วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
พุทธสุภาษิต กล่อมเกลาจิต
พุทธสุภาษิตส่วนหนึ่งเป็นหลักธรรม ที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตนเอง ทำให้เข้าใจสภาวะโลกตามความเป็นจริง และเป็นปัจจัยให้ประพฤดี ปฎิบัติชอบ มีความสุขกาย สุขใจ เจริญในทางโลก และทางธรรม
-
นานาทิฏฺฐิเก นานยิสฺสสิ เต
มนุษย์ทั้งหลายต่างความคิด ต่างความเห็นกัน
ท่านจะกำหนดให้คิดให้เหมือนกันหมด เป็นไปไม่ได้
-
ตเถเวกสฺส กลฺยาณํ
ตเถเวกสฺส ปาปกํ
ตสฺมา สพฺพํ ณ กลฺยาณํ
สพฺพํ วาปิ ณ ปาปกํ
สิ่งเดียวกันนั่นแหละ ดีสำหรับคนหนึ่ง
แต่เสียสำหรับอีกคนหนึ่ง
เพราะฉะนั้นสิ่งใดๆ ไม่ใช่ว่าจะดีไปทั้งหมด
และก็ใช่ว่าจะเสียไปทั้งหมด
-
สนนฺตา ยนฺติ กุสุพฺภา
ตุณฺหี ยนฺติ มโหทธิ
ห้วยน้ำน้อยไหลดังสนั่น
ห้วนน้ำใหญ่ไหลนิ่งสงบ
-
ยทูนกํ ตํ สันติ
ยํ ปูรํ สนฺตเมว ตํ
สิ่งใดพร่องสิ่งนั้นดัง
สิ่งใดเต็มสิ่งนั้นเงียบ
-
ปริภูโต มุทุโหติ
อติตกฺโข จ เวรา
อ่อนไปเขาก็ดูหมิ่น
แข็งไปก็มีเวรภัย
-
อนุฆชฺฌํ สมาจเร
พึงปฎิบัติให้พอเหมาะพอดี
-
น ปเรสํ วิโลมานิ
น ปเรสํ กตากตํ
ไม่ควรใส่ใจในคำแสลงหูของผู้อื่น
ไม่ควรแส่ในธุระที่เขาทำ และยังไม่ทำ
-
อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย
กตานิ อกตานิ จ
ควรตั้งใจตรวจตราหน้าที่ของตนเอง
ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ทำ
-
สุนกฺขตฺตํ สุมงฺคลํ
สุปภาตํ สุหุฏบิตั
ความประพฤชอบเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี
มงคลดี เช้าดี รุ่งอรุณก็ดี
-
น ตํ กุมฺมํ กตํ สาธุ
ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง
กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
-
ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ
ยํ กตฺวา นานุตปฺ ปติ
กรรมใดทำแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง
กรรมที่ทำแล้วนั้นแลดี
-
ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ
สุกกรํ วิย ทุกฺกรํ
คนโกรธจะผลาญสิ่งใด
สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย
-
สุภาสิตา จ ยา วาจา
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
พูดดีเป็นมงคลสูงสุด
-
อตฺตตฺถปญฺญา อสุจี มนุสฺสา
มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน
เป็นคนไม่สะอาด
-
วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี
ผู้ประพฤตามอำนาจจิตย่อมลำบาก
-
ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ
วุฏฺฐี สมติวิชฺฌติ
เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ
ราโค สมติวิชฺฌติ
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด
ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น
-
มธวา มญฺญตี พาโล
ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ
อถ พาโล ทุกขํ นิคจฺฉติ
ตลอดระยะเวลาที่บาปยังไม่เห็นผล
คนพาลสำคัญว่าบาปหวานปานน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล
เมื่อนั้นเขาย่อมได้รับทุกข์
-
อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา
ยถญฺญมนุสสติ
สุทนฺโต วต ทามถ
อตฺตา หิ กริ ทุทฺทโม
สอนคนอื่นอย่างใด
ควรทำตนอย่างนั้น
ฝึกตนแล้วค่อยฝึกคนอื่น
เพราะตัวเราเองฝึกยากยิ่ง
-
สุชีวํ อหิริเกน
กากสูเรน ธํสินา
ปกฺขนฺทินา ปคพฺเภน
สงฺกิลิฏฺเฐน ชีวิตํ
คนไร้ยางอาย กล้าเหมือนกา
ชอบทำลายผู้อื่นลับหลัง
มีพฤติกรรมสกปรก
คนเช่นนี้เป็นอยู่ง่าย
-
หิรีมตา จ ทุชฺชีวํ
นิจฺจํ สุจิคเวสินา
อลีเนนปฺปคพฺเภน
สุทธาชีเวน ปสฺสตา
คนที่มีหิริ ใฝ่ความบริสุทธิ์เป็นนิตย์
ไม่เกียจคร้าน อ่อนน้อมถ่อมตน
มีความเป็นอยู่บริสุทธิ์ มีปัญญา
คนเช่นนี้เป็นอยู่ลำบาก
-
ปรทุกฺบูปชาเนน
โย อตฺตโน สุขมิจฺฉติ
เวรสํ สคฺคี สํสฏฺโฐ
เวรา โส น ปริมุจฺจติ
ผู้ใดปรารถนาสุขเพื่อตน
โดยการก่อทุกข์ให้ผู้อื่น
ผู้นั้นมักเกี่ยวพันด้วยเวรไม่รู้สิ้น
ไม่มีทางพ้นเวรไปได้
-
อลาโภ ธมฺมิโก เสยฺโย
ยญฺเจ ลาโภ อธมฺมิโก
ถึงไม่ได้แต่ชอบธรรม
ยังดีกว่าได้แต่ไม่ชอบธรรม