วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

พุทธศาสนสุภาษิต

คณะกรรมการกองตำรา มหามกุฎราชวิทยาลัย รวบรวมและเรียบเรียง.

" ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ คนละความชนะ และความแพ้ได้แล้ว สงบใจได้ ย่อมนอนเป็นสุข "

หมวดตน หมวดไม่ประมาท หมวดกรรม หมวดกิเลส หมวดอดทน  หมวดจิต หมวดทาน หมวดธรรม หมวดเบ็ดเตล็ด  หมวดปัญญา หมวดบุคคล หมวดความตาย หมวดวาจา หมวดความเพียร หมวดความสามัคคี หมวดศีล หมวดคบหา

หมวดธรรม

  • ท่านผู้ดับไปแล้ว ไม่มีประนาม จะพึงกล่าวถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี เมื่อธรรมทั้งปวงถูกเพิกถอนแล้ว แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียแล้วทั้งหมด.
  • พึงขจัดตัญหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง เพราะ เขาถือมั่นสิ่งใดๆในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขา เพราะสิ่งนั้นๆ.
  • จงเด็ดเยื่อใยของตนเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง จงเพิ่มพูนความสงบ พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว.
  • บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี.
  • กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม และแพศย์ ไม่อาศัยธรรม ชนทั้งสองนั้นละโลกแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ.
  • ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ละกิเลสเครื่องรัดแล้ว ทั้งปวง ย่อมไม่มีความเร่าร้อน.
  • พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง.
  • พึงเป็นผู้พอใจและประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่าผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน.
  • ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามความจริงแล้ว ดับเสียได้ จะเป็นสุขยิ่ง.
  • ราชรถอันงดงามยามคร่ำคร่า แม้ร่างกายเข้าถึงชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่ เข้าถึงชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้.
  • ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ ย่อมถูกต้อง พระนิพพานอันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.
  • ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ.
  • มหาราช ธรรมเป็นทาง ส่วนอธรรมนอกลู่นอกทาง อธรรมนำไปนรก ธรรมให้ถึงสวรรค์.
  • สัตว์โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกพัน มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป ท่านเรียกว่า นิพพาน เพราะละตัณหาได้.
  • ตถาคต ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และการสละสิ่งทั้งปวง.

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย