ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์>>

คัมภีร์คอมมิวนิสต์

นิพนธ์วิจารณ์ ฟอยเออร์บัค
แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์
บทบาทของแรงงานในการเปลี่ยนลิงให้เป็นคน
กำเนิดครอบครัวทรัพย์สินส่วนตัว และรัฐ
ว่าด้วยศาสนา
ว่าด้วยการนัดหยุดงาน
สงครามและสังคมนิยม
รัฐกับการปฏิวัติ
แนวชนชั้นในการปลดแอกสตรี
ในวิกฤตเศรษฐกิจกรรมาชีพสู้หรือไม่
ว่าด้วยขบวนการฟาสซิสต์
ทฤษฏีปฏิวัติถาวร
ประชาธิปไตยของแรงงาน
สงครามจุดยืนและสงครามขับเคลื่อน
ปัญญาชน
ระบบทุนนิยม:ถ้าไม่ปฏิวัติก็เท่ากับยอมจำนน
แนะนำทฤษฎีทุนนิยมโดยรัฐของ โทนี่ คลิฟ
การปฏิวัติถาวร "หันเห"

ระบบทุนนิยม : ถ้าไม่ปฏิวัติก็เท่ากับยอมจำนน
โดย ดังแคน ฮาลัส  แปลโดย ใจ อึ๊งภากรณ์

ประเด็นสำคัญที่เราไม่ควรลืมคือ การต่อสู้เพื่อเป้าหมายที่ชัดเจนและที่จับต้องได้ เป็นการต่อสู้ที่เปลี่ยนโลกจริงๆ ก็อย่างที่ มาร์คซ์ กับ เองเกิลส์ เขียนไว้ว่า “ประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์ที่ผ่านมาเป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ทางชนชั้น” แน่นอนความสำคัญของแต่ละเป้าหมายในการต่อสู้จะต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงเสมอ

ในอังกฤษ การเรียกร้องสิทธิลงคะแนนเสียงสำหรับชายทุกคนเป็นข้อเรียกร้องสำคัญที่ใช้ปลุกระดมขบวนการแรงงาน และระหว่าง 1830 ถึง 1860 ชนชั้นปกครองอังกฤษได้คัดค้านและต่อสู้กับข้อเรียกร้องอันนี้อย่างรุนแรง แต่เมื่อชนชั้นปกครองสรุปว่าคงไม่สามารถยับยั้งการต่อสู้ของคนชั้นล่างได้ มันก็จำยอมประนีประนอม ดังนั้นระหว่าง 1867 ถึง 1918 มันค่อยๆ เปิดโอกาสให้ชายมีสิทธิ์เลือกตั้ง และในปี 1928 หญิงและชายทุกคนที่อายุ 21 ขึ้นไปจึงมีสิทธิ์

ในอัฟริกาใต้ในปี 1994 ชนชั้นปกครองผิวขาวที่เคยต่อต้านสิทธิเลือกตั้งสำหรับคนส่วนใหญ่ที่มีผิวดำ จำต้องยินยอมให้พลเมืองทุกคนมีสิทธิ์นี้ในขั้นตอนเดียวทันที ประเด็นคือการใช้กำลังเป็นสิ่งที่ทำให้เราได้สิทธิเสรีภาพทางประชาธิปไตย (ประเทศไทยก็เหมือนกัน เราต้องออกมาสู้สมัย ๑๔ ตุลา หรือ พฤษภาทมิฬ -บรรณาธิการ) การต่อสู้อันยาวนานของคนชั้นล่างทำให้ชนชั้นปกครองส่วนใหญ่เริ่มสรุปว่ามันต้องจำยอมเราตรงนี้ ในขณะเดียวกันชนชั้นปกครองมิได้ยอมแพ้ในการพยายามปกป้องผลประโยชน์ทางชนชั้นในรูปแบบอื่นๆ แต่อย่างใด แน่นอน ในกรณีอัฟริกาใต้สิทธิเสรีภาพในการเลือกตั้งไม่สามารถแก้ปัญหาที่คนอัฟริกานับล้านคาดหวังว่าจะแก้ แต่มันช่วยเสริมพลังการต่อรองของฝ่ายเราในการต่อสู้ระหว่างชนชั้น และที่สำคัญในช่วงเวลาหนึ่งมันเป็นประเด็นที่สามารถนำมาใช้ในการปลุกระดมมวลชน มันเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันมันนำไปสู่การตั้งคำถามสำคัญต่อไปคือ ระบบทุนนิยมสามารถปรับตัวกับข้อเรียกร้องอันไม่มีวันสิ้นสุดของชนชั้นกรรมาชีพได้หรือไม่ โดยที่ยังรักษาระบบสังคมชนชั้นและการขูดรีดอยู่?

พวกแนวคิดปฏิรูป

“ทฤษฏีการปฏิรูป” (ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงจาก “การต่อสู้เพื่อการปฏิรูป”) พวกนี้มองว่าการต่อสู้เล็กๆ น้อยๆ เมื่อสะสมกันแล้วจะสามารถแปรรูปสังคมให้เป็นสังคมใหม่ได้อย่างสงบ โดยไม่ต้องมี "การปฏิวัติ" แนวคิดนี้เชื่อว่าสังคมทุนนิยมจะค่อยๆ แปรตัวเป็นระบบสังคมนิยมเสรี นี่คือทฤษฏีของพวกพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยหรือพรรคแรงงานในยุโรป คนที่เขียนและพัฒนามันขึ้นมาเป็นระบบมากที่สุดคนแรกคือ เบอร์นสไตน์ นักสังคมนิยมเยอรมัน และแน่นอนการปฏิบัติย่อมมาก่อนการเสนอทฤษฏี ทฤษฏีถูกเสนอเพื่อรองรับสิ่งที่เขาทำอยู่แล้ว ดังนั้นเราจะเห็นว่า 20-30 ปีก่อนที่ เบอร์นสไตน์ จะเสนอทฤษฏีปฏิรูป พรรคสังคมนิยมปฏิรูปดังกล่าวได้เคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูปเล็กๆ น้อยๆ อย่างเดียวมานาน นอกจากนี้ เบอร์นสไตน เจาะจงอธิบายเรื่องนี้อย่างชัดเจนเมื่อเขาเสนอว่า “กระบวนการมันสำคัญที่สุด มันเป็นทุกอย่าง แต่เป้าหมายปลายทางไม่มีความสำคัญเลย” คือลึกๆ แล้วเขาไม่สนใจว่าจะถึงสังคมนิยมหรือไม่ ขอให้ได้ทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ไปก่อนเถิด

รัฐทุนนิยม

สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์มีอิทธิพลยิ่งนักต่อจิตสำนึก ในยุคของ เบอร์นสไตน ยุโรปไม่ได้เห็นสงครามมาเกือบ 30 ปี และคนคิดว่ามันจะไม่มีอีก ในความเห็นของคนส่วนใหญ่อนาคตจะเป็นการพัฒนาสังคมที่ราบรื่นและสงบสุข ทุกอย่างจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ในปัจจุบัน หลังสงครามโลกสองครั้งและหลังการต่อสู้ด้วยอาวุธและความโหดร้ายเกินฝัน เรารู้ว่าความเชื่ออันนี้ผิดพลาดมหาศาล แต่ทำไมมันถึงผิด?

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย