วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
พุทธศาสนสุภาษิต
คณะกรรมการกองตำรา มหามกุฎราชวิทยาลัย รวบรวมและเรียบเรียง.
" ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ คนละความชนะ และความแพ้ได้แล้ว สงบใจได้ ย่อมนอนเป็นสุข "
หมวดตน หมวดไม่ประมาท หมวดกรรม หมวดกิเลส หมวดอดทน หมวดจิต หมวดทาน หมวดธรรม หมวดเบ็ดเตล็ด หมวดปัญญา หมวดบุคคล หมวดความตาย หมวดวาจา หมวดความเพียร หมวดความสามัคคี หมวดศีล หมวดคบหา
หมวดกิเลส
-
กามทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด เป็นต้นเค้า แห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล.
-
โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้ว ไม่ปรากฎ เพราะความตระหนี่และความประมาท เรากล่าวความอยากว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลก ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.
-
โลกถูกความอยากผูกมัดไว้ จะหลุดได้ต้องกำจัดความอยาก เพราะละความอยากเสียได้จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้.
-
ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก สัตว์เป็นอันมากถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ฉะนั้น.
-
ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ว่าดีกว่าเขา ว่าต่ำกว่าเขาในโลก ผู้นั้นชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น.
-
ผู้ถอนภาวะตัณหาได้แล้ว มีจิตสงบแล้ว สิ้นความเวียนเกิดแล้ว ย่อมไม่มีภพอีก.
-
รู้โทษอย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่นมีสติอยู่ทุกอิริยาบถเถิด.
-
กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตใจในรูปต่างๆกัน พึงเห็นโทษในกามคุณเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด.
-
บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง เพราะเครื่องข้อง ทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น.
-
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นทุกข์.
-
โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในทุกข์.
-
โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูก มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป เพราะละตัณหาเสียได้ จึงได้ชื่อว่าตัดเครื่องผูกได้ทั้งหมด.
-
คนที่นึกถึงพระนิพพาน พึงครอบงำความหลับ ความเกียจคร้าน ความท้อแท้ ไม่พึง อยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความทะนงตน.
-
ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมไม่โศรกเศร้าถึงสิ่งที่ล่วงไป ผู้เห็นความสงัด ในสัมผัสทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฎฐิทั้งหลาย.
-
ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงโศรกเศร้า ไม่พึงอาศัยตัณหา.