถึง ผู้ที่ทางราชการตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย จะต้องถูกบังคับบำบัดตาม

พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2534
ในสถานพยาบาลที่จัดขึ้นตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว เป็นระยะเวลา 6 เดือน และขยายได้จนถึงไม่เกิน 3 ปี ระบบนี้ยังไม่เปิดใช้ในขณะนี้ การบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มี 4 ขั้นตอน คือ

  • ขั้นเตรียมการก่อนบำบัดรักษา (Pre - admission) เพื่อศึกษาประวัติภูมิหลังของผู้ติดยาเสพติดทั้งจากผู้ขอรับการรักษา และครอบครัว
  • ขั้นถอนพิษยา (Detoxification) เป็นการบำบัดรักษาอาการทางกายที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด โดยผู้ขอรับการรักษา สามารถเลือกใช้บริการแบบผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยใน ก็ได้ตามสดวก
  • ขั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation) เป็นการบำบัดรักษาเพื่อปรับเปลี่ยน ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ พฤติกรรม เพื่อให้รู้จักตนเอง และมีความเข้มแข็งในจิตใจ เพื่อให้ผู้รับการบำบัดมีความเชื่อมั่นในการกลับไปดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยไม่หวนกลับไปเสพซ้ำอีก
  • ขั้นติดตามดูแล (After - case) เป็นการติดตามดูแลผู้เลิกยาเสพติดที่ได้ผ่านการบำบัดครบทั้ง 3 ขั้นตอนข้างต้นแล้ว เพื่อให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาและให้กำลังใจผู้เลิกยาเสพติด ให้ดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคมได้ยิ่งขิ้น

สถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดยาเสพติด หรือ ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
สามารถขอรับการบำบัดรักษาได้ตามสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาล และเอกชน ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค ดังต่อไปนี้

ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถใช้บริการได้ที่โรงพยาบาล และคลีนิกยาเสพติด ในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้แก่ โรงพยาบาล

  • โรงพยาบาลราชวิถี โทร. 0 - 2246 - 0052 ต่อ 4302 1.2
    โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า โทร. 0 - 2246 - 1400 ถึง 1428 ต่อ 3187 1.3
    โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพฯ โทร. 0 - 2411 - 24191 1.4
    โรงพยาบาลนิติจิตเวช โทร 0 - 2441 - 9026 - 9 1.5
    โรงพยาบาลตากสิน โทร. 0 - 2863 - 1371 ถึง 2, 0 - 2437 - 0123 ต่อ 1153,1248
    คลินิกยาเสพติดในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กทม.
    คลินิกยาเสพติด 1 ลุมพินี โทร. 0 - 2250 - 0286 1.7
    คลินิกยาเสพติด 2 สี่พระยา โทร. 0 - 2236 - 4174 1.8
    คลินิกยาเสพติด 3 บางอ้อ โทร. 0 - 2424-6933 1.9
    คลินิกยาเสพติด 4 บางซื่อ โทร. 0 - 2587 - 0873 1.10
    คลินิกยาเสพติด 5 ดินแดน โทร. 0 - 2245 - 0640 1.11
    คลินิกยาเสพติด 6 วัดธาตุทอง โทร. 0 - 2391 - 8539 1.12
    คลินิกยาเสพติด 7 สาธุประดิษฐ์ โทร. 0 - 2284 - 3244 1.13
    คลินิกยาเสพติด 8 ซอยอ่อนนุช โทร. 0 - 2321 - 2566 1.14
    คลินิกยาเสพติด 9 บางขุนเทียน โทร. 0 - 2468 - 2570 1.15
    คลินิกยาเสพติด 10 สโมสรวัฒนธรรม โทร. 0 - 2281 - 9730 1.16
    คลินิกยาเสพติด 11 ลาดพร้าว โทร. 0 - 2513 - 2509 1.17
    คลินิกยาเสพติด 12 วงศ์สว่าง โทร. 0 - 2585 - 1672 1.18
    คลินิกยาเสพติด 13 ภาษีเจริญ โทร. 0 - 2413 - 2435 1.19
    คลินิกยาเสพติด 14 คลองเตย โทร. 0 - 2249 - 1852 1.20
    คลินิกยาเสพติด 15 วัดไผ่ตัน โทร. 0 - 2270 - 1985 2.
     
  • ในส่วนภูมิภาค ได้แก่ โรงพยาบาล
    โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สายด่วนปรึกษาปัญหายาเสพติด โทร. 02 - 1165 และ โทร. 0 - 2531 - 0080 ถึง 8 2.2
    โรงพยาบาลประจำจังหวัดทุกจังหวัด ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
     
  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประจำภาคเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 297 - 976 ถึง 7 2.4
    ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประจำภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โทร. (074) 467 - 453, (074) 467 - 468 2.5
    ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร. (043) 245 - 366 2.6
    ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร. (053) 612 - 607 2.7
    ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จังหวัดปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โทร. (073) 333 - 291 3.
    สถานพยาบาลที่ดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

  • บ้านพิชิตใจ แขวงประเวศ กทม. โทร. 0 - 2329 - 1353, 0 - 2329 - 1566 3.2
  • ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด คอมมูนิต้า อินคอน - อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โทร. 0 - 2563 - 1006 - 7, 01 - 2132505 -
  • อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โทร. 01 - 937 - 1345 -
  • อำเภอท่าแร่ จังหวัดสกลนคร โทร.01 - 2120804 3.3
  • ศูนย์เกิดใหม่ (ชาย) อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โทร. (032) 261038 - 40 3.4
  • ศูนย์เกิดใหม่ (หญิง) อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. (038) 541693 3.5
  • บ้านสันติสุข อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี โทร. 01 - 2181343 3.6
  • บ้านตะวันใหม่ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โทร. 01 - 2101573 3.7
  • บ้านนิมิตใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 277049, (053) 282495 11.

 วิธีการแจ้งข่าวสารยาเสพติด
การให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการแจ้งข้อมูลข่าวสารยาเสพติด เพื่อปราบปรามแหล่งผลิต แหล่งค้า แหล่งจำหน่าย และแหล่งมั่วสุมยาเสพติด เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินการตามกฎหมายนั้น นับเป็นการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อทางราชการและประเทศชาติ แต่ขณะเดียวกัน การกระทำดังกล่าวควรปฏิบัติด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง เพื่อมิให้ถูกคุกคามจากอิทธิพลของผู้ถูกจับกุมด้วย ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัย ผู้แจ้งข่าวสารสามารถเลือกปฏิบัติได้ 2 วิธีคือ

  1. แจ้งข่าวสารโดยไม่เปิดเผยตนเอง กรณีนี้ ผู้แจ้งสามารถแจ้งข่าวสารต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทุกสถานีทั่วประเทศ หรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ ปปส. โดยทำเป็นจดหมาย ไม่ต้องระบุชื่อผู้แจ้ง แต่ต้องให้รายละเอียดที่เป็นประโยชน์ในการสืบสวน ติดตาม กล่าวคือ ข้อมูลที่ให้ต้องครอบคลุมคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างชัดเจน
  2. แจ้งข่าวสารโดยแสดงตัวผู้แจ้ง โดยผู้แจ้งต้องมั่นใจได้ว่า ผู้รับแจ้งนั้นต้องสามารถเก็บความลับได้ และให้ความคุ้มครองแก่ผู้แจ้งได้ หากถูกคุกคามจากอิทธิพลของผู้ถูกจับกุม ทั้งนี้เพื่อขอความคุ้มครอง และแจ้งรายละเอียดของผู้ที่คุกคาม ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกฏหมายต่อไป

สถานที่รับแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติด
ผู้แจ้งข่าวสาร สามารถติดต่อแจ้งข่าวยาเสพติด ได้ที่หน่วยงานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด โทร.สายด่วน 02 - 1688
  • กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 0 - 2251 - 2726 และ 0 - 2252 - 7962
  • สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ถนนดินแดง เขตพญาไท กทม. 10400 โทร. 0 - 2245 - 9414, 0 - 22470901 - 19 ต่อ 258 หรือโทรสาร 0 - 2247 - 7217
  • สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคกลาง ถนนดินแดง เขตพญาไท กทม. 10400 โทร. 0 - 2245 - 9952, 0 - 2245 - 3972 หรือ โทรสาร 0 - 2245 - 952
  • ตู้ ป.ณ.123 สามเสนใน กทม. 10400
  • สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาคเหนือ บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา อำเภอเมือง ฯ จังหวัดเชียงใหม่ 20180 โทร. (053) 211793, (053) 212028 หรือ โทรสาร (053) 211808 และ (053) 211780
  • สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคใต้ 434 ถนนไทรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โทร. (074) 312088, (074) 323300 หรือ โทรสาร (074) 321514
  • สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบยาเสพติดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามที่ทำการป่าไม้เขต ถนนหน้าศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000 โทร. (043) 241029, (043) 344420 หรือ โทรสาร (043) 246 – 790

บทลงโทษเกี่ยวกับยาเสพติด

  • ผู้จำหน่ายหรือมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง น้ำหนักไม่เกิน 100 กรัม จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 50,000-500,000 บาท
  • เกิน 100 กรัม ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต มีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง โทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท
  • ผู้เสพเฮโรอีนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท มีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โทษจำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท ผู้ใดเสพกัญชา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • มีกัญชาไว้ในครอบครอง โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท
  • ผลิต (ปลูก) กัญชา จำคุกอย่างต่ำ 2 ปี และปรับอย่างต่ำ 20,000-150,000บาท

ตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533
กำหนดมาตรการควบคุมไม่ให้นำสารระเหยมาใช้ในทางที่ผิดไว้หลายประการและกำหนดให้ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว มีความผิดและต้องรับโทษ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ขายสารระเหยต้องจัดให้มีภาพหรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสารระเหย เพื่อเป็นการเตือนให้ระวังการใช้สารระเหยดังกล่าวผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  2. ห้ามไม่ให้ผู้ใดขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี เว้นแต่เป็นการขายโดยสถานศึกษาเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  3. ห้ามไม่ให้ผู้ใดขาย จัดหา หรือให้สารระเหยแก่ผู้อื่นซึ่งตนรู้หรือควรรู้ว่าเป็นผู้ติดสารระเหย ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  4. ห้ามไม่ให้ผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม หรือใช้อุบายหลอกลวงให้บุคคลอื่นใช้สารระเหย บำบัดความต้องการของร่ายกายหรือจิตใจ ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  5. ห้ามไม่ให้ผู้ใดใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ ไม่ว่าโดยวิธีสูดดมหรือวิธีอื่นใด ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ พึงระลึกเสมอว่า การเสพติดสารระเหยนอกจากจะเป็นโทษต่อร่างกายแล้ว ยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วย

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบยาเสพติด พ.ศ.2519

บททั่วไป
มาตรา 1
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด พ.ศ. 2519"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 พระราชบัญญัตินี้ "ยาเสพติด" หมายความว่า ยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และสารระเหย ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย

  • "กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด" หมายความว่า กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย และกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด [แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534]
  • "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด
  • "กรรมการ" หมายความว่า กรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และหมายความรวมถึงประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดด้วย
  • "เลขาธิการ" หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด
  • "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
  • "เจ้าพนักงาน" หมายความว่า ผู้ซึ่งเลขาธิการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราช บัญญัตินี้

มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ หรือของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการใดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือ เจ้าพนักงาน และของส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ ี่ของ ส่วนราชการที่มีอำนาจเกี่ยวกับยาเสพติด ให้คณะกรรมการเป็นผู้วินิจฉัยและวางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการและการประสานงาน
มาตรา 5 ให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเรียกโดยย่อว่า "ป.ป.ส." ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมตำรวจ อธิบดี กรมศุลกากร อธิบดีกรมอัยการ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นซึ่งคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งไม่เกินหกคน และเลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา 6 กรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้
มาตรา 7 กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะรัฐมนตรีให้ออก
(4) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เมื่อกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นแทนได้ กรรมการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งซ่อมหรือแต่งตั้งเพิ่ม อยู่ในตำแหน่งเท่าวาระที่เหลืออยู่ ของกรรมการอื่น
มาตรา 8 ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่ อยู่ในที่ประชุมให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
มาตรา 9 การประชุมทุกครั้ง ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวน ของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมการวินิจฉัยชี้ขาด ให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการ ลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียง ชี้ขาด
มาตรา 10 คณะกรรมการจะตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้
มาตรา 11 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรียกโดยย่อว่า "สำนักงาน ป.ป.ส." มีหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไป ตามมติ ของคณะกรรมการ และปฏิบัติงานธุรการอื่น
มาตรา 12 ให้มีเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และ จะให้มีรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยปฏิบัติราชการก็ได้
มาตรา 13 ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดแผนงานและมาตรการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิด ตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
(2) ควบคุมการสืบสวน สอบสวน และการฟ้องคดีความผิดตามกฎหมาย เกี่ยวกับยาเสพติด
(3) วางโครงการและดำเนินการ ตลอดจนสั่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
(4) ควบคุม เร่งรัด และประสานงานการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการที่มีอำนาจ หน้าที่ในการปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
(5) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ หรืองาน แผนงาน หรือโครงการของส่วนราชการ ที่มีอำนาจหน้าที่ ในการ ปฏิบัติการตามกฎหมาย เกี่ยวกับยาเสพติด
(6) ประสานงานและกำกับการเกี่ยวกับการบำบัดรักษาตัวผู้ติดยาเสพติด
(7) พิจารณาอนุมัติการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตามพระราช บัญญัตินี้
(8) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและ ปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ และกำหนด ให้สถานที่ ซึ่งใช้ในการประกอบธุรกิจใด ๆ เป็นสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการดังกล่าว
(9) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ
มาตรา 13 ทวิ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจ ออกประกาศกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดใน สถานประกอบการและประกาศกำหนดให้สถานที่ซึ่งใช้ในการประกอบธุรกิจใด ๆ เป็นสถาน ประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 13ตรี ในกรณีที่เจ้าพนักงานตรวจพบว่ามีการกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการตาม
มาตรา 13ทวิ หากเจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการ สถานประกอบการดังกล่าวไม่สามารถชี้แจงหรือพิสูจน์ให้คณะกรรมการเชื่อได้ว่าตนได้ใช้ความ ระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งปิดสถานประกอบการแห่งนั้น ชั่วคราว หรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการสำหรับการประกอบธุรกิจนั้น แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินครั้งละสิบห้าวันนับแต่วันที่เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการนั้นทราบ คำสั่ง ในกรณีที่สถานประกอบการซึ่งถูกสั่งปิดชั่วคราวหรือถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการตามวรรคหนึ่งเป็นสถานประกอบการซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมการประกอบธุรกิจ ตามกฎหมายอื่น ให้เลขาธิการแจ้งให้หน่วยงานซึ่งควบคุมการประกอบธุรกิจนั้นทราบ และ ให้หน่วยงานดังกล่าวถือปฏิบัติตามนั้น การสั่งปิดชั่วคราวหรือการสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบการ และการแจ้งให้ เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการทราบตามวรรคหนึ่ง และการแจ้งให้หน่วยงาน ทราบตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา 14 เพื่อดำเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดตามกฎหมาย เกี่ยวกับยาเสพติด ให้กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะใด ๆ ในเวลากลางวัน ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก เพื่อตรวจค้น ยึดหรืออายัดยาเสพติดที่มีไว้โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือจับกุมบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า กระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติด แต่ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ บุคคลที่จะถูกจับได้หลบซ่อนอยู่ในเคหสถานหรือสถานที่นั้น ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่า หากไม่ดำเนินการในทันที ยาเสพติดนั้นจะถูกโยกย้ายหรือบุคคลที่หลบซ่อนอยู่จะหลบหนี ก็ให้ มีอำนาจเข้าไปในเวลากลางคืนภายหลังพระอาทิตย์ตกได้

(2) ค้นเคหสถาน สถานที่ หรือบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามียาเสพติด ซุกซ่อนอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยึดหรืออายัดยาเสพติดหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้รับมา เนื่องจากการกระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือที่ได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำ ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้

(3) จับกุมบุคคลใดๆ ที่กระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด

(4) สอบสวนผู้ต้องหาในคดีความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด

(5) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใด ๆ หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยราชการ ใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งบัญชี เอกสาร หรือวัตถุใด ๆ มาเพื่อตรวจสอบหรือประกอบการ พิจารณาเจ้าพนักงานตำแหน่งใดและระดับใด จะมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ตาม วรรคหนึ่งทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ให้เป็นไปตามที่เลขาธิการกำหนดด้วยความเห็นชอบของ คณะกรรมการ โดยทำเอกสารมอบหมายให้ไว้ประจำตัวเจ้าพนักงานผู้ได้รับมอบหมายนั้น เจ้าพนักงานผู้ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องแสดงเอกสารมอบหมายนั้น ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง มาตรา 14 ทวิ ในกรณีจำเป็นและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลหรือกลุ่ม บุคคลใดเสพยาเสพติดในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะ ให้กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 15 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการตาม มาตรา 14 ให้ถือว่ากรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจตาม มาตรา 14 (3) มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ ทั่วราชอาณาจักร และให้มีอำนาจควบคุมผู้ถูกจับตาม มาตรา 14 (3) ไว้เพื่อทำการสอบสวน ได้เป็นเวลาไม่เกินสามวัน เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวหรือก่อนนั้นตามที่จะเห็นสมควร ให้ส่งตัวผู้ถูกจับไปยังพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อดำเนินการ ต่อไป ทั้งนี้ โดยมิให้ถือว่าการควบคุมผู้ถูกจับดังกล่าวเป็นการควบคุมของพนักงานสอบสวนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 15ทวิ เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบการผู้ใดฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติตามประกาศตาม มาตรา 13ทวิ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา 16 ผู้ใดไม่ให้ความสะดวก หรือไม่ให้ถ้อยคำ หรือไม่ส่งบัญชี เอกสาร หรือวัตถุใดแก่กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ หรือเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตาม มาตรา 14 หรือไม่ยินยอมให้ตรวจหรือทดสอบตาม มาตรา 14ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา 17 กรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานผู้ใดกระทำ ความผิดใด ๆ ตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดเสียเอง ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่ กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
มาตรา 17ทวิ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้
มาตรา 18 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มี อำนาจออกข้อบังคับหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

:: ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519
*หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ยาเสพติดเป็นภัยอย่าง ร้ายแรงต่อการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และรัฐบาลนี้มีนโยบายที่จะ ป้องกันและปราบปรามการค้าและการเสพยาเสพติดอย่างเข้มงวดกวดขัน ในการนี้จำเป็นต้อง มีกฎหมายเพื่อกำหนดมาตรการและให้อำนาจในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามให้ได้ ผลโดยเด็ดขาดและมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
*หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อให้การป้องกันและ ปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และการดำเนินการเพื่อตรวจสอบทรัพย์สิน ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับ สารระเหยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็น ต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
*หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดทั้งการค้าและการเสพยาเสพติดในสถานที่ซึ่งใช้ในการประกอบธุรกิจ สถานบริการเป็นจำนวนมาก จึงสมควรให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในสถานประกอบการได้เป็นการ เฉพาะและให้มีอำนาจกำหนดว่าสถานประกอบการประเภทใดจะอยู่ภายใต้บังคับของมาตรการ ดังกล่าว หากพบว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการแห่งใด สมควร ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีอำนาจสั่งปิดสถานประกอบการหรือสั่งพัก ใช้ใบอนุญาตประกอบการของสถานประกอบการแห่งนั้นได้ชั่วคราว นอกจากนั้น เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สมควรให้อำนาจกรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการ และเจ้าพนักงานในการตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด ๆ มีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราช บัญญัตินี้

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย