สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
บุหรี่
บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ (ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร) มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ เช่น กัญชา
บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน
ผลเสียของการสูบบุหรี่ ทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่ปีละ 400,000 คนหรืออาจจะมากว่านั้น ผู้ที่อยู่กับผู้ที่สูบบุหรี่ก็ได้รับผลเช่นเดียวกัน ผลเสียของการสูบบุหรี่ได้แก่
- โรคหัวใจ การสูบบุหรี่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ที่สูบบุหรี่จะเพิ่มอัตราการเกิดโรคหัวใจ 5 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ยังกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติทำให้หัวใจและหลอดเลือดเกิดโรค
- โรคมะเร็ง ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูง นอกจากมะเร็งปอดแล้วบุหรี่ยังก่อให้เกิดมะเร็งที่คอ ปาก หลอดอาหาร ปัสสาวะ มดลูก
- โรคอัมพาตและสมองเสื่อม ผู้ที่สูบบุหรี่วันละซองจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคอัมพาต2เท่าครึ่งเมื่อเทียบกับคนที่ไม่สูบ นอกจากนั้นยังพบโรคสมองเสื่อมเพิ่มในผู้ที่สูบบุหรี่
- โรคปอด ปีหนึ่งจะมีผู้ที่สูบบุหรี่เสียชีวิตจากโรคถุงลมโป่งพอง ปอดบวม หลอดลมอักเสบเป็นจำนวนมาก
- การตั้งครรภ์และทารก ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เป็นหมัน ครรภ์นอกมดลูกและการแท้งและยังเพิ่มอัตราการตายในทารก
- การสูบบุหรี่กับสุขภาพช่องปาก ควันบุหรี่จะทำลายเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างเหงือกและฟันทำให้เหงือกร่น ทำให้ฟันผุ ทำให้แผลหายช้า มีกลิ่นปาก มีคราบบุหรี่ติดที่เหงือกและฟัน
- การสูบบุหรี่กับโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ ทำให้กระดูกพรุน เกิดการอักเสบของข้อและกระดูกจากการออกกำลังได้ง่าย ผู้ที่สูบบุหรี่มีโรคปวดหลังมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
- การสูบบุหรี่กับโรคทางเดินอาหาร
การเลิกสูบบุหรี่
โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่เลิกบุหรี่ได้ เลิกได้ด้วยตัวเอง ความตั้งใจจริง กำลังใจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง การลดความเครียดช่วงที่อยากบุหรี่ ลดอาการอยากบุหรี่ เบี่ยงเบนความสนใจความอยากบุหรี่ได้
1. เตรียมตัว ตั้งใจแน่วแน่ ว่าต้องเลิกบุหรี่ด้วยตัวเอง เตรียมความพร้อมทังร่างกายและจิตใจ
- ให้จดบันทึกเวลาและเหตุผลการสูบบุหรี่ จดเหตุการณ์ที่ทำให้อยากสูบบุหรี่
- เปลี่ยนพฤติกรรม เช่นเก็บบุหรี่ไว้อีกที่หนึ่ง
- ให้สูบนอกอาคาร
- ซื้อบุหรี่ครั้งละซองและซื้อชนิดที่ไม่เคยสูบ
2. กำหนดวัน"ปลอดบุหรี่"ของตนเอง
3. แจ้งแก่คนใกล้ตัว เพื่อให้กำลังใจเป็น แรงสนับสนุนให้เลิกได้สำเร็จ
4. เมื่อถึงวันสำคัญ ที่กำหนดแล้วว่า"วันปลอดบุหรี่"ให้หยุด
- ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ทั้งหมด
- เปลี่ยนพฤติกรรม เช่นไม่ดื่มกาแฟ
- ควรดื่มน้ำผลไม้
- เมื่ออยากสูบบุหรี่ให้หางานอย่างอื่น
5. เมื่อเริ่มเลิกบุหรี่ได้แล้ว
- ให้สูดหายใจเข้าออกลึกๆ ดื่มน้ำมากๆเพื่อลดความอยากหรืออาจจะอาบน้ำถ้าเป็นไปได้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำประจำตอนสูบบุหรี่ เลี่ยงสถานการณ์ สถานที่ที่เคยสูบบุหรี่เป็นประจำ
- ให้นึกถึงสิ่งที่ดีๆเมื่ออดบุหรี่ได้
- หยอดกระปุกให้ลูกเมื่อไม่ได้สูบบุหรี่
- หากท่านล้มเหลวครั้งแรกให้พยายามใหม่ มีหลายคนที่สามารถประสบผลสำเร็จเมื่อมีความพยายาม
- บอกเพื่อนร่วมงานหรือครับครัวว่า ห้ามสูบบุหรี่ใกล้ตัว
- ปิดประกาศหน้าห้องว่า"เขตปลอดบุหรี่"
- ใช้เวลาส่วนใหญ่ในที่ๆสูบบุหรี่ไม่ได้
- หลีกเลี่ยงกาแฟ สุรา อาหารรสจัด